หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปรับตัวคือหนทางรอด

ในภาวะที่โลกเราอยู่ในเศรษฐกิจเสรีทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ ที่โลกเราเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากจนทำให้เราต้องเปลี่ยนตามโลกให้ทันมิฉะนั้นแล้วก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หลายคนย้ำคิดว่าต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ถึงแม้ว่าไม่เปลี่ยนตัวเองก็จะมีคนมาทำให้เปลียนอยู่ดี ปัญหาคือว่าจะเปลี่ยนอย่างไรจึงจะทำให้เกิดคุณค่า เกิดความรักสามัคคี เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ แต่การเปลี่ยนเพื่อการอยู่รอดปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องปรับตัวรับกับสิ่งใหม่ที่ถ้าโถมเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย สัตว์ทั้งหลายปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปหรือมิฉะนั้นก็ล้มหายตายจากไป เช่นเดียวกันสำหรับมนุษย์ที่ถึงกับมีการกล่าวกันว่า ผู้ที่อยู่รอดได้ไม่ใช้ผู้ที่ฉลาดลึกล้ำที่สุดแต่เป็นผู้ที่สามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสถานะการณ์ได้มากที่สุดต่างหาก ต่อไปเป็นตัวอย่างหนึ่งของการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์

ชนเผ่าอินเดียแดงที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาแอนดิส จะมีปริมาณเลือดมากกว่าผู้ที่อยู่บริเวณพื้นราบประมาณ 20 เปอร์เซนต์ เลือดที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษนี้ประกอบด้วยอนุภาคก้อนเลือด (corpuscles) อันเป็นตัวนำเอาฮีโมโกลบินที่จำเป็นต้องใช้ในการดูดซึมออกซิเจนเพื่อใช้ในการหายใจ จำนวนออกซิเจนที่ได้เพิ่มขึ้นมาโดยวิธีนี้ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการมีชีวิตรอด เพราะในพื้นที่ที่มีอากาศเบาบางดังในบริเวณที่สูงๆบนภูเขา ฮีโมโกลบินของแต่ละคนจะเพิ่มเกือบขึ้นเกือบ 60 เปอร์เซนต์โดยน้ำหนักที่ระดับสูง 15,000 ฟิต เซลลฺ์เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงของคนที่อาศัยอยู่ที่พื้นราบ ซึ่งแน่นอนว่าพื้นที่ผิวเซลล์ที่มากกว่าสามารถดูดซับออกซิเจนได้มากกว่า อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่บนแถบภูเขาสูง ร่างกายอาจไม่สูงใหญ่และอายุก็ไม่ยืนเท่ากับคนที่อยู่บนพื้นราบโดยรวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น