หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

มวลของสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตมาจากไหนที่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ก็เพราะประกอบขึ้นจากสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิตที่ประกอบกันเป็นชีวิตนั่นก็คือมวลของสิ่งมีชีวิต เรามักจะไม่ค่อยสังเกตถึงพืชที่อยู่รวบตัว หญ้าที่ขึ้นอยู่นในสนาม มอสทีเกาะตามโขดหิน สาหร่ายที่เจริญเติบโตอยู่ในสระ และยังมีพืชชนิดอื่นอีกที่ประกอบกันเป็นมวลเกือบทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์โลกนี้ อย่างน้อยก็ถึง 90เปอร์เซ็นที่เป็นมวลสิ่งมีชีวิตจากพืช ซึ่งเป็นสารสนเทศที่ได้มีการสำรวจกันมา

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ทำไมผึ้งเพศผู้จึงทิ้งรวง

วิทยาศาสตร์ปรัชญา

ปกติแล้วปรัชญาเน้นในเรื่องของความเชื่อของที่ไปที่มาของความรู้ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิพากษ์วิจารณ์วิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์มโนทัศน์ และการศึกษาธรรมชาติของวิทยาศาสตร์

การวิพากษ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์ถึงการปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ อาจจะอยู่ในรูปของการดำเนินการด้วยตัวเองโดยตรง  เช่นการวิพากวิจารณ์จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ และในเทอมของนโยบายทางสังคมเป็นต้นว่าการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการวิจัยทางด้านพันธุศาสตร์ของมนุษย์

ส่วนการวิเคราะห์มโนทัศน์ ได้แก่การอภิปรายและสำรวจถึงมโนทัศน์หลักที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ เช่นอะไรที่เป็นธรรมชาติของการคัดเลือกตามธรรมชาติ อะไรที่นักเคมีหมายความถึง   อะไรที่นักฟิสิกส์หาการเคลื่อนเกี่ยวข้อง

ในกรณีธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ได้มีการกำหนดให้วิทยาศาสตร์ควรจะดำเนินไปเหมือนกับวิธีการสืบเสาะหาความรู้ (inquiry) และอธิบายว่าวิทยาศาสตร์ดำเนินไปอย่างไรเช่นเดียวกับวิธีการสืบเสาะหาความรู้ เช่นในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradigm shifts) การวิวัฒนาการ และวิวัฒนาการของชาติพันธ์เกี่ยวกับความคิด(evolution and phylogny of idea)

ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ธรรมชาติตามที่เข้าใจกัน เป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นตามที่มีอยู่เป็นอยู่โดยไม่มีการสร้างสรรค์ โดยมนุษย์ และมนุษย์ รวมทั้งสัตว์ทั้งปวงที่ไม่ได้เกิดจากการดัดแปลง ปรับปรุงโดยมนุษย์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ธรรมชาติมีอยู่ก่อนแล้วก่อนที่จะมนุษย์จะคนพบความจริงต่างๆ ทั้งหลายจากธรรมชาติ และแยกแยะสิ่งต่างๆ แตกต่างกันให้ชื่อกำกับไว้ เป็นมโนทัศน์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น หาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ การเกิดขึ้น คงอยู่ และการสลายไป ซึ่งเป็นความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อนำความรู้ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ มีทักษะการนำไปใช้ จากความรู้ที่ได้ดัสร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์คิดค้นทั้งหลาย ก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีในที่สุด

ผัสสะช่องทางรับรู้ที่ก่อให้เกิดสิ่งอื่นตามมา

ผัสสะที่บอกว่าเป็นช่องทางรับรู้รับทราบ ผ่านทางอายตนะทั้งห้าของมนุษย์คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายหรือผิวหนัง และใจ ผัสสะจึงแปลว่ากระทบกับสิ่งที่จะมาทำให้รับรู้ได้ด้วยอายตนะดังกล่าว ในพุทธศาสตร์นั้นใส่คำว่าใจเพิ่มเติม ซึ่งวิทยาศาสตร์จะไม่นำมาใส่ไว้ตอนนี้ จึงไม่อาจเรียกว่าอวัยวะทั้ง 5 เพราะใจอาจไม่ใช่เป็นอวัยวะที่เป็นรูปธรรม แต่เป็นนามธรรม

เมื่อมีสิ่งมากระทบดังกล่าวทำให้เกิดความรู้สึกที่ทำให้เรารับรู้ได้ การเกิดอาการทางจิตที่ทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆ ใจจะเป็นผู้รับรู้ รับรู้ในเรื่องนามธรรมที่ไม่สามารถแตะต้องสัมผัสได้เกี่ยวเนื่องกับการคิด ควมมรู้สึกทั้งหมดรวมเรียกว่าวิญญาณ จึงใช้คำว่า จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และมโนวิญญาณ เมื่อมีการรับรู้ มีความรู้สึกทำให้เกิดมีการกระทำ ทั้งที่ดีและไม่ดี จึงสรุปได้ว่า การกระทำทุกอย่างเนื่องด้วยผัสสะ การกระทำก่อให้เกิดกรรม เพราะเมื่อถูกใจ และไม่ถูกใจของแต่ละคนก็เป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อการกระทำนอกเหนือจากการตอบสนองตามธรรมชาติเหมือนกัน จึงมีกรรมดี กรรมชั่ว กรรมไม่ดีไม่ชั่ว กล่าวอีกอย่างได้ว่า กรรมทั้งปวงมีผัสสะเป็นปัจจัย ในทางโลกนั้นถ้าถูกใจมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความอยากที่จะทำตามความรู้สึกอยากได้อยากเอาก่อให้เกิดความโลภ ไม่ถูกใจก็ก่อให้เกิดความโกรธไม่พอใจ และก่อกรรมในทางทำลายล้างได้ จึงมีคำใช้อีกคำที่เรียกว่า กรรมไม่ดีไม่ชั่ว แต่ก็เป็นกรรมอยู่ดี สำหรับคนที่จะดำเนินชีวิตสู่เป้าหมายสูงสุดก็คงต้องควบคุมไม่ให้เกิดผัสสะและอยู่เหนือกรรมทั้งปวง

ในทางจิตวิทยาได้มีผู้ตั้งเป็นทฤษฎีไว้อย่างสั้น อาจจะไม่ละเอียดเหมือนทฤษฎีทางพุทธศาสตร์ ทฤษฎีที่ว่านี้บางทีก็เรียกว่าพีรมิด บางที่เรียกว่าทฤษฎี abc บางที่ก็เรียกว่าสามขา โดยหลักสำคัญจะใช้คำว่าสิ่งมากระทบว่าสิ่งที่มากระตุ้นหรือสิ่งเร้าที่จะก่อให้เกิดความรู้สึก เช่นได้เช่นเสียงดังแบบต่างๆ เป็นตัวกระตุ้น ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกตามที่เคยเรียนรู้มาแล้ว อาจตกใจกลัว รักชอบ ซึ่งทุกคนจะต้องคิดก่อนที่จะมีการกระทำจะหนี หรืออยู่เฉยๆ หรือจะเข้าไปหาไปดู ซึ่งส่งผลต่อการกระทำ โดยสรุป มีหลักว่าต้องมีความรู้สึก คิด และกระทำ จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ แต่น่าจะยกเว้นกลไกในการป้องกันตัวที่ไม่ทันได้คิด ก็มีการกระทำบางอย่างเกิดขึ้น หรือกล่าวอีกอย่างว่ามีอยู่แล้วในจิตใต้สำนึกของแต่ละคน และทฤษฎีสามประสานนี้ เรานำมาใช้ในการเรียนการสอน ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการกระทำ ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก

สำหรับเป้าหมายสุดท้ายที่พูดถึง การจะให้เกิดผัสสะหรือไม่เกิดผันสะนั้น เป็นเรื่องของความตั้งใจที่จะให้เกิดหรือไม่ให้เกิด ซึ่งไปสอดคล้องกันพอดีกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ใช้คำว่าเข้าไปสังเกตหรือไม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาก โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ อย่างไอน์สไตย์และชเรอดิงเงอร์ ต่างก็เกิดความรู้สึกคนละแบบ โดยกลุ่มของไอน์สไตย์มีความเชื่อว่าสรรพสิงยังคงอยู่ตามที่มันเป็นแม้ว่าจะไม่สังเกตมัน หมายถึงว่ายังคงมีโลก ดวงอาทิตย์ โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ แต่ฝ่ายชเรอดิงเงอร์นั้นบอกว่าตามทฤษฎีควอนตัมนั้นเราไม่สามารถบอกได้ว่ามีหรือไม่ คงอยู่หรือไม่คงอยู่จนกว่าเราไปสังเกตมัน ในกรณีโลกเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เราไปสังเกตมันแล้วและบอกว่ามันคงอยู่ ต่างฝ่ายก็ยืนยันความคิดของตนเอง ตามหลักพุทธศาสตร์จึงเป็นไปในทางเดียวกับของชเรอดิงเงอร์มากกว่า ในเรื่องนี้ชเรอดิงเงอร์ได้พยายามอธิบายโดยยกตัวอย่างการทดลองในความคิดที่เรียกว่า แมวของชเรอดิงเงอร์ (schrodinger's cat)

ดาวฤกษ์

ดวงดาวบนท้องฟ้าก็เหมือนกับหลายๆ สิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่มีชีวิตอยู่ แล้วดับไป ซึ่งเป็นเรื่องที่เพื่อรับรู้รับทราบว่าดาวก็ดับสูญล้มหายตายจากไปได้ จากการที่เคยคิดว่าเป็นอมตะจนกระทั้งในศตวรรษที่ 19  คนเริ่มตระหนักเห็นว่าดวงดาวต่างๆ ไม่ได้อยู่อย่างค้ำฟ้า หรือเกิดขึ้นแล้วคงอยู่ตลอดไป ดวงดาวเมื่อเกิดขึ้นก็เริ่มปล่อยพลังงานออกสู่อวกาศอย่างต่อเนื่อง และพลังงานนั้นต้องมาจากบางที่  ปัจจุบันเรารู้ว่าดวงอาทิตย์เหมือนกับดวงดาวอื่นๆ ที่เผาแกสไฮโดรเจนอันก่อให้เกิดพลังงาน  แม้เพียงว่าสำหรับขนาดที่ใหญ่มากเช่นดวงอาทิตย์ที่ปลดปล่อยพลังงานออกมาไม่ได้ตลอดไป ดวงอาทิตย์เหมือนกับแค้มไฟสุดท้ายแล้ววันหนึ่งก็จะมอดดับไป

มีบางอย่างที่น่าสนใจก็คือความพยายามที่จะอธิบายพลังงานที่ปล่อยออกมาของดวงอาทิตย์ ในศตวรรษที่19 แสดงให้เห็นว่าถ้าดวงอาทิตย์เป็นเชื้อเพลิงถ่านหินแอนตราไซ์ต์ เป็นพลังงานที่ดีที่สุดขณะนั้นแล้ว จะอยู่ได้เพียง หมื่นปี ตามอัตราการปล่อยพลังงานในสภาพปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดพระมหาธาตุนคร



ปลูกผักบนแปลงผักตบ

ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังบริเวณหลังเขื่อนและคูคลองจะมีผักตบชวาขึ้นอยู่หนาแน่นมาก ได้มีผู้คิดปลูกผักบนแปลงผักตบชวาลอยน้ำ  วิธีทำขั้นแรกสร้างแปลงผักตบชวาโดยการเอาไม้ไผ่มาล้อมผักตบชาเป็นแปลงเป็นฐานรองรับ  แล้วนำสารที่เป็นดินโรยบนผักตบชวา ใช้ปลูกผักได้ผลดี และบานที่เป็นผักตบชวา ก็จะกลายเป็นปุ๋ยไปในตัว

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ศิลาวิทยา

การเข้าใจผิดมโนทัศน์และทฤษฎีเปียอาเจต์

เมื่อคนเราเข้าใจอะไรมาผิดๆ แล้วยังยึดติด ยึดถือสิ่งที่ไม่ถูกต้องเหล่านั้น แล้วคิดว่าถูกต้องด้วยมีความเชื่ออย่างหนักแน่น เปรียบได้เหมือนกับการถูกล้างสมองแล้วใส่ความคิดที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวลงไป จนยากที่จะถอดหรือเปลี่ยนความเชื่อความคิดดังกล่าว ที่กล่าวมาแล้วนั้นหมายถึงมโนทัศน์ที่มีอยู่ก่อนแล้วเป็นอย่างไร สำหรับนักเรียนทุกวัยยึดเหนี่ยวอยู่กับคำอธิบายที่ทำให้เข้าใจสำหรับพวกเขา และต่อต้านเรื่องใหม่หรือแนวคิดที่แตกต่างออกไป ตรามเท่าที่ความคิดเดิมที่มีอยู่ยังใช้งานได้อยู่

เมื่อเราท้าทายเด็กนักเรียนต่อการที่เขายังเข้าใจผิดมโนทัศน์อยู่ เพื่อให้เขากลับมาเข้าใจมโนทัศน์ที่ถูกต้องเราต้องทำมากกว่าการเพียงให้ ประสบการณ์ในการลงมือปฏิบัติ เรายังจำต้องให้ผู้เรียนต้องคิดทำความเข้าใจให้สมองทำงาน (brain on) โดยให้ประสบการณ์ลงมือปฏิบัติซ้ำๆ คล้ายคลึงกัน ให้สำรวจเหตุการณ์ที่แตกต่างกันไม่ลงรอยกัน และการอภิปรายถึงความชอบความประทับใจ และแนวความคิดที่ไม่ถูกต้อง การกระทำในลักษณะนี้เราจะจัดหาเส้นทางตรงๆ ที่สามารถจะเข้าใจได้สำหรับเด็กๆ ที่จะสร้างมโนทัศน์ได้อย่างละเอียดถูกต้องมากขึ้น

ข้อตกลงเบื้องต้นภายใต้ทฤษฎีของเปียอาเจต์ในการพัฒนาการทางสติปัญญา ก็คือสิ่งมีชีวิตไม่ว่าสัตว์หรือมนุษย์จะมีโอกาสที่จะอยู่รอดได้ ถ้าสามารถจัดการสร้างระเบียบแบบแผนขึ้นในท่ามกลางประสบการณ์ เมื่อเราตัดสินใจว่าจะกระทำอย่างไร เราทำภายใต้ฐานของอะไรที่เรารู้มาแล้ว ไม่ได้อยู่บนฐานว่าโลกอาจจะเป็นอะไรโดยตัวเอง ความเข้าใจเป็นบางสิ่งที่เราทุกคนจะต้องสร้างขึ้นสำหรับตัวเราเอง

อาการคิด (operation) ตามทฤษฎีของเปียอาเจต์เป็นผลพวกของการสะท้อนการคิดและการเข้าใจเชิงนามธรรม คำว่าสะท้อนความคิด (reflection) มีความหมายหลักสองอย่างในการใช้ในภาษาอังกฤษตามปกติธรรมดา อย่างแรกหมายถึงกิจกรรมทางจิต (mental activities) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนให้เกิดการคิดที่รู้สำนึก (conscious thought) นั่นคือไม่ได้ต่างไปมากจากการพิจารณาไตร่ตรอง (pondering)

อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของอารมณ์ความรู้สึก หรือการกระทำที่เคลื่อนไหว (motor action) หรือตัวแทนองค์ประกอบเช่นนั้น อันแสดงรูปร่างหรืออุปมาที่เหมือนกับการอาการทางจิตที่ ให้ความสัมพันธ์ ประสานงาน ให้ข้อสรุป ดังที่นักปรัชญาบางคนกำหนดลักษณะสั้นๆ ว่าเป็นอาการทางจิต (operation of mind)

ตามทัศนะการสร้างความรู้ (constructivist) เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเน้นย้ำและเข้าไปเกี่ยวข้อง ได้แก่กิจกรรมต่างๆที่จะต้องทำให้บุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานะการณ์แวด ล้อมทั้งหมด อันเป็นประสบการณ์ของบุคคลดังกล่าว ในเทอมของเปียอาเจต์ เป็นกระบวนการโดยวิธีการที่มโนทัศน์และชนิดมโนทัศน์เช่นนั้นจะได้การสรุป เชิงประจักษ์ นั้นเท่ากับกล่าวได้ว่าเป็นข้อสรุปจากประสบการณ์จากประสาทสัมผัส และกระทำเคลื่อนไหว (sensory and motor) ส่วนข้อสรุปจากการสะท้อนความคิดเกี่ยวข้องกับรูปแบบที่หาได้จากการกระทำและ การคิดจากใจ

ทฤษฏีกับการวิจัย

การสังเกตการณ์ที่ใช้วิธีการทางวิทยา ศาสตร์ นำไปสู่การสร้างทฤษฎีขั้นต้น ที่สามารถนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์และการพยากรณ์ที่ทฤษฎีทำให้มีขึ้น ซึ่งโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์จะต้องมีการทดสอบการทำนายหรือพยากรณ์ดังกล่าว ถ้าการพยาการณ์ได้รับการยืนยันในการทดสอบแล้ว ชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีมีประโยชน์ใช้ในปรากฏการณ์หนึ่งๆ ได้ แล้วยังนำไปสู่การสร้างทฤษฎีที่สมบูรณ์ขึ้นซึ่งยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เสมอ ถือเป็นทฤษฎีขั้นต้นใหม่ ในอีกทางหนึ่งเมื่อการทดสอบการพยากรณ์ไม่ผ่าน ก็เป็นตัวบ่งชี้ว่าทฤษฎีไม่ถูกต้อง และนำไปสู่การสร้างทฤษฎีขึ้นใหม่ขั้นต้นอีก

ในการหาเหตุผลของมนุษย์ JohnsonLaird (1983) ได้แนะไว้ว่าแทนที่จะขึ้นอยู่กับหลักสามัญการของตรรกะทั่วไป มนุษย์ยังได้ลงความเห็น(inference) โดยการสร้างรูปแบบปัญหาในความคิด (mental representation of problem) ในบริบท ให้เป็นพื้นฐานสำหรับการทำนิรนัยต่อไป ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของทฤษฎี จากประสบการณ์ของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องไม่เฉพาะการคิดการกระทำแต่รวมไปถึงความ รู้สึก

การค้นพบเพนิซิลินโดยไม่ตั้งใจ

Penicillin เป็นตัวยาต้านแบคทีเรียหรือเป็นแอนติไบโอติกตัวแรก ถูกค้นพบในปี 1928 โดยบังเอิญ จากจานแก้วตื้นบางสำหรับการทดลองเกี่ยวกับแบคทีเรียถูกทิ้งไว้ไม่ได้ปิดฝา ไว้โดยไม่ตั้งใจโดยอเล็คซานเดอร์เฟรมมิ่ง (Alexander Fleming) ในห้องปฏิบัติการของเขาในประเทศอังกฤษ ในตอนนั้นมีนักทดลองที่อยู่ชั้นบนเลินเล่อขณะที่กำลังใช้โมล (mold) ซึ่งบางส่วนได้ฟุ้งกระจายผ่านหน้าต่างที่เปิดไว้มาตกลงในจานคัลเจอร์สตาฟิ โลคอคซิ (staphylococci) ของเฟรมมิ่ง พบว่าในวันต่อมานักแบคทีเรียวิทยาชาวสก็อตได้พบว่ามีบริเวณทีโล่งดูสะอาดใน จาน อันเนื่องจากเพนนิซิลินในโมลฆ่าแบคทีเรียในส่วนนั้นไปแล้ว

ทัศนะเกี่ยวกับการสอน

ครูสอนภาษาคนหนึ่งได้คิดเกี่ยวกับเรื่องที่สอนว่า วิธีการที่สอนดีนั้นต้องมีประสบการณ์นาน ซึ่งเขาได้ให้ทัศนะไว้ว่า สิ่งสำคัญมากอันเป็นสิ่งท้าทายสำหรับครูคนหนึ่งคือ การรักษาสภาพสมดุลระหว่างสิ่งที่เราต้องการจะสอน กับ อะไรที่เราควรจะสอน และสำหรับผู้เรียนอะไรที่นักเรียนของเราต้องการความรู้จากเราไปย่อยให้อยู่ในสภาพที่เขาใช้ได้ และอะไรที่พวกเขาตั้งใจที่จะรับเอาความรู้ไปย่อยให้พร้อมที่จะใช้ เขาสรุปในเรื่องนี้โดยยกคำคมที่เคยกล่าวกันไว้คือ เรื่องที่จะต้องคิดให้มากคือ ไม่ใช่อะไรที่เราสอนนักเรียนเนื้อหาสาระจำนวนมาก แต่ที่ต้องคำนึงถึงให้มากก็คือผู้เรียนเรียนรู้มากเท่าใดในชั้นเรียนที่สอน


ในความพยายามของครูต้องการทำแนวคิดที่ยากให้ง่ายสำหรับผู้เรียน ที่สามารถทำความเข้าใจได้ในชั้นเรียน บางครั้งผู้สอนก็ต้องลืมว่าตัวเองเป็นใครและ คิดให้ตัวเองเป็นผู้เรียนในชั้นคนหนึ่ง และจินตนาการว่าอะไรที่ต้องการเรียนรู้จากการฟังเลคเชอร์ และต้องการเรียนรู้มากขนาดไหนจากครูที่เล็คเชอร์ เรื่องที่ยากคือจริงแล้วเป็นครูไม่ใช่นักเรียนจริง แต่ทำให้ง่ายโดยการคิดในใจเสมอที่คิดสับเปลี่ยนบทบาทเพื่อให้รู้ถึงความรู้สึกที่แท้จริงระหว่างครูและผู้เรียน

วิถีปรัชญา

เป็นความคิดที่ได้ประมวลเป็นระบบ และมีความกระจ่างต่อการพิเคราะห์ และอธิบายปัญหาทั้งหมดของโลก ทำให้มีการรับรู้ทั้งหมดที่มีต่อโลกทั้งมวล มีบทบาททางด้านวิธีการและบทบาทด้านการชี้แนะความคิด


ความคิด ความรู้ที่เป็นปรัชญาคือความคิด ความรู้ที่สามารถให้ความกระจ่างในการอธิบายต้นสาย ปลายเหตุของปัญหาความคิดทั้งหมดของโลก

ความคิดที่ถูกต้องคือความคิดที่สะท้อนกฏพัฒนาของสรรพสิ่ง และต้องสอดคล้องกับกฏการพัฒนาของสรรพสิ่งโดยสิ้นเชิง การค้นคว้ากฏการพัฒนาของสรรพสิ่ง เป็นภาระหน้าที่ของวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ

ปรัชญามีความสัมพันธ์กับชีวิต และมีบทบาทอันใหญ่หลวงต่อการชี้แนะวิถีดำเนินชีวิตในการพิจารณาสรรพสิ่ง และการรับรู้ปัญหาต่างๆ เราต้องมีโลกทัศน์ และวิธีการอันแจ่มจรัส ในการมองสรรพสิ่ง และรับรู้ในสิ่งที่สอดคล้องกับสัจธรรม และเราสามารถเข้าถึงสัจธรรมของโลก และชีวิต พร้อมทั้งนำตัวเองไปสู่อนาคตอันรุ่งโรจน์

ความมุ่งหมายในการศึกษาปรัชญา

1. การค้นหา หาจุดยืน ทรรศนะ และวิธีการเพื่อจะได้นำมาเป็นหลักวิเคราะห์สภาพชีวิต


2. เรียนรู้กฏของการวิวัฒนาการของเหตุการณ์เพื่อให้เข้าใจวิธีการที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม ผลักดันให้สังคมก้าวหน้า

3. มีความสามารถในการชี้แนะ หรือกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน และดำเนินชีวิต

โดยสรุป หน้าที่ของปรัชญา เป็นการค้นคว้ากฏเกณฑ์พัฒนา และการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของโลกทั้งมวล ปรัชญาจึงเป็นความรู้ ข้อสรุป เกี่ยวกับกฏเกณฑ์ทั่วไปของธรรมชาติ สังคม และความนึกคิดของมนุษย์

ความคิดของคนในชีวิตประจำวัน เป็นพื้นฐานอันแท้จริงของปรัชญา เป็นการมองการรับรู้ของคนที่มีต่อโลก อันได้แก่ธรรมชาติและสังคมมนุษย์

การรับรู้อันแท้จริง และการมองอันแท้จริงต่อโลกทั้งมวล...คือความหมายของปรัชญา โดยมีหลักฐาน 2 ประการของความคิดทางปรัชญา

1. หลักมูลฐานว่าด้วยการรับรู้โลก เรียกว่าโลกทัศน์...ทฤษฏีการรับรู้ต่างๆ

2. หลักฐานว่าด้วยวิธีการใช้ความคิด เรียว่ามรรควิทยา เป็นทฤษฎีมรรคทางความคิด ซึ่งต้องเป็นทฤษฎีการรับรู้และมรรควิธีที่ถูกต้อง

ยุคพลังงานแสงอาทิตย์

ปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบันทั้งหมดไม่อาจเข้าใจได้ด้วยวิทยาศาสตร์แบบเดส์คาตส์ ขาดทัศนะทางนิเวศวิทยา ที่ผ่านมามักแยกเศรษฐกิจออกจากสภาพนิเวศวิทยาของสิ่งแวดล้อม หรือนำมาใช้ไม่สอดคล้องกับสภาพนิเวศวิทยา ที่มีการพึ่งพิงสัมพันธ์กันเป็นพื้นฐาน มักจะรับเอาระบบคุณค่าที่ไร้สมดุลอย่างยิ่ง อันเป็นตัวครอบงำวัฒนธรรมและซึมซาบอยู่ในสถาบันสังคมเรา เน้นย้ำเกินไปในด้านเทคโนโลยี หนักการบริโภคอย่างสิ้นเปลือง ตักตวงใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดหายนภัยด้านนิเวศวิทยา อาชญากรรมทางธุรกิจที่แพร่ขยาย และความร้าวฉานของสังคม


โครงสร้างสถาบันไม่ได้เป็นระบบที่เปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการตลอดเวลาตามความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศวิทยาและสังคมที่แวดล้อม เศรษฐศาสตร์ปัจจุบันทำให้แบบแผนอำนาจและการกระจายโภคทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรม ยังมีความเชื่อว่าตลาดเสรีและการแข่งขันอย่างอิสระตามความคิดของอดัม สมิธ บริษัทยักษ์ใหญ่สร้างเทคโนโลยีที่ก่อมลภาวะและทำลายสังคม โดยกักตุนทุน พลังงาน และทรัพยากรไว้เป็นอันมาก ไม่สามารถปรับตัวให้เป็นประโยชน์ให้เป็นประโยชน์สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป

ระบบนิเวศวิทยาเป็นระบบที่มีการจัดระเบียบและการควบคุมปรับเปลี่ยนตัวเองเช่นเดียวกับหน่วยชีวิต โดยที่สัตว์พืช จุลินทรีย์และสิ่งไม่มีชีวิตล้วนเชื่อมสัมพันธ์กันด้วยโยงใยแห่งการพึ่งพิงอย่างซับซ้อน มีการแลกเปลี่ยนสสารและพลังงานเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด ความสัมพันธ์ตามเหตุและผลแบบเส้นตรงเกิดขึ้นได้น้อยมากในระบบนิเวศ แบบจำลองแบบเส้นตรงมีประโยชน์น้อยในการอธิบายการพึ่งพิงกันและกัน

ธรรมชาติรอบตัวเราประกอบด้วยระบบนิเวศวิทยาอันเป็นที่อาศัยของหน่วยชีวิตเหลือคณานับ ซึ่งมีวิวัฒนาการร่วมกันมากว่าพันล้านปี การจัดระเบียบตัวเองในระบบนิเวศวิทยานั้นโดยพื้นฐานเป็นพลวัตอย่างเดียวกับที่มีอยู้ในตัวมนุษย์ มีความโน้มเอียงที่จะสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะที่ร่วมมือกัน อันเอื้อให้เกิดการผสานองค์ประกอบต่างๆของระบบอยางกลมกลืนในทุกระดับของการจัดระเบียบ

ปรัชญาปริทัศน์

ในภาษากรีก คำว่า philosophy หมายถึง รักในปัญญา (love of wisdom) ความหมายนี้ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันทั้งหมด เพราะตลอดการไม่เห็นด้วยกันอย่างมากกับความหมายที่ควรจะเป็นของคำว่า ปัญญา หรือ wisdom ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา


Marx และบางคนถึงกับประกาศว่าปรัชญาตายแล้ว ก็สร้างความยุ่งยากให้นักปรัชญาทั้งหลาย ดังในภาษาอิตาลีเรียกว่า Gramsci ที่กล่าวว่า " ทุกคนเป็นนักปรัชญาแบบใดแบบหนึ่ง

Bertie Russell ได้ให้นิยามไว้กล่าวคือ

"Philosophy is the no-man's land between science and theology,ที่เข้ามาขัดแย้งจากทั้งสองด้านนั้น"

มีผู้เคยให้ความหมายว่าเป็นเพียงการคิดเกี่ยวกับการคิด (just thinking about thinking) นันก็คือเมื่อเราคิดเกี่ยวกับว่าเรารู้อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างไร แม้เพียงราคาน้ำชาเขียวขวดหนึ่ง แล้วเราตระหนักว่าเรากับลังคิดเกี่ยวกับว่าเราคิดอย่างไร

เป้าหมายของชีวิตที่ต้องพิจารณา

ในวัยทำงานเป็นวัยที่มีความคิดความอ่าน แล้ว เป็นวัยที่ต้องเลี้ยงดูตัวเอง เป็นวัยที่ต้องศึกษาชีวิตให้ท่องแท้ หลายคนพลาดประสบการณ์ที่จะทบทวน ว่าใช้ชีวิตอย่างไร ถูกต้องหรือไม่ ได้สร้างปัญหาให้กับใครบ้าง แล้วจะดำเนินชีวิตตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้หรือไม่ แต่ส่วนใหญ่เราก็มองข้ามไป บางครั้งเมื่อคิดย้อนกลับไป ก็อาจจะคิดว่าถ้าย้อนชีวิตกลับไปได้ก็จะเข้าไปแก้ไขสิ่งที่ผิดอยู่

เกิดมาทั้งที ก็ต้องมีเป้าหมายในชีวิต แต่คนเรามักจะไม่คำนึงถึงว่า ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร รู้แต่ว่าให้ทำความดี แต่บางทีก็ทำความชั่วง่ายกวาเพราะมีกิเลส ทำไมต้องมีกิเลส ก็ตอมยาก บางคนพอบอกจะขออะไรในชีวิต ก็ไม่รู้จะขออะไร เพราะในชีวิตก็ไม่เคยขออะไรใครก็มีความพอเสียแล้ว ถ้าจะขอก็คงจะขอให้รู้ว่าชีวิตเกิดมาเพื่ออะไรเท่านั้น

การเกิดมาเป็นคน มีสมองมีความคิดเป็นของตัวเอง อยากเป็นอยากมีก็จงสร้างขึ้นมา ไม่มีใครเอาอะไรมาแต่เกิด และไม่มีใครประสบผลสำเร็จเมื่ออยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร การให้เป็นไปตามกฏแห่งกรรมไม่ใช่อยู่นิ่งเฉย แต่ต้องทำกรรมดีเพื่อที่จะส่งผลให้เกิดสิ่งดีๆ ต่อไป อยาก รัก ชอบ อะไรก็ทำสิ่งนั้น จะล้มเลิกความตั้งใจก็จะประสบผลสำเร็จได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง

ชีวิตให้ได้เท่าที่ขอ

จะตีความว่ายังไงดี เอาเป็นว่าความหมายของชีวิตต้องประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ดังนั้นอะไรที่เกี่ยวของกับสองอย่างนี้ก็ถือว่าเป็นชีวิต ที่ให้ได้เท่าที่ขอนั้นหมายความว่า เมื่อเกิดมาแล้วอย่านิ่งเฉยให้ปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ เพราะเราเกิดมาทั้งทีก็ต้องทำอะไรให้ดีขึ้นกับทั้งตัวเองและผู้อื่น อะไรก็ตามหากทำอยู่เหมือนเดิมก็จะได้เหมือนเดิม แต่ถ้าหากทำอะไรที่ใหม่ๆ จากที่เคยทำก็จะได้สิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม อย่างไรก็ตามชีวิตของเราไม่ใช่คือการเรียกร้อง แต่เป็นชีวิตที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความถูกต้อง และความสงบสุขให้เกิดขึ้น

ปฏิรูปโดยไอที

ชีวิตเปลี่ยนไปเมือเอาไอทีมาใช้ ปัจจุบันไปที่ไหนก็ต้องเกี่ยวข้องกับไอที คนที่ไม่ใช้ก็ต้องถูกบังคับให้ใช้ทางอ้อมโดยมีผู้อื่นทำให้ แต่อย่างน้อยๆ ถ้าเบิกเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มได้ ก็แสดงว่าใช้คอมพิวเตอร์ได้ระดับหนึ่งแล้ว ที่บอกว่าปฏิรูปทำหรับเราๆ ท่านๆ ก็เพราะว่าเราคงจะไม่ใช้ไอทีทำอะไรให้ทุกอย่าง แต่เฉพาะบางอย่างที่ต้องการ ไม่ถึงขั้นปฏิวัติที่จะเปลี่ยนไปแบบหน้ามือไปหลังมือ แต่เราเลือกที่ใช้งานไอทีเฉพาะงานที่ชอบและถนัดเสียมากกว่า

ดังเช่นถ้าเราต้องการส่งอีเมลล์ ไปยังเหมื่อนตามสถานที่ในอีเมลล์สำหรับคนที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาเลยจะรู้สึกว่ายุ่งยาก แต่สำหรับคนที่ใช้เป็นใช้คล่องแล้วถือว่ามีทักษะ ทำอะไรที่จะให้คอมพิวเตอร์ช่วยก็ทำได้ สำหรับคนที่ไม่มีทักษะก็จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเมื่อไรเขาทำได้เองก็จะรู้สึกภูมิใจและก่อให้เกิดแระตุ้นอยากทำต่อไปอีก อันมีส่วนต่อการขยายขอบเขตการใช้งานให้มากเพิ่มขึ้นที่ละอย่างสุดท้ายก็จะเป็นผู้ใช้งานไอทีหรือคอมพิวเตอร์ ที่ประยุกต์ใช้กับงานได้มากขึ้น และทราบถึงประโยชน์ในแง่ที่ทำงานได้รวดเร็วและได้ผลลัพธ์งานที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

วิทยาศาสตร์คือแนวทางการคิด

นักวิทยาศาสตร์แสวงหาคำตอบจากคำถามที่ตั้งขึ้น โดยที่งานของนักวิทยาศาสตร์อยู่บนฐานของทักษะที่ฝึกฝนมาอย่างดีในการตอบคำถาม การรู้ว่าจะถามคำถามอย่างไรเป็นสิ่งสำคัญเท่าๆกับการรู้ว่าจะค้นหาคำตอบได้อย่างไร ใจความสำคัญของวิทยาศาสตร์คือกระบวนการที่ระมัดระวังและรอบคอบในการตั้งคำถาม แล้วแสวงหาคำตอบอย่างมีระบบเพื่อให้มีความเข้าใจที่ดีขึ้นในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งโดยกระบวนการนี้วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (process of inquiry) อ้นเป็นแนวทางในการคิดเป็นการเฉพาะ จากกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ได้ก่อให้มีการสร้างเครื่องมือและผลผลิตความรู้ที่เป็นประโยชน์ ดังเช่นอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ วิธีการทางสถิติ คอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเดินทางไปในอวกาศ ตัวยารักษาโรคใหม่ สารทำความสะอาดที่มีพลังสูงขึ้น และในทางที่กลับกันแม้แต่อาวุธก็จะมีพลังอำนาจสูงขึ้น เครื่องมือและการประยุกต์ใช้ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์บ่อยๆ ที่ได้ทำให้เกิดความผิดเพี้ยนไปจากหลักการสำคัญทางวิทยาศาสตร์ หลักสำคัญทางวิทยาศาสตร์นั้นได้แก่แนวการคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ ที่มีตรรกะเป็นระบบในการตั้งคำถามและการตอบคำถาม นักวิทยาศาสตร์สามารถที่จะปฏิบัติการอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ในป่า การคิดผ่านทางปัญหา และการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่ไม่ได้ใช้เทคนิคมากไปกว่าการใช้กระดาษและดินสอ ความรู้ในสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์เช่นวิชาเคมีไม่ได้มีความเป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าสาขาอื่นๆ เช่นจิตวิทยา เพราะว่า วิชาเคมีก็มีอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ เช่นเดียวกับสาขาวิชาอื่นๆ ที่มีเครื่องมือแตกต่างกันไป การรู้วิธีการใช้เครื่องมือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็ไม่ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์หมดความเป็นช่างของการทดลองปฏิบัติการ


อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นภาพของนักวิทยาศาสตร์ที่สวมชุดขาว เสื้อกาวขนาบห้อมล้อมด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ที่กำลังแสดงผลการทำงาน ในการคิดคำนวณและประมวลข้อมูล อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการเป็นนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันมากไปกว่าการใช้คำ เช่นว่าตึกลอยฟ้า (skyscraper) ซึ่งไม่ได้ไต่ขึ้นไปบนฟ้าจริงๆ หลักใหญ่ใจความของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่นั้นก็คือวิธีในการคิด กลวิธีในการถามและตอบคำถาม อันเป็นกระบวนการทางปัญญาและตรรกะในการคิด ที่จะต้องหาหลักฐานอ้างอิงซึ่งไม่ใช่เทคโนโลยีที่แสดงลักษณะของวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์คืออะไร

วิทยาศาสตร์คือสิ่งที่เป็นอยู่ตามสภาพปกติ นิยาม ความจริง หลักการและทฤษฎีที่พบในตำรา


เป็นคำกล่าวอีกครั้งของทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่กำหนด สัมพันธ์กับปรากฏการณ์ธรรมชาติ

เป็นการศึกษาสืบส่วนภายใต้กฏของธรรมชาติ

สามารถเข้าใจได้เฉพาะผู้ที่มีความสามารถ มีพรสวรรค์ เฉพาะนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ อัจฉริยะ และวิทศวกรเท่านั้น

เป็นทางหนึ่งที่จะเข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติ นี่คือการมีวัฒนธรรมเป็นข้อตกลงของตัวเอง กรอบอ้างอิงความคิด ทัศนะและ การแปลกแยกที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์

เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์รูปแบบเพื่อเข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติ รวมทั้งการเจรจาสำหรับความหมายทางวิทยาศาสตร์ เป็นองคาพยบทางสังคมสร้างขึ้นโดยคน สร้างการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เป็นการสะท้อนย้อนกลับของผู้รู้ เกี่ยวข้องกับการประมาณการเกี่ยวกับโลก และทำงานอย่างไร รวมทั้งคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ บางประการ

วิทยาศาสตร์เริ่มมาจากปัญหาความสงสัยกระหายใคร่รู้ อำอธิบายที่มีอยู่ใช้อธิบายไม่ได้ ต้องใช้ความคิดมากขึ้น สังเกตอย่างละเอียดระมัดระวังมากขึ้นจึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ ถ้ายังคงมีปัญหาหลงเหลืออยู่จะเป็นตัวกระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์มีจินตนาการ บางครั้งได้วิธีการใหม่ในการมองปัญหา มองที่วัตถุที่เป็นสิ่งจำเป็น นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำอธิบายที่ดีที่สุดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด


คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่เห็นได้ชัดคือทฤษฎีซึ่งสามารถอธิบายและทำนายปรากฏการณ์ได้สำเร็จ ทฤษฎีที่ดีบอกว่าอะไรเกิดขึ้นในชุดของสถาระการณ์ที่กำหนด โดยวิธีนี้ทฤษฎีใหม่จะเป็นที่ยอมรับในชุมชนวิทยาศาสตร์ได้ ถ้าสามารถที่จะอธิบายการสังเกตการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ได้จัดไว้แล้ว และยังพยากรณ์ผลใหม่ๆที่ไม่เคยทำมาก่อนได้ การทดลองอย่างเอาจริงเอาจัง อย่างแข็งขันจากความคิดใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ เป็นลักษณะสำคัญที่ทำให้แยกวิชาออกจากวิชา เช่นประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และจากไสยาศาสตร์

ทัศนความหมายของวิทยาศาสตร์

ได้มีผู้ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ในเชิงที่นิ่งและเคลื่อนไหว (static and dynamic) เป็นต้นว่าเซอร์วิลเลี่ยม แคมเปียร์ (Sir William Dampier) ได้ให้ความหมายวิทยาศาสตร์ไว้ว่าเป็น “ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีระเบียบแบบแผนการศึกษาที่มีเหตุผลซึ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดรวบยอดที่แสดงถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวแล้ว” อีกท่านหนึ่งคือเบอร์ทรานด์ รัสเซลล์ (Bertrand Russell) ได้ให้ความหมายวิทยาศาสตร์ว่า “เป็นความรู้ที่มีหลักเกณฑ์อันนำไปสู่การสร้างกฏทั่วไป ที่ซึ่งเชื่อมโยง ความจริงจำเพาะ ในอีกด้านหนึ่งความรู้จะเป็นพื้นฐานที่ผลักดันให้มนุษย์มีอำนาจที่จะควบคุมจัดการธรรมชาติ


ตามความหมายของแคมเปียร์เกี่ยวข้องโดยตรงกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ได้คำนึงถึงการประยุกต์ใช้ความรู้ดังกล่าวตลอดจนอำนาจที่จะนำไปประยุกต์ในทางที่จะเปลี่ยนแปลง ควบคุมธรรมชาติของมนุษย์ อย่างไรก็ตามความหมายนี้ของวิทยาศาสตร์ถือเสมือนว่าอยู่นิ่ง เพราะว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ตัวความรู้ แต่เป็นความสามารถที่จะรับเอาความรู้ นอกจากนี้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นยังจำกัดไม่สมบูรณ์ ยังไม่ถูกต้องทุกแง่ทุกมุม มักจะได้รับการปรับเปลี่ยนและทบทวนกันใหม่ นั่นก็คือวิทยาศาสตร์สามารถที่จะเพิ่มความรู้ขึ้นได้โดยไม่จำกัด

เจ จี โกรเทอร์ (J. G. Growthers) ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ว่าเป็น “ระบบของพฤติกรรมซึ่งมนุษย์ได้มาเพื่อจะควบคุมสิ่งแวดล้อมของตนเอง ตามความหมายนี้ได้ชี้ให้เห็นด้านที่เสมือนว่าเป็นการเคลื่อนไหวของวิทยาศาสตร์ ความหมายที่ครบถ้วนของวิทยาศาสตร์จะต้องรวมเอาส่วนที่จริงแท้ของวิทยาศาสตร์ แม้ว่าในสาขานั้นจะเพิ่งเริ่มต้นขึ้นก็ตาม นอกจากนี้จะต้องรวมเอาเครื่องมืออันจะเป็นมาตรวัดความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ ที่สามารถวัดออกมาได้ และจะต้องไม่เพียงแต่นำวิทยาศาสตร์ในเชิงเคลื่อนไหวเท่านั้น ยังจะต้องคำนึงถึงความจริงที่ว่า ธรรมชาติโดยตัวเองแล้วไม่ได้หยุดนิ่ง และกฏหลักเกณฑ์ต่างๆ ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา

ธรรมชาติของความรู้

ความรู้ทั้งหลายในโลกนี้สามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทหลักคือ ความรู้เขิงประกาศอันได้แก่ความจริงทั้งหลายที่เรารู้ว่าเป็นอะไร และความรู้เชิงกระบวนการได้แก่ทักษะต่างๆที่เรารู้ว่าทำอย่างไร ในแง่มุมของความรู้เชิงประกาศของสารวัตถุและตามศาสตร์วิชาต่างๆ ประกอบด้วยชุดของมโนทัศน์ที่มีองศาของความซับซ้อน ความเป็นนามธรรม และความสำคัญต่างๆ กันนั้น โดยทั่วไปมองเป็นหน่วยพื้นฐานของคำสอนรายวิชาต่างๆ


มโนทัศน์ (concept) จะเกิดขึ้นได้เมื่อไรก็ตามที่แบ่งแยกความแตกต่างได้ระหว่างวัตถุหรือเหตุการณ์ตั้งแต่ 2 ชนิดหรือมากกว่า ที่ได้จัดกลุ่มหรือแบ่งประเภทไว้ด้วยกัน และจัดไว้แตกต่างจากวัตถุ เหตุการณ์ สถานะการณ์อื่นๆ บนรากฐานของการมีลักษณะรูปแบบหรือคุณสมบัติบางอย่างร่วมกัน

มโนทัศน์สามารถพิจารณาให้เป็นหน่วยของความคิด (unit of thought) ซึ่งคงอยู่ในใจของมนุษย์สามารถนึกคิดออกมาได้ ปกติเราจะใช้คำว่า เทอม (terms) เมื่ออ้างถึงหน่วยความคิดนี้ การสร้างมโนทัศน์หรือการเกิดมโนทัศน์เกี่ยวข้องกับทั้งการจำได้ถึงรูปแบบร่วม หรือลักษณะจากปรากฏการณ์บางอย่างและรวมทั้งเทอมบางเทอม หรือการจัดหมู่ของเทอม (combination of terms)

มโนทัศน์ไม่สามารถที่จะคงอยู่ตามลำพัง แต่มีความสัมพันธ์กันเป็นระบบที่มีความหมาย มักจะมีโครงสร้างตามลำดับชั้น (hierarchical concept)ของมโนทัศน์รองและมโนทัศน์หลัก (subordinate and superordinate: Ausubel,1963; Bruner,1963; Gagne’, 1970: Lason,1958; Novak Gowin and Johansen, 1983) ระบบดังกล่าวเรียกว่า ระบบมโนทัศน์ (conceptual system)

ระบบมโนทัศน์ดังกล่าวเช่นนั้นก็คือก็คือระบบนิเวศ (eco-system) โครงสร้างมโนทัศน์ตามลำดับชั้นประกอบด้วยหน่วยพื้นฐาน เช่นต้นไม้ กบ แสงอาทิตย์และอื่นๆ อยู่ส่วนล่างที่มีระบบนิเวศอยู่ด้านบนของโครงสร้างมโนทัศน์ตามลำดับชั้น ซึ่งเกิดเป็นระบบมโนทัศน์ อันได้แก่ความรู้ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับระบบนิเวศนั่นเอง

กำเนิดวิทยาศาสตร์

เท่าที่มีการบันทึกเริ่มจากอารยธรรมของกรีกที่ยังคงหลงเหลือถึงปรัชญาที่มีเหตุผลอันคิดได้ว่าเป็นบรรพบุรุสของวิทยาศาสตร์ทั้งปวงรวมทั้งวิทยาศาสตร์สมัย โดยปรัชญาศึกษาถึงระบบที่รวมรวมเอาความรู้จากกิจกรรมการให้เหตุผลของมนุษย์เพียงอย่างเดียว ความพยายามที่จะหาเหตุผลเพื่อความเข้าใจโดยไม่ใช้ลางสังหร การบอกกล่าวให้รู้ การดลบันดาลใจ แหล่งสารสนเทศทั้งหลายที่ไม่มีเหตุผล โดยศึกษาจากภายใน ของพฤติกรรมของมนุษย์ ศิลธรรม จริยศาสตร์ การกระตุ้นเร้าและการตอบสนอง และการศึกษาเรื่องภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับจิตใจที่ไม่มีตัวตน ที่เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติ


การศึกษาทางปรัชญาในประการหลังนี้เรียกว่าปรัชญาธรรมชาติ (natural philosophers) และเรียกนักปรัชญาที่ศึกษาเรื่องดังกล่าวว่าปรัชญาธรรมชาติ (natural phylosophy) และเป็นเวลาหลายศตวรรษหลังจากสมัยกรีกยุคแรกๆ การศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติยังคงเรียกว่าปรัชญาธรรมชาติต่อไป ซึ่งคำสมัยใหม่ที่ใช้แทนคำปรัชญาธรรมชาติคือวิทยาศาสตร์ (science)

อย่างไม่ต้องสงสัยที่ว่ายังมีคนที่ฉลาด และเป็นผู้ที่มีเหตุผลก่อนสมัยกรีก แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักกัน มีเพียงวัฒนธรรมกรีกเท่านั้นที่ทิ้งไว้ ได้แก่ปรัชญาที่มีเหตุผลจัดได้ว่าเป็นบรรพบุรุสของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

วิทยาศาสตร์เป็นคำในภาษาลาตินแปลว่าเพื่อรู้ (to know) ซึ่งคำนี้ไม่ได้เป็นที่นิยมจนกระทั่งก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 19 แม้กระทั่งปัจจุบันการจบการศึกษาปริญญาสูงสุดจากมหาวิทยาลัยโดยทั่วไปจะเรียกว่า ดุษฏีบัณฑิตปรัชญา (Doctor of Philosophy)

คำว่าธรรมชาติ (natural)มีที่มาจากภาษาลาติน ดังนั้นเทอม ปรัชญาธรรมชาติ (natural philosophy) จึงมีรากศัพท์ครึ่งหนึ่งจากภาษาลาติน และครึ่งหนึ่งจากภาษากรีก ส่วนคำว่า ธรรมชาติ ในภาษากรีกคือ phsikos ดังนั้นอาจเรียกปรัชญาธรรมชาติให้ละเอียดลงไปว่าเป็นงปรัชญากายภาพ (physical phylosophy) และความหมายอันเป็นจุดกำเนิดจะรวมเอาวิทยาศาสตร์ทั้งหมดไว้ด้วยกัน

อย่างไรก็ตามขณะที่ทุกสาขาของวิทยาศาสตร์ขยายขอบเขตออกไปในเชิงลึก ขณะที่มีการรวบรวมสารสนเทศไว้อย่างมากมาย นักปรัชญาธรรมชาติจำเป็นต้องทำให้เป็นเฉพาะทางมากขึ้น โดยนำบางส่วนหรือส่วนอื่นๆของความพยายามทางวิทยาศาสตร์ ขณะเลือกสาขาเฉพาะในการศึกษาหรือทำงาน การเป็นเฉพาะทางได้รับชื่อแตกต่างกันเป็นการเฉพาะ และมักจะตัดออกจากสาขาใหญ่ที่รวมทั้งหมดคือสาขาฟิสิกส์ในสมัยนั้น

ดังนั้นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงนามธรรมของรูปแบบ (form) และตัวเลขจะกลายเป็นวิชาคณิตศาสตร์ (mathematics) การศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าจะเป็นวิชาดาราศาสตร์ (astronomy) การศึกษาเชิงกายภาพของโลกจะกลายเป็นวิธีธรณีวิทยา (geology) การศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบและปฏิกิริยาของสารจะเป็นวิชาเคมี (chemistry) การศึกษา โครงสร้าง ฟังก์ชัน และความสัมพันธ์ภายในสิ่งมีชีวิตกลายเป็นวิชาชีววิทยา (biology) และอื่นๆ ส่วนคำว่าฟิสิกส์นำมาใช้อธิบายการศึกษาส่วนของธรรมชาติที่เหลือนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นว่าครอบคลุมหลายสาขา เช่นปรากฏการณ์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ ความร้อน แสง เสียง ไฟฟ้า และแม่เหล็ก ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นรูปหนึ่งของพลังงาน ดังนั้นกล่าวได้ว่าการศึกษาในสาขาฟิสิกส์โดยหลักใหญ่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กันและกันระหว่างพลังงานและสสาร

การแบ่งแยกย่อยสาขาทางวิทยาศาสตร์เป็นเฉพาะทางมีส่วนที่ประดิษฐ์สร้างสรรขึ้นจากมนุษย์ และการแบ่งเป็นสาขาระดับความรู้ยังไม่มากนัก การแบ่งทำให้ดูว่ามีประโยชน์และง่ายต่อการศึกษา เป็นไปได้ที่ใครจะศึกษา ดาราศาสตร์หรือชีววิทยาอย่างโดดเดี่ยวโดยไม่อ้างอิงถึงวิชาเคมีหรือฟิสิกส์ แต่เมื่อเวลาผ่านไปการสะสมของสารสนเทศและความรู้แต่ละสาขา ทำให้ของเขตความเป็นเฉพาะทางแต่ละสาขามาบรรจบและคาบเกี่ยวกัน ทำให้เทคนิคของสาขาหนึ่งได้กลายเป็นการจุดประกายและมีความหมายยิ่งในอีกสาขาวิชาหนึ่ง จนกล่าวได้ว่าการศึกษาเรื่องหนึ่งเรื่องใดในปัจจุบันเป็นการบูรณาการหลายสาขาเข้าด้วยกั

คนหรือความรู้เฉื่อย

สมัยที่เรียนเคมีในชั้นมัธยม ทราบว่าแกสเฉื่อย (inert gas) นั้นทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นแทบไม่ได้เลย ในกรณีของความรู้ ถ้าความรู้เฉื่อยนั้นคงจะอาการใกล้เคียงกันคือนำไปใช้ไม่ค่อยได้ แต่ตามงานการศึกษาคำว่าความรู้เฉื่อย (inert knowledge) นั้นไม่ใช่นำไปใช้ไม่ได้ยังนำไปใช้ได้ในสถานะการณ์ต่างๆ ได้กว้างขวาง แต่การนำมาประยุกต์ใช้ได้ในวงจำกัด เช่นความรู้จากสารสนเทศหรือทักษะที่เรียนรู้แล้ว แต่เราไม่สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ เป็นต้น


แต่ในอีกกรณีหนึ่งที่เกิดจากการที่เราไม่มีความสามารถที่จะใช้ความรู้ที่เรามีอยู่แล้วนั้นน่าจะเรียกว่าคนเฉื่อย ที่ซึ่งเราจำเป็นต้องทราบ เมื่อไรและอย่างไรที่จะใช้สารสนเทศหรือความรู้ที่เรามี ดังที่เราพบเห็นอยู่บ่อยว่าปัญหาหลายอย่างในชีวิตไม่ได้เกิดจากการขาดความรู้ แต่เกิดจากไม่มีความสามารถที่จะใช้ความรู้ สอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า ต้องมีความรู้และความสามารถหรือมีปัญญานั่นเอง

new theory of King pumipol

ทฤษฎี ใหม่ในที่นี้เป็นทฤษฎีที่พระราชทานให้แก่เกษตรกรที่ได้รับการสรรที่ ทำกิน ในครั้งแรกนั้นได้ทดลองที่ วัดมงคลชัยพัฒนา อ.เมืองจังหวัดสระบุรี



โดยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1ร้อยละ 30 ของพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ขุดสระกักเก็บน้ำด้วยความลึกประมาณ 4 เมตร จะกักเก็บน้ำได้ ประมาณ 19000 ลูกบาศก์เมตร

ส่วน ที่ 2 ร้อยละ 60 ใช้สำหรับการเพราะปลูกพืชต่างๆแบ่งออกเป็นเนื้อที่ 2 ส่วน ส่วนแรกร้อยละ 30 ทำนาข้าวประมาณ 5 ไร่ ส่วนที่สองร้อยละ 30 ปลูกพืชไร่พืชสวนตามสภาพพื้นที่ และภาวะตลาดประมาณ 5 ไร่

ส่วนที่ 3 ประมาณร้อยละ 10 ของเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนน ก่อนสร้าง คูคลอง ปลูกพืชสวนครัว และเลี้ยงสัตว์

จะ เห็นว่าในส่วนที่1 ที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ตลอดปี สามารถเลี้ยงปลาปลูกพืชน้ำ บก ริมตลิง เพื่อเพิ่มรายได้ นอกจากนี้ยังมีการสำรองแหล่งน้ำจากที่อื่นมาเพิ่มเติมเป็นภูมิคุ้มกันอีก ด้วย

ปัจจุบันได้มีการดัดแปลงทฤษฎีใหม่ของพระเจ้าอยู่หัวให้ ใช้กับพื้นที่น้อยลง โดยอาศัยนวตกรรมใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ตลอดจนการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์ทรงพระราชทานมาให้ นำมาใช้ควบคู่กันไปด้วย

แนวโน้มอุดมศึกษา

แนวโน้มและทิศทางของการอุดมศึกษาโลก อาจจะเป็นแนวทางการปรับตัวให้สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย เพื่อให้เห็นความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้ว และกำลังเกิดขึ้น และที่จะกำลังเปลี่ยนแปลงไปดังต่อไปนี้


ประการแรก เป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (massification)ให้พลเมืองได้เข้ามาศึกษาหาความรู้และฝึกทักษะเพื่อประกอบอาชีพ เพื่อเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ประการที่ 2 เป็นการจัดการศึกษาที่หลากหลาย (diversification) หลากหลายรูปแบบและวิธีการ นำเข้าสู่ระบบการศึกษาเชิงบูรณาการและข้ามศาสตร์ (interdisciplinary and trandisciplinary) มากยิ่งขึ้น และหลากหลายด้วยการถ่ายทอดความรู้ และการเรียนรู้ เป็นทั้งระบบเปิดและปิด และลูกผสมประการที่3 มีความเป็นเอกชนมากขึ้น (privatetization corporation) มีความคล่องตัวและเป็นอิสระมากขึ้นไม่ยึดโยงกับระบบราชการมากขึ้น ที่เน้นการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงประการที่4 เข้าสู่แนวทางอุตสาหกรรมมากขึ้น (industrialization) มีแนวคิดให้ทุกโปรแกรมวิชาเป็นสินค้าเหมือนอุตสาหกรรม ต้องสร้างคุณค่าเพิ่ม /คุณภาพเพิ่ม ทุกสาขาให้มีค่ามีราคา ทุกสาขาต้องร่วมมือกับภาคธุรกิจ และทุกภาคส่วนทุกวงการ และโดยการสร้างเครือข่าย เป็นตัวอย่างของผู้สร้างที่เข้มแข็ง ไม่ใช่เสพแต่ความรู้และเทคโนโลยีจากที่อื่นแต่ฝ่ายเดียว

ภาพเคลื่อนไหวปริศนา

ให้ดูภาพเคลื่อนไหวที่แสดงต่อไปนี้ แล้วมองให้ออกว่าเป็นภาพหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือทวนเข็มนาฬิกา

คำเฉลยก็คือเกี่ยวกับการทำงานของสมองซีกซ้ายและขวา ที่ใช้ทำงานแตกต่างกันยามใดที่ใช้สมองซีกใดมากก็จะทำให้หมุนไปด้านนั้น มากกว่า แต่เมื่อใช้อีกซีกหนึ่งในบางครั้งก็จะหมุนไปอีกด้านหนึ่ง

อ้างอิงดูรายละเอียดที่ ให้ดูภาพเคลื่อนไหวที่แสดงต่อไปนี้ แล้วมองให้ออกว่าเป็นภาพหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือทวนเข็มนาฬิกา

คำเฉลยก็คือเกี่ยวกับการทำงานของสมองซีกซ้ายและขวา ที่ใช้ทำงานแตกต่างกันยามใดที่ใช้สมองซีกใดมากก็จะทำให้หมุนไปด้านนั้น มากกว่า แต่เมื่อใช้อีกซีกหนึ่งในบางครั้งก็จะหมุนไปอีกด้านหนึ่ง

หากมองแล้วไม่เคลื่อนไหวให้ คลิกที่นี่



อ้างอิงดูรายละเอียดที่ http://www.iwillchangeyourlife.com/2007/11/16/left-or-right/

แปรสีฟันไฮเท็ก

หลายคนที่มีหินปูนจับที่ขอบเหงือกของฟัน บางครั้งอยู่ภายในเหงือกที่มีแบคทีเรียบางชนิดพาไป ซึ่งยากที่จะขจัดให้หมดไปโดยการใช้น้ำยาบ้วนปากป้องกนหินปูน และการแปรงฟันธรรมดา แปรงสีฟันไฮเทคที่พูดถึงนี้จะมีวงจรที่ทำให้สารละลายขณะแปรงฟันเปลี่ยนสภาพ เป็นสภาพไฟฟ้าบวกหรือลบได้ ที่จะดูดสารละลายที่เป็นหินปูนออกมาจากส่วนที่จะไปเกาะติดกับฟันได้ แปรงชนิดนี้จะมีวงจรและที่ใส่แบตเตอร์รีขนาด 3 โวลต์ขนาดเล็กที่ด้ามจับ และที่ปลายด้ามจะมีปุ่มสวิตช์กดมีหลอดไฟเปล่งแสงออกมาเพื่อดูว่าวงจรทำงาน หรือไม่ และขณะที่ใช้เพียงแต่ทำให้มือเปียกและหัวแม่มือแตะปุ่มโลหะกลางด้ามจับดัง รูป




แปรงชนิดนี้ได้จดลิขสิทธิ์ไว้แล้ว และผลิตจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นขณะนี้เข้าใจว่า ได้ผลิตจำหน่ายทั่วโลกแล้ว ซึ่งยี่ห้อหรือบริษัทผู้ผลิตคือ HUKUBA สนันราคาอันละ ประมาณ 300 บาท สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องหินปูน เป็นรำมนาด น่าจะลองหาซื้อมาใช้ หาซื้อทางเนตหรือน่าจะมีตัวแทนจำหน่ายแล้วขณะนี้

คนติดเว็บล็อก

เมื่อ ไม่นานมานี้คงได้ข่าวเรื่องเด็กติดเกม และก็ให้ผู้ปกครองเฝ้าระวังสังเกต พฤติกรรมของเด็กว่าเป็นไปในทางที่ถูกที่ควรหรือไม่ ซึ่งพฤติกรรมคล้ายกับคนเสพติดอะไรสักอย่าง เช่นเหล้าบุหรี ยาบ้า ถ้าวันไหนไม่ได้เล่นเกมก็ให้รู้สึกงุดหงิดต้องหาทางไปเล่นให้ได้ ถึงขั้นขโมยเงินไปเล่นก็มี แต่สำหรับคนติดบล็อกก็เช่นเดียวกันวันไหนไม่ได้ เขียนสักเรื่องก็ดูเหมือนวางุดหงิดเหมือนกัน แต่ไม่ถึงขั้นลงแดง ถ้าเปรียบไปก็คล้ายกับนักวิ่งมาราธอนอาชีพมีสนามไหนแข่งขันก็ดั้นด้นไปแข่ง ขัน แม้ว่ารางวัลที่ได้ไม่ได้เป็นเงินอาจเป็นถ้วยที่ละลึกและเหรียญตรา แต่ก็มีความภูมิใจ สุขใจในผลที่ได้รับ แต่ที่แน่ๆ คนที่วิ่งออกกำลังกายนั้นมีสารเอนโดฟินหลั่งออกมาทำให้รู้สึกมีความสุข คงจะเสพติดในลักษณะนี้


สำหรับคนติดบล็อกบางคนก็บอกว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะวันๆ ต้องไปหาเรื่องขุดเรื่องมาเขียน สุดท้ายก็ได้เรื่องมาเขียนจนได้ คนเขียนบล็อกคงมีความภูมิใจสุขใจที่มีคนมาอ่านเช่นกันรู้สึกว่าได้ทำ ประโยชน์แล้ว เพราะถือว่าการคิดการเขียนก็คือว่าเป็นการปฏิบัติอย่างหนึ่ง พฤติกรรมของคน ติดบล็อกน่าจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากที่เคยเป็นอยู่เดิม คงจะไม่ใช่เป็นคนที่เงียบขรึมแน่ แต่อาจจะเป็นคนชอบคุยเพราะเมื่อเขียนมาก ก็มีเรื่องคุยมาก เมื่อไปคุยมากก็มีเรื่องที่จะเขียนขึ้นมาเอง สำหรับผู้เขียนนั้นคิดว่าการได้เขียนบล็อกเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันความรู้ กระจายความรู้ที่น่าสนใจและที่ควรทราบ การบอกจำนวนคนอ่านด้วยก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีก็จะได้รู้ว่าขณะนี้ใครสนใจเรื่องอะไรมากน้อยเพียงใด ข้อเสียก็มีบ้างที่อาจมีบางคนรู้สึกว่า เออ..เรื่องที่เราเขียนนี่คนช่าง สนใจน้อยเสียนี่กระไร แต่ไม่ต้องคิดอะไรมากสำหรับผู้เขียนแล้วมีคนอ่าน 1 คนและได้จุดประกายความคิดอะไรบางอย่างแล้วก็คือว่าคุ้มค่าเกินคุ้ม แล้ว แต่ขณะนี้ผู้เขียนก็ตั้งไว้ว่าเมื่อไรมีคนอ่านครบ 10 คนก็จะเขียนเรื่องใหม่ทันที จนบางคนหาว่าไฮเปอร์ ติดบล็อก บ้าบล็อก แต่ยังดีกว่าบ้าอย่างอื่นนะครับ

ประสบการณ์รภไฟญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีระบบขนส่งมวลชนดีมากที่สุดประเทศหนึ่งของ โลก เป็นประเทศแรกที่นำรถไฟความเร็วสูงมาใช้ที่เรียกว่ารถไฟหัวกระสุน หรือชิงกันเซ็น ความเร็วมากกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าเทียบระยะทางจากนครถึงกรุงเทพประมาณ 600 กม. แล้วถ้านักรถไฟหัวกระสุนแล้วจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง เทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่นก็จากเมือโอซากาไปเมืองโตเกียว ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเช่นกัน สำหรับรถไฟประเภทอื่นๆ ก็คล้ายประประเทศไทยมีรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ และถ้าเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินจะมีในเมืองใหญ่ทุกเมือง ซึ่งจะมีรถไฟฟ้าใต้ดินเป็น โครงข่ายที่ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของเมืองจึงไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีรถกลับ ถ้าหากไม่เลยเวลา


ทุกปีประเทศญี่ปุ่นจะออกตารางเดินรถไฟที่ไม่ใช่รถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งจะบอกขบวนรถไฟทุกขบวนที่วิ่งอยู่ระหว่างเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งทำสรุปไว้เนียบมากเราอยากไปเมืองไหนจากจุดไหนได้หมด ตามเวลาในหนังสือทุกประการที่บอกว่ารถไฟตรงเวลามากก็ด้วยเหตุนี้ (สำหรับเมืองไทยเมือก่อนนี้) การซื้อขายตั๋วมีทั้งซื้อตัวด้วยตนเองด้วยเครื่องขายอัตโนมัติ หรือจะซื้อที่ห้องขายตั๋วในเมืองต่างจังหวัด ที่น่าประทับใจมากเรื่องหนึ่งก็คือจะมีตั๋วตอนปิดภาคสำหรับนักเรียน ที่มีเงื่อนไขสามารถใช้ตั๋วใบเดียวได้ตั้งแต่ 24น. ไปถึง 24.น. ของอีกวันหนึ่งได้ ซึ่งถ้าดูตารางรถไฟดีๆ อาสามารถนั่งรถไฟฟ้าจากโตเกียวไปยังส่วนใต้สุดที่นางาซากิได้ด้วยตั๋วใบ เดียวได้ แต่ก็นั่นแหละ ไม่สามารถที่จะนั่งรถไฟด่วนพิเศษได้ คงนั่งรถเร็วหรือรถด่วนธรรมดา เจ้าตั๋วที่ว่านี้บางทีไม่เฉพาะนักเรียนเท่านั้นที่ซื้อสำหรับนั่งไปยัง เมืองต่างๆ แต่อาจเป็นนักท่องเทียวอย่างเราๆ หรือชาวบ้านเขา นักท่องเที่ยวบางคนก็ลักไก่เอาบ้างแอบไปนั่งรถด่วนเพื่อให้ถึงเป้าหมายเร็ว ขึ้นก็มี ซึ่งการตรวจตั๋วก็ไม่ได้เข้มงวดอะไรมาก เพราะยึดความซื่อสัตย์เป็นหลัก

สำหรับนั่งรถไฟฟ้าใต้ดินในเมิองใหญ่ๆ นั้นในชั่วโมงเร่งรีบเช่นตอนเช้า ตอนออกไปทำงานอาจจะเคยได้ยินว่ามีการอัดยัดเยียดกันมากถึงขั้นว่า สำหรับคนที่รีปมากๆ มีการดึงคนที่อยู่บนรถออกมาแล้วตัวเองก็เบียดเข้าไปแทนที่ตอนที่รถกำลังจะ ออก เมื่อปิดประตูแล้วก็ไม่สามารถที่จะขึ้นรถไฟไปได้ ในตอนผู้คนขึ้นรถไฟฟ้าไม่หนาแน่น ขณะนั่งรอรถไฟฟ้านั้น อย่าลืมอะไรไว้ข้างนอกนะครับ เพราะเมื่อรถออกไปแล้วจะหวนกลับมาเอาของที่ลืมไว้นั้น มักจะอันตทานหายไปแล้ว เพราะที่ไหนก็มีอยากได้ของพรีทั้งนั้น โดยเฉพาะของที่คนลืมไว้

แนวคิดจุดเปลี่ยนซอพท์แวร์กระแสหลัก

จากแนวทางการพัฒนาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบวินโดว์ของไมโครซอพท์ล่าสุดมาเป็น Vista ซึ่งที่มาพร้อมๆ กันก็คือซอพท์แวร์ชุดออฟฟิส 2007 หลายค่ายได้วิจารณ์ว่าอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนจากการใช้ซอพท์แวร์ของไมโครซอพท์ไปใช้ ซอพท์แวร์ประยุกต์จากค่ายอื่นๆ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการอื่นและซอพท์แวร์หรือโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้กับระบบปฏิบัติการที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งค่ายซอพท์แวร์ยักษ์ใหญ่อีกแห่งที่ออกมาท้าทาย คือคือค่าย google ที่ออกซอพท์แวร์ Google App ออกมาแข่งขันที่สามารถดาวโหลดใช้ได้ฟรีออนไลน์ได้ เช่นเวิร์ดโปรเซสเซอร์ สเปรดชีต และซอพท์แวร์การนำเสนอคล้ายๆ กับของไมโครซอพท์ มีทั้งรุ่นในดาวโหลดมาใช้ฟรี และรุ่นที่เต็มความสามารถทึ่จะต้องจ่ายเงินบ้าง


ซอพท์แวร์ที่ให้บริการฟรีต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็น Gmail, Blogger, Calender, Google maps ใช้งานได้ดีด้วยความเร็วสร้างชื่อเสียงให้กับ Google อีก ทำให้คาดการการกันว่าการนำมาใช้กับระบบปฏิบัติการอื่นจะเพิ่มสูงมากขึ้น โดยเฉพาะโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ผ่านงานระบบอินเตอร์เนต ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้มีการเปลี่ยนด้วยการหันไปใชซอพท์แวร์ราคาถูกหรือฟรีบนอินเตอร์เนต และซอพท์แวร์ที่ใช้ได้ฟรีบนระบบปฏิบัติการลินุกซ์จะเพิ่มมากขึ้น และหลากหลายขึ้น และระบบปฏิบัติการลีนุกซ์อาจจะหวลกลับมาใช้เพิ่มมากขึ้นกว่าซอพท์แวร์เชิงพานิชย์ของไมโครซอพท์

คุณภาพของประชากรกับการเลือกตั้ง

จากบทความคนกับระบบอะไรสำคัญกว่า นั้นได้บทสรุปว่าคนที่มีคุณภาพสำคัญกว่า เพราะคนที่มีคุณภาพไปสร้างระบบที่ดีได้ และถ้าระบบไม่ดีก็จะปรับปรุงให้ระบบดีขึ้นได้ ในการเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านไปนั้น ยังมีความเชื่อกันว่าถ้าคนมีคุณภาพแล้วก็จะได้ผู้แทนที่ดีมีคุณภาพด้วยเหมือนกับที่กล่าวกันว่าคนเลือกเป็นอย่างไรผู้แทนก็เป็นอย่างนั้น และการที่คนจะมีคุณภาพได้ก็ต้องมีการศึกษาที่ดี ที่ผ่านมาแม้ว่าเราจะมีพระราชบัญญัติการปฏิรูปการศึกษาแต่ดูเหมือนว่าไม่สามารถปฏิรูปให้เป็นไปตามกม.ได้ ดังนั้นการจัดการศึกษาของเราค่อนข้างล้มเหลวที่ไม่สามารถยกระดับหรือปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น


การที่ฝากความหวังไว้ที่การศึกษานั้น ก็เพราะยังเชื่อว่ายังสามารถที่จะพัฒนาไปในทางที่ดี ครูที่มีคุณภาพก็เป็นปัจจัยให้การศึกษาในโรงเรียนให้มีคุณภาพ และยิ่งถ้ามีนโยบายจากฝ่ายการเมืองที่มีความจริงใจที่ต้องการให้ประชากรมีการศึกษาที่ดีขึ้น อะไรที่เป็นปัญหาของชาติก็ต้องเร่งระดมทำกันเป็นอย่างขนานใหญ่ เช่นการการมีวินัย เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น รู้จักหน้าที่ของพลเมื่องที่ดี เน้นความซื่อสัตย์ สิ่งเหล่านี้จะต้องใส่ไว้ในหลักสูตรทุกระดับชั้นแม้กระทั่งในมหาวิทยาลัย

เพราะเมื่อการศึกษาดี ส่งผลในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต ให้ทุกคนคิดได้อย่างมีเหตุผล มีวินัย เคารพกฏ กติกา มีศักดิ์ศรีของความเป็นคน เป็นตัวของตัวเองแล้ว ก็เท่ากับเป็นคนที่มีคุณภาพจะเลือกใครก็ใช้วิจารณญาณของตนเอง จะไม่นิ่งดูดาย เมื่อพบสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นก็จะช่วยกันร่วมมือกันขจัดความเลวร้ายออกไป เช่นรังเกียจการซื้อเสียง ก็จะร่วมมือกันกำจัดให้หมดไป โดยสรุปประชากรที่มีคุณภาพเป็นหัวใจที่สำคัญในสังคมประชาธิปไตย และคนที่มีความรู้ความสามารถจะต้องลงมาช่วยสังคมให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพราะแม้ว่าจะมีคนดีมากกว่าแต่ท้อถอยก็ทำให้ชาติล่มจมได้

อุบัติเหตุบนท้องถนนบางจังหวัดกับในระดับโลก

ระยะนี้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนบ่อย โดยเฉพาะที่ทางแยก ที่เกิดจากการขับรถฝ่าไฟแดง หลายคนเคยประสบด้วยตนเองรวมทั้งผู้เขียน อุบัติเหตุในนครศรีธรรมราชเกิดเหตุจากจักรยานยนต์มากที่สุด ส่วนใหญ่ไม่สวมหมวกนิรภัย ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตประมาณ 300 คนต่อปีที่ช่วงอายุ 15-25 เป็นส่วนใหญ่ อันเป็นช่วงที่จะเป็นกำลังของชาติ ในช่วงที่ผ่านมามีคนที่เรารู้จักเสียชีวิต และบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งยังมีความเชื่อว่าถ้าทุกคนทุกฝ่ายปฏิบัติตามกฏจราจรแล้วอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นน้อย และยังเชื่ออีกว่าถ้ามีมาตรการต่างๆ เช่นเมื่อเข้าเขตชุมชนลดความเร็ว และขับขี่ไม่เกินความเร็วที่กม.กำหนด หยุดรอไฟแดงไม่ว่าจะมีรถอีกฝั่งหรือไม่ ต้องเริ่มสร้างวินัยให้กับลูกหลานและเยาวชนโดยทำเป็นตัวอย่าง มิฉะนั้นแล้วถ้าไม่ทำอะไรเลยสักวันหนึ่งคนที่ท่านรู้จักก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตอยู่บ่อยมากขึ้น


จากข้อมูลสถิตที่มีการสำรวจกันทั่วโลกพบว่า ร้อยละ 90 อุบัติเหตุเกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา และยังรายงานอีกด้วยว่า ร้อยละ 82 เกิดจากความผิดพลาดของคน ร้อยละ 15 เกิดจากสิ่งแวดล้อม ถนน ภัยธรรมชาติ และร้อยละ 3 เกิดขึ้นจากปัญหาของยานพาหนะ และนับเป็นความสูญเสียถึง 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP: Gross Domestic Product) รถจักรยานยนต์เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และความรุนแรงเกิดขึ้นในส่วนภูมิภาคมากกว่า

จากข้อมูลตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นชัดถึงคุณภาพของประชากร แสดงให้เห็นอะไรหลายอย่าง เช่นความมีวินัย และการเคารพกฏหมาย และการบังคับใช้กฏหมายไม่ได้ ทำให้คนยังฝ่าฝืนกฏจราจร สำหรับประเทศไทยแล้วนับว่ามีอุบัติเหตุจากการจราจรมากที่สุดประเทศหนึ่ง ถ้าคิดถึงความสูญเสียตามรายงานแล้วนับเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจอันใหญ่หลวง ถ้าเราไม่ช่วยกันตั้งแต่วันนี้ก็จะยิ่งสูญเสียมากขึ้น

คลังความรู้ของหน่วยงานองค์กร

ได้มีการประมาณการว่าความรู้อยู่ที่ไหนเท่าไร จากการศึกษาคราวหนึ่งพบว่า ความรู้ที่อยู่ในรูปของฐานข้อมูลความรู้ที่เป็น ฐานความรู้ โดยอาศัยไอที ราว 12 เปอร์เซ็นต์ ความรู้จากพนักงานหรือบุคลากรของหน่วยงานราว 42 เปอร์เซนต์ถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่มีมากที่สุด ส่วนความรู้ที่อยู่ในรูปของเอกสารที่พิมพ์ข้อความความรู้ราว 26 เปอร์เซนต์ และความรู้ที่อยู่ในรูปเอกสารอิเลคทรอนิกส์รวม 20 เปอร์เซนต์ ซึ่งปัจจุบันมักจะอยู่ในรูปของดิจิทัล และกำลังเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน

เทคนิคการค้นหาอย่างรวดเร็วในอินเตอร์เน็ต

เครื่องจักรการค้น (search engine) ที่เราคุ้นเคยมากที่สุดคือ google.com หรือ yahoo.com ปกติเมื่อจะค้นหาคำหรือวลีใดก็พิมพ์ลงในช่องสำหรับใส่คำค้นหรือวลีสำหรับค้น เครื่องจักรการค้นทั้งสองดังกล่าวนอกจากจะค้นข้อมูลตามคำและวลี แล้วด้วยหลักการเดียวกันอาจใช้ในการค้นเฉพาะภาพที่เกี่ยวกับคำหรือวลีนั้น

สำหรับการค้นหาข้อมูลขั้นก้าวหน้าขึ้น โดยใช้เครื่องหมายคำพูดและเครื่องหมาย + และ - ให้อยู่ในเครื่องหมายคำพูดเมื่อต้องการค้นให้เหมือนทุกอย่างรวมทั้งช่องว่างโดยไม่แยกคำที่พบ เช่นค้น “การวิจัย บริการชุมชน” ส่วนเครื่องหมาย+ คำหรือวลีที่อยู่หลังเครื่องหมาย+ เป็นการบังคำให้มีคำหรือวลีนั้นอยู่ด้วย นอกจากคำหรือวลีหน้าเครื่องหมาย+ ในอีกทางหนึ่งถ้าใช้เครื่องหมาย - คำหรือวลีที่อยู่หลังเครื่องหมาย- จะหมายถึงเว็บที่ค้นจะไม่มีคำหรือวลีดังกล่าวอยู่ด้วย เช่นคำค้นเป็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี +ฟิสิกส์ หรือคณะวิทยาการจัดการ -วิทยาศาสตร์ (เครื่องหมาย+หรือ-ควรอยู่ห่างจากคำด้านหน้าอย่างน้อยหนึ่งช่องแต่ต้องติดกับคำด้านหลัง)

เทคนิคที่ง่ายๆ อีกวิธีแต่ใช้ได้ผล ต้องการทราบความหมาย หรือสารสนเทศของคำหรือวลีเพิ่มเติมก็เพียงแต่ใส่คำค้น หรือวลีเพียงบางส่วน เช่น….คือ …อยู่ที่ และใช้หลักเดียวกันนี้ในการค้นคำหรือวลีภาษาอังกฤษก็ได้เช่นกัน ส่วนที่เป็น…. คือคำหรือวลีที่ต้องการค้นหา ทดลองใช้ดูนะครับ

แนวคิดการมองทะลุกำแพง

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีบริษัทผลิตเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ได้ประกาศว่าสามารถสร้างกล้องที่สามารถมองทะลุกำแพงได้แล้ว โดยให้ข้อมูลเพียงสั้นๆ ว่าได้ใช้รังสีเอ็กซ์สเรย์พลังงานต่ำ และเลนรวมแสงหรือรังสีที่เลียนแบบเลนซ์ของตากุ้งที่อยู่ในทะเลลึกลงไป ที่สามารถจะมองเห็นได้ผ่านน้ำที่มีความขุ่นมัว


สำหรับหลักการทำงานนั้นยังไม่รู้รายละเอียดมากนัก เพราะยังอยู่ในขั้นการพัฒนาและทดลอง ยังไม่รู้ขีดจำกัดเงื่อนไขที่จะสามารถมองให้เห็นได้ กำแพงต้องเป็นวัสดุแบบใด แต่ถ้าให้ผู้เขียนเดาทายว่าการทำงานเป็นอย่างไร นั้นเพราะผู้สร้างบอกว่าใช้รังสีเอ็กซ์พลังงานต่ำ ก็ไม่น่าว่าจะทำให้ทะลุกำแพงออกไปกระทบวัตถุที่อยู่ในอีกด้านของกำแพง แล้วสะท้อนกลับมายังตัวตรวจับและสร้างภาพให้เห็น หรือทีเป็นไปได้อีกทางหนึ่งก็คือรังสีเอ็กซ์ผ่านกำแพงไปได้แต่สะท้อนกลับมาเป็นรังสีเอ็กซ์พลังงานต่ำเพียงไรก็ยังสามารถสร้างเป็นภาพจากเลนซ์รวมแสงแบบตากุ้งนั่นเอง

มีหลายสิ่งหลายอย่างที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นมาใช้ขยายขอบเขตความสามารถของมนุษย์ ซึ่งเมื่อร้อยปีที่แล้วถ้าใครทำได้อาจคิดว่าเป็นแม่มดหมอผี หรือผู้วิเศษที่มีอิทธิฤทธ์ปาติหาริย์ ไม่ว่าการเดินทางไปในอวกาศ การสร้างเครื่องบิน การสื่อสาร และคอมพิวเตอร์เป็นต้น และมนุษย์ลังสร้างเครื่องมือที่สมัยหนึ่งคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ สิ่งที่มนุษย์ฝันไว้ค่อยๆ จะเป็นจริงมากขึ้นทุกที และเป็นไปได้ว่าสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นต่อไปในอนาคตจะมีความฉลาดมากกว่ามนุษย์ปัจจุบันนับล้านๆเท่า แล้วอะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น

ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์สามารถพบว่าแมวสามารถมองเห็นในที่มืดได้ดี มนุษย์อยากมองเห็นในที่มืด ก็สามารถสร้างกล้องที่สามารถมองเห็นในที่มืดได้เช่นกัน ที่ใช้กันในทางทหารตำรวจ และกิจการสำรวจบางชนิด และในเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพ และวิดีโอ ที่สามารถถ่ายภาพในที่มืดได้โดยใช้หลักการของแสงอินฟาเรดหรือคลื่นความร้อนจากวัตถุ และต่อไปก็เป็นไปได้ว่าความลับอาจจะปกปิดกันได้ยากขึ้น และเมื่อถึงจุดนั้นก็ได้แต่ฝันว่าคงจะโกงกันได้ยาก เพราะเครื่องมือรู้ได้หมด

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

กรอบแนวคิดการวิจัย

เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพ จะมีองค์ประกอบของทฤษฎี กรอบความคิดในการวิจัยควรจะมีแผนภูมิแสดงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร


การประมวลผลสถานภาพขององค์ความรู้ (review of Literature)

กระบวนการวิจัย

วิธีวิทยาการวิจัย = แนวคิด ทฤษฎี หลักการ ระเบียบวิธี กระบวนการวิจัยทุกขั้นตอน


กระบวนการวิจัย, วิธีดำเนินการวิจัย 5 ขั้น เป็นส่วนหนึ่งของวิธีวิทยาการวิจัย คือ

1. กำหนดปํญหาวิจัย

2. การกำหนดสมมุติฐานวิจัย

3. การรวบรวมข้อมูล

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

5. การสรุปและอภิปรายผลวิจัย

ขอบเขตการวิจัย

การระบุรายละเอียดว่าโครงการวิจัย ครอบคลุมสาระครบถ้วนสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด มิใช่การระบุตัวแปร

หากมีการกำหนดของเขตจำกัด ควรระบุเหตุผลว่า เพราะเหตุใดจึงกำหนดขอบเขตเช่นนั้น

ขั้นตอนการเขียนโครงการวิจัย

การวางโครงร่าง (outline)


การเตรียมเนื้อหาสาระ

การเขียนร่าง (Draft)

การขัดเกลาสำนวน

การบรรณาธิกร

โดยมีรูปแบบคือ

ส่วนนำเรื่อง

ส่วนเนื้อเรื่อง
     ความสำคัญและความเป็นมา
     วัตถุประสงค์
     รายงานเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
     วิธีดำเนินการ
      ประโยชน์

ส่วนท้ายเรื่อง

ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย

ปัญหาวิจัย (research problem) ข้อความ หรือคำถามที่นักวิจัย กำหนดเพื่อศึกษาหาวิธีแก้ไข


คำถามวิจัย (research question) คำ ถามที่นักวิจัยกำหนดขึ้นเพื่อหาคำตอบ ซึ่งจะนำไปสู่วิธีการแก้ไขปัญหาวิจัย นิยมตั้งคำถามวิจัยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมีลักษณะอย่างไร

สำหรับความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัยมีข้อที่ควรพิจารณาคือ

การนำเข้าสู่ปัญหาวิจัย

ภูมิหลังของปัญหาวิจัย

       สภาพที่เป็นอุปสรรค/ปัญหา/ความเดือดร้อน

       ข้อขัดแย้งจากผลงานวิจัยในอดีต

ปัญหาวิจัย

ความสำคัญของปัญหาวิจัย

ตัวอย่างจากคำถามสู่สมมุติฐาน

ตัวอย่าง


ชื่อวิจัย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธื์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา



คำถามวิจัย

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับใด?

ปัจจัยใดมีความสำคัญต่อการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ?

ปัจจัยใดมีความสำคัญต่อการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน?


วัตถุประสงค์วิจัย

เพื่อสรุประดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

เพื่อเปรียบเทียบขนาดทิศทางอิทธิพลของปัจจัยด้านครู นักเรียน ครอบครัว และโรงเรียน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน


สมมุติฐานการวิจัย

ปัจจัยด้านครู นักเรียน ครอบครัว มีอิทธิพลทางบวก ปานกลาง ส่วนปัจจัยด้านโรงเรียนมีอิทธิพลทาง บวก ขนาดต่ำ ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

ตัวแปรในปัจจัยด้านนักเรียน และครอบครัวมีความสำคัญต่อการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

ตัวแปร

สัญลักษณ์ที่นักวิจัยกำหนดค่าเป็นตัวเลข แทนเหตุการณ์ พฤติกรรม ลักษณะ หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา ซึ่งแปรค่าได้


ตัวแปรในการวิจัย

ตัวแปรต้น (Independent variable = IV)

ตัวแปรตาม (Dependent variable = DV)

ตัวแปรแทรกซ้อน (Exreaneous var. = EV)

นักจัดการวิจัย

นักจัดการวิจัยจะต้องคำนึงถึง


ปริมาณ และคุณภาพ

ระบบอาชีพนักวิจัย

ระบบอาชีพนักจัดการงานวิจัย

เส้นทางสู่นักวิจัย

บางคนเริ่มจากความสนใจเรื่องหนึ่ง ที่ทำเป็นของเล่น เป็นนัก...สมัครเล่น เช่นเครื่องบินบังคับรถยนต์ เครื่องบินบังคับเรื่องเหล่านี้นำไปสู้่การเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


สาระแสดงความสำคัญ/คุณค่าของงานวิจัย

ประโยชน์เชิงวิชาการ

ประโยชน์เชิงนโยบาย

ประโยชน์ทางปฏิบัติ

รายงานทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

การศึกษาผลงานวิชาการที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงกับเรื่องที่จะทำวิจัย และนำเสนอรายงานโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้


เพื่อแสวงหาแนวทางดำเนินการวิจัย

เพื่อให้ทราบสภาพปัญหา และความเป็นมาของการวิจัย

เพื่อกำหนดปัญหาวิจัยให้ชัดเจน

เพื่อพัฒนากรอบความคิดในการวิจัยและสมมุติฐาน

เพื่อให้ได้แนวทางรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายผล

เพื่อแสดงคุณภาพของงานวิจัยที่จะทำ

เพื่อเชื่อมโยงความรู้ทางวิชาการ

วงจรการวิจัย

วงจรการวิจัย (Research Cycle)


พิจารณาจากปัญหาวิจัย แล้วกำหนดสมมุติฐานขึ้นมาตอบปัญหาวิจัย เพื่อจะยืนยันว่าถูกต้องจึงต้องมีการ สุ่มตัวอย่าง นิยามเครื่องมือ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล

การสรุปอ้างอิง การเสนอแนะ ได้ทฤษฎี และเมื่อมีการกำหนดปัญหาวิจัยใหม่ก็จะมีวงจรแบบเดิมอีกคือ มีการกำหนดสมมุติฐาน.....

วัฒนธรรมการวิจัย

มารยาทในการวิจัย


ความรับผิดชอบต่อผลงานวิจัย

การวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์

วัฒนธรรมการทำงาน

วินัยในการวิจัย

ความอยากรู้

การปรับตัวในการทำงานสหวิทยาการ

คำที่เกี่ยวกับการวิจัย

การวิจัย (research)


วิธีการวิจัย (research method)

กระบวนการวิจัย (research methodology)

คำถามวิจัย (research question)

ปัญหาวิจัย (research problem)

วัตถุประสงค์วิจัย (research objective)

สมมุติฐานวิจัย (research hypothesis)

ฐานความคิดสู่ความสำเร็จการวิจัย

1. เลือกโจทย์วิจัยที่มีนวภาพ (originality)

2. เลือกทำวิจัยเรื่องที่ถนัดและเชี่ยวชาญ

3. ไม่เปลี่ยนเรื่องที่ทำวิจัยบ่อย

4. ทำวิจัยต่อเนื่อง

5. ควรทำทั้งวิจัยวิชาการและวิจัยประยุกต์

6. ถ้าเป็นไปได้ควรทำวิจัยล่วงหน้า/ ทำการศึกษาความเป็นไปได้ (ถ้ามีเงินทุน)

..ทำได้แน่ ทำเสร็จทัน/ก่อนกำหนด

....เป็นไปตามเป้าหมาย

....คำนวณงบประมาณได้อย่างแม่นยำ

7. ต้องมีการบริหาร/จัดการงานวิจัย

การสังเคราะห์เกี่ยวข้องกับเอกสาร

สังเคราะห์ส่วนที่เป็นทฤษฏี วิธีวิทยา และผลการวิจัย แยกกันคนละตอน


เสนอสาระตามประเด็นที่กำหนดไว้

เสนอสาระจากเรื่องทั่วไป นำสู่เรื่องเฉพาะ

มีการสรุปประเด็นสำคัญแต่ละตอน

เสนอรายงานให้มีความเชื่อมโยงกันทุกเรื่อง

ใช้ภาษาที่เป็นประโยคสั้น ชัดเจน สื่อความ

อ้างอิงเอกสารตามระเบียบของสถาบัน

คำถามและวัตถุประสงค์การวิจัย

คำถามวิจัย/คำถามสำคัญแต่ละข้อและวัตถุประสงค์การวิจัย ต้องสอดคล้องกัน


ใช้ภาษาสั้น กะทัดรัด แต่ชัดเจน

คำถามหรือวัตถุประสงค์ย่อยต้องทำการวิจัยได้ และผลการวิจัยที่ได้รวมกันเป็นผลการวิจัยของคำถามหรือวัตถุประสงค์หลัก

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การคิดเกี่ยวกับการคิดบางประการ

นักปรัชญาได้นำเสนอทักษะการคิดแบบมีวิจารณยาน (critical thinking) และทักษะการคิดเชิงตรรกะ ส่วนนักจิตวิทยาพัฒนาการ (developmental psychologists) ได้ชี้ไปที่การคิดเกี่ยวกับการคิด (meta cognition) และนักวิทยาศาสตร์การคิด (cognitive scientist) ศึกษากลวิธีทางการคิด (cognitive strategies) และ ศึกษา heuristics ที่จะทำให้งานสำเร็จลุล่วง ส่วนนักการศึกษาได้ประกาศให้ใช้การฝึกทักษะในการเรียน และการแก้ปัญหา

นักสร้างความรู้ (constructivist)

constructivist พิจารณาให้เป็นทฤษฎีของการเรียนรู้และการสอน มากกว่าจะเน้นย้ำไปที่ความซับซ้อนของโลกแห่งความเป็นจริง และโครงสร้างทางความรู้ด้านต่างๆ ที่ยังไม่ดีนัก constructivist เกี่ยวข้องกับวิธีการสอน และยืนยันว่าไม่มีการเรียนรู้ที่เป็นการค้นพบในความเข้าใจที่จะเผยให้ทราบหรือเหมือนกับถอดหน้ากากของโครงสร้างภายนอก แบบฉบับของกระบวนการสร้างขึ้นมากกว่าที่จะเป็นบางอย่าง เช่นการอ่านหนังสือเกี่ยวกับธรรมชาติหรือการค้นพบ


constructivist โต้แย้งว่านักเรียกสร้างความเข้าใจ สร้างความรู้ให้แก่ตนเอง นอกจากนี้ยังพิจารณาให้ constructivist เป็นปรัชญาการเกิดหรือบ่อเกิดของความรู้ (epistemology) เป็นทฤษฎีของความรู้เพื่อใช้ในการอธิบายว่าเรารู้ในสิ่งที่เรารู้ได้อย่างไร (to explain how we know what we know)

บ่อเกิดของความรู้ตามแนว constructivist ยืนยันให้ทราบว่าเครื่องมืออย่างเดียวที่มีอยู่ให้กับผู้ที่จะรู้คือความรู้คือประสาทรับสัมผัสทั้งหลาย (sense) โดยผ่านทางการเห็น ได้ยินเสียง ได้กลิ่น และรับรส ที่แต่ละคนปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ด้วยข่าวสารจากประสาทรับสัมผัสที่แต่ละคนสร้างขึ้นมาเป็นภาพของโลกที่เข้าไปสัมผัสดังนั้น constructivism ยืนยันให้ทราบถึงว่าความรู้มีอยู่ในตัวคน โดยที่ความรู้นั้นไม่สามารถที่จะส่งผ่านถ่ายทอดจากหัวครูไปยังหัวของนักเรียน นักเรียนพยายามที่จะทำความเข้าใจถึงสิ่งที่ครู่สอนโดยพยายามที่จะให้สอดคล้องเข้ากันได้กับประสบการณ์ที่มีของแต่ละบุคคล

พุทธิปัญญา

คำว่า "พุทธิปัญญา" ทางจิตวิทยาเป็นศัพท์ที่แทนการรู้คิดหรือการคิดทุกชนิด ตั้งแต ความใส่ใจ(attending) การรับรู้(perception) การระลึกได้หรือจำได้(remembering) การคิดอย่างมีเหตุผล(reasoning) การจินตนาการหรือการวาดภาพในใจ(imaging) การคาดการณ์ล้วงหน้าหรือการมีแผนรองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น(anticipating) การตัดสินใจ(deciding) การแก้ปัญหา(problem soving) การสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นอกจากนี้ พุทธิปัญญายังรวมถึงกระบวนการทางจินตนาการสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัว เช่น การจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ(clssifying) และการตีความหมาย(interpreting) กระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการที่เราคิดในใจเหมือนกับความฝันและจินตนาการต่างๆ รวมทั้งเนื้อหาของกระบวนการเหล่านี้เช่น ความคิดรวบยอด(concepts) ความจริง(facts) และความจำ


.............นักจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจ(Cognitivism) เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่มากกว่าผลของการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า-การตอบสนอง โดยให้ความสนใจในกระบวนการภายในที่เรียกว่า ความรู้ความเข้าใจ หรือการรู้คิดของมนุษย์ โดยเชื่อว่าการเรียนรู้จะอธิบายได้ดีที่สุดหากเราสามารถเข้าใจกระบวนการภายใน ซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง การเรียนรู้ตามแนวคิดของกลุ่มความรู้ความเข้าใจมีรากฐานอยู่บนแนวคิดนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ ซึ่ง แนวคิดพื้นฐานของกลุ่มเกสตัลท์พุ่งไปที่เรื่องการรับรู้โดยเห็นว่าการรับรู้ เป็นกระบวนการของการเรียบเรียงประสบการณ์และข้อสนเทศและจัดให้เป็นรูปร่าง และโครงสร้างที่มีความหมาย แล้วจึงแสดงอาการตอบสนองซึ่งการตอบสนองใหม่ที่เกิดขึ้น ก็คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ได้จากการเรียนรู้ (กุญชรี ค้าขาย,2540)

การคิดเชิงระบบและกระบวนระบบ

การคิดเชิงระบบ (system thinking) ยังมีความเข้าใจที่แตกต่างกัน เหมือนกับทำให้คิดว่าการคิดเชิงระบบที่แท้กับไม่แท้ ทั้งนี้เพราะไม่ว่าการคิดแบบใดต่างก็อ้างว่ามองอย่างเป็นระบบทั้งนั้น แม้แต่ตามแนวคิดของนิวตันเองก็มองทุกอย่างเป็นระบบ เพราะการที่จะคิดให้อะไรเป็นระบบนั้น มองที่มีองค์ประกอบตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปมาสัมพันธ์กัน แต่จะพิจารณาให้ครอบคลุมมากน้อยแค่ไหนนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ แนวคิดกระแสหลักแบบนิวตันนั้นพิจารณาว่าเป็นการมองแบบแยกส่วน แล้วมาพิจารณาแต่ละส่วนที่แยกไปศึกษาว่าเป็นระบบ ซึ่งดูเหมือนว่าทำให้ง่ายต่อการศึกษา ตัดขาดความสัมพันธ์ส่วนอื่นๆ ไป ต่อมาพบว่าการศึกษาในลักษณะนี้นั้นจะพบว่ามีข้อผิดพลาดตามมาเสมอแม้ว่าจะตรวจสอบอย่างดีแล้วก็ตาม ประกอบกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 เริ่มจะมีแนวคิดที่ต่างออกไปในการศึกษาตามวิธีของนิวตัน ซึ่งพบว่าทำให้ได้ความรู้ที่มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น และเทอมที่ได้ตามมาก็คือการมองที่เป็นระบบที่ครอบคลุมมากขึ้น ทำให้การคิดเชิงระบบที่แตกต่างไปจากเดิม จนมีนักวิชาการใช้คำว่าวิธีคิดกระบวนระบบ หรือเชิงนิเวศวิทยา

ในวิธีคิดกระบวนระบบหรือนิเวศวิทยานั้น เป็นวิธีการที่คิดให้มองในสิ่งที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาตามปกติ แต่อาจต้องใช้ตาปัญญาที่มองด้วยใจที่ใช้ปัญญา เมื่อลงลึกไปในด้านจิตแล้วการจะมองได้เช่นนั้นก็จะต้องฝึกจิตให้นิ่งในสภาวะที่ผ่อนคลายและสงบ ในมุมมองใหม่จะเป็นการยกระดับความคิดให้สูงขึ้น โดยการมองความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสรรพสิ่งทำให้เกิดความเข้าใจ และมีการพัฒนาด้านในอยู่ตลอดเวลา ที่อาจข้ามเลยพ้น ความต้องการด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว ทำให้เราได้ฝึกคิดถึงสิ่งต่างๆแบบเชื่อมโยง แบบองค์รวม มองแบบภาพรวม โดยมองเห็นภาพรวมทั้งหมดเพื่อช่วยให้เราคาดการณ์ และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ทั้งระบบไม่ใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องการแนววิธีการของกลศาสตร์ควอนตัม

วิถีปรัชญา

1. การค้นหา หาจุดยืน ทรรศนะ และวิธีการเพื่อจะได้นำมาเป็นหลักวิเคราะห์สภาพชีวิต


2. เรียนรู้กฏของการวิวัฒนาการของเหตุการณ์เพื่อให้เข้าใจวิธีการที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม ผลักดันให้สังคมก้าวหน้า

3. มีความสามารถในการชี้แนะ หรือกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน และดำเนินชีวิต

โดยสรุป หน้าที่ของปรัชญา เป็นการค้นคว้ากฏเกณฑ์พัฒนา และการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของโลกทั้งมวล ปรัชญาจึงเป็นความรู้ ข้อสรุป เกี่ยวกับกฏเกณฑ์ทั่วไปของธรรมชาติ สังคม และความนึกคิดของมนุษย์ความคิดของคนในชีวิตประจำวัน เป็นพื้นฐานอันแท้จริงของปรัชญา เป็นการมองการรับรู้ของคนที่มีต่อโลก อันได้แก่ธรรมชาติและสังคมมนุษย์การรับรู้อันแท้จริง และการมองอันแท้จริงต่อโลกทั้งมวล...คือความหมายของปรัชญา โดยมีหลักฐาน 2 ประการของความคิดทางปรัชญา

1. หลักมูลฐานว่าด้วยการรับรู้โลก เรียกว่าโลกทัศน์...ทฤษฏีการรับรู้ต่างๆ

2. หลักฐานว่าด้วยวิธีการใช้ความคิด เรียว่ามรรควิทยา เป็นทฤษฎีมรรคทางความคิด ซึ่งต้องเป็นทฤษฎีการรับรู้และมรรควิธีที่ถูกต้อง

ปรัชญา 2 ลัทธิ

ลัทธิที่ว่านี้ก็คือลัทธิจิตนิยม กับลัทธิวัตถุนิยม ในลัทธิแรกคือส่วนที่อยู่นอกเหนือความคิด (อันได้แก่จิต)ของคน เรียกว่าวัตถุหรือสสาร อีกประการหนึ่งได้แก่ความคิดหรือจิต หรือเป็นมโนภาพของคนเราทั้งลัทธิจิตนิยม และลัทธิวัตถุนิยมต่างก็อ้างว่าจะต้องมีอยู่ก่อน ลัทธิจิตนิยมก็ว่าโลกนี้มีจิตอยู่ก่อนแล้ว จึงค่อยมีสิ่งที่เรียกว่าวัตถุทีหลัง วัตถุเป็นเพียงสิ่งสมมุติ และเชื่อว่ามีอยู่จริง ทุกข์ สุข ใดๆ ก็เกิดจากจิตทั้งสิ้น โดยมีจิตนิยมโดยอัตวิสัย เห็นว่าโลกเป็นผลิตผลแห่งจิตสำนึกอัตวิสัยของคนและจิตนิยมภาววิสัยถือว่า สรรพสิ่งทั้งปวงในโลก เป็นเพียงผลผลิตของวิญญาณโลก ซึ่งจิตวิญญาณโลกดำรงอยู่อย่างอิสระ

ส่วนลัทธิวัตถุนิยมถือว่า โลกนี้มีวัตถุก่อนมีจิต หรือมโนภาพนั้นเกิดขึ้นทีหลัง และเกิดขึ้นจากวัตถุด้วยวัตถุ เป็นความจริง เป็นภาวะวิสัย ที่ไม่พึ่งอาศัยจิตสำนึกอัตวิสัย่เป็นธาตุแท้ของโลก ข้อยืนยันจากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้พิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าโลกเป็นวัตถุมีอยู่ก่อนแล้วจึงค่อยมีมนุษย์ทีหลัง และการที่พบว่าที่เปลือกโลกมีแร่ธาตุต่างๆที่สามารถขุดขึ้นมาใช้ในปัจจุบันแสดงว่าต้องมีมากก่อน และการที่จะคิดสร้างภาพในใจได้ เพราะมีสมอง และสมองก็เป็นวัตถุ และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ต่างก็ประกอบด้วยวัตถุ ที่สามารถจับต้องได้ สัมผัสได้โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยธาตุแท้ก็เป็นวัตถุ วัตถุดำรงอยู่ตลอดไปนานเท่านาน และมีขอบเขตกว้างหาที่สุดไม่ได้ ไม่สูญสลายไป แต่แปลงรูปไปเป็นอีกรูปแบบได้ มีการสร้างสรรค์ขึ้น ถ้าไม่มีวัตถุก็ไม่มีทุกสิ่งทุกอย่างวัตถุคือความจริงทางภววิสัย ซึ่งส่งผ่านมายังคนเราทางความรู้สึกนึกคิด แต่ดำรงอยู่โดยไม่พึ่งพาความรู้สึกนึกคิดของคนเรา โดยความรู้สึกนึกคิดจะจำลองคัดลอก และนำออกมาแสดงซ้ำๆ ความจริงทางภววิสัยที่ดำรงอยู่อย่างอิสระ โดยแยกออกจากจิตคนเราล้วนเป็นวัตถุ ความรู้สึกของคนสามารถสะท้อนออกมาได้ วัตถุจึงเป็นสิ่งที่รับรู้ได้ ไม่รวมอยู่ในจิตสำนึกอย่างไรก็ตามการเข้ามาของวิทยาศาสตร์ใหม่โดยกลศาสตร์ควอนตัม ที่ใช้หลักการความไม่แน่นอนในการอธิบาย เป็นโอกาสที่จะเกิดขึ้นซึ่ง ในการศึกษาสิ่งที่มีขนาดเล็กมากในระดับอะตอม ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่การสังเกตจะไม่มีผลกระทบต่อสิ่งที่ถูกสังเกต จนได้เป็นข้อสังเกตว่าการคงอยู่ของอะไรนั้น จะมีอยู่จริงหรือไม่ก็จนกว่าเราได้เข้าไปสังเกตมัน จึงเป็นข้อถกเถียงกันว่าวัตถุจะมีได้ก็ต่อเมื่อเราไปสังเกตมันหรือว่ามันมีอยู่แล้วแม้ว่าไม่ไปสังเกต แล้วถ้าไม่สังเกตแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันทีอยู่ก่อนแล้ว

ปรัชญาและจิตวิทยาทางการศึกษา

ตามแนวปรัชญามาตรฐาน คิดให้ความรู้นั้นยังต้องการที่จะอ้างเหตุผลสนับสนุน ทำนองเดียวกับความเชื่อและด้วยความจริง การได้มาซึ่งความรู้ในทางปรัชญาจำกัดโดยองค์ประกอบทั้งภายในและภายนอกตัวผู้ รู้ คงจะต้องเป็นมากกว่าความเชื่อจริงในใจของใครบางคน ผู้ซึ่งไม่ได้อ้างเหตุผลสนับสนุนตามข้อเสนอ นอกจากว่าจะได้ทราบว่าทำไมจึงเป็นความจริง


ดังนั้นในขณะที่นักจิตวิทยามีแนวโน้มที่จะไม่แบ่งแยกชัดเจนระหว่างความ เชื่อกับความรู้ ความแตกต่างจะเด่นชัดในเชิงปรัชญาของความรู้ ที่อาจมองว่าค่อนข้างเข้มงวดกว่า

การเรียนรู้ความจริงโดยการท่องจำดูเหมือนว่าจะสนิทแนบกับการได้มาซึ่ง ความเชื่อจริงโดยปราศจากการรู้ถึงการอ้างเหตุผลมาสนับสนุนสำหรับความเชื่อ จริงนั้น ในทางการศึกษาต้องการความเข้าใจ และความเข้าใจต้องการเหตุผลสำหรับความจริงหรือความเชื่อ นี่ก็คือหลักของความรู้ในทางปรัชญาที่ใกล้เคียงกับหลักความเข้าใจที่มักอยู่ ภายใต้เป้าหมายการศึกษา

การคิดของตนเอง

เนื่องจากนักจิตวิทยาปัญญานิยมเชื่อว่าผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ คือ เป็นผู้ที่ควบคุมกิจกรรม การเรียนรู้ของตนเอง (self-regulation) จึงมีผู้ศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมกิจกรรมทางปัญญา (Conitive Activity) ฟลาเวล(flavell,1979) ได้คำว่า "meta Cognition" หมายถึง การรู้คิดหรือปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้อะไรก็ตามด้วยความเข้าใจ ตัวอย่างเช่น การเข้าใจความหมายระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ส่วน "meta Cognition" หมายถึง การที่ตนเองรู้สึกว่ามีความรู้เกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตยมากน้อยเพียงไร ตลอดจนการรู้ตนเองว่ามีความสารถที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเองว่า รู้ว่าตนเองรู้อะไร ต้องการอะไร และยังไม่รู้อะไร ตลอดจนควบคุมและตรวจสอบความคิดของตนเองได้ (ทิศนา แขมมณี และคณะ , 2540

ประโยชน์ของปรัชญา

ปกติแล้ว ปรัชญาเน้นในเรื่องของความเชื่อของที่ไปที่มาของความรู้ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิพากษ์วิจารณ์วิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์มโนทัศน์ และในการศึกษาธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ การวิพากษ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์ถึงการปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ อาจจะอยู่ในรูปของการดำเนินการด้วยตัวเองโดยตรงเช่นการวิพากวิจารณ์จิตวิทยา เชิงวิวัฒนาการ และในเทอมของนโยบายทางสังคมเป็นต้นว่าการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการวิจัยทาง ด้านพันธุศาสตร์ของมนุษย์


ส่วน การวิเคราะห์มโนทัศน์ได้แก่การอภิปรายและสำรวจถึงมโนทัศน์หลักที่ใช้โดยนัก วิทยาศาสตร์ เช่นอะไรที่เป็นธรรมชาติของการคัดเลือกตามธรรมชาติ อะไรที่นักเคมีหมายความถึงโดยสาเหตุ การเคลื่อนพัดล่องลอยไปนั้นคือแรงหรือเปล่า ในกรณีธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ได้มีการกำหนดให้วิทยาศาสตร์ควรจะดำเนินไป เหมือนกับวิธีการสืบเสาะหาความรู้ (inquiry) และอธิบายว่าวิทยาศาสตร์ดำเนินไปอย่างไรเช่นเดียวกับวิธีการสืบเสาะหาความ รู้ เช่นในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradigm shifts) การวิวัฒนาการ และวิวัฒนาการของชาติพันธ์เกี่ยวกับความคิด(evolution and phylogny of idea)

เอดิสันเอ็ฟเฟ็คคืออะไร

โทมัส เอลวา เอดิสัน นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล แต่เขาได้ค้นพบทางวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เพียงอย่างเดียว ที่เรียกว่าเอดิสันเอ็ฟเฟ็ค (Edison effect) เกี่ยวข้องกับการไหลของไฟฟ้าข้ามผ่านศูนย์ยากาศ เขาได้จดสิทธิบัตรผลอันนี้ไว้ แต่ไม่สามารถคิดนำไปใช้ประโยชน์ แต่เขาข้ามไปยังสิ่งอื่นๆ อย่างไรก็ตามเอดิสันเอ็ฟเฟ็คกลับกลายเป็นว่าได้เป็นรากฐานของอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ทั้งหมดในเวลาต่อมา ..เช่นวิทยุ โทรทัศน์ และอื่นๆ ทั้งหมด

เรียนรู้ได้ดีที่สุดเมือ่ใด

กล่าวกันว่าความรู้ที่เพิ่มขึ้นมาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้มากกว่าความรู้ที่มีมาแล้วเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา หรืออาจกล่าวว่าความรู้ในปีนี้ปีเดียวมีมากกว่าเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมารวมกัน การกล่าวเช่นนี้แสดงให้เห็ว่าความรู้เพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วมาก ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ มากมายทุกศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น ในช่วงชีวิตคนเราคงจะเรียนไม่จบสิ้น ซึ่งก็คงต้องเลือกที่จะเรียนรู้ในสิ่งจำเป็นพื้นฐานแก่ชีวิต และปรับปรุงคุณภาพชีวิต ตลอดจนการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่จำเป็นคือการเรียนรู้ที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการเรียนรู้ จะต้องเรียนรู้วิธีเรียนรู้ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองลงมือปฏิบัติเองเพื่่อให้ได้ความรู้ที่แท้จริง


อย่างไรก็ตามเหนือสิ่งอื่นใดใครจะเรียนรู้ได้เร็วหรือช้า ได้ดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับผุ้เรียนรู้เองว่าชนะใจตนเองเพื่ออนาคตหรือไม่ เพราะถ้าชนะใจตนเองอะไรก็เรียนรู้ได้ถ้าอยากเรียนรู้และจำเป็นต้องเรียนรู้ ในเรื่องนี้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในสมัยกรีกตามนักปรัชญาเพลโต้ที่ว่าคนจะเรียนรู้ได้ดีหมดถ้าบุคคลนั้นมีความสำนึกหรือรู้ว่าอะไรควรไม่ควร อะไรดีไม่ดีแล้ว รู้ว่าเป้าหมายของชีวิต จุดประสงค์ของชีวิตเป็นอย่างไร ซึ่งอาจกล่าวได้อีกอย่างว่าการรู้สำนึกเสียก่อนแล้วจะเรียนรู้อะไรได้ทั้งนั้น ดังนั้นในปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อสอนให้รู้จักผิดชอบ ความชั่วดี สำนึกในสิ่งที่ดี สิ่งที่ต้องกระทำให้ดีเสียก่อนแล้วจะเรียนวิชาอะไรก็ได้ทั้งนั้น เช่นเดียวกับการชนะใจตนเองที่ว่า เรียนรู้อะไรก็ไม่เท่ากับการรู้การชนะใจตนเอง

เหตุการณ์ประหลาดที่ท้องฟ้าและท้องทะเล

ด้วยภูมิอากาศที่เปลี่ยน ช่วงเวลาหนึ่งต้นปีนี้ มีนกฝูงใหญ่บินไปตามแนวเทือกเขาหลวงและเทือกเขานครศรีธรรมราช จนกระทั้งสาย 8 โมงเช้าก็ยังมีบินมาไม่ขาดระยะ บางคนบอกว่าเป็นนกพยาแร้ง บางคนก็ว่าเป็นนำอินทรีย์ทะเล เท่าที่ทราบมาเหตุผลหลักของการอพยบของนกก็มีภูมิอากาศทีเปลี่ยนแปลง และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งก็ทราบกันดีว่าสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างมีทั้งพายุใหญ่ แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ซึนามิ



ที่ท้องทะเลนครศรีธรรมราชวานนี้เช่นกันมีผู้พบกั้งตั๊กแตนขึ้นมาติดอวนชาวประมงค์จำนวนมาก ติดขึ้นมาแล้วแกะออกจากอวนยากมาก ผู้ที่ไม่รู้วิธีถึงกับยอมตัดยอมเสียอวนไป สำหรับผู้ที่มีเทคนิควิธีการสามารถนำกั้งไปจำหน่ายได้ราคาดีขณะที่ยังเป็นๆ มีชีวิตอยู่

จากเหตุการนกอพยบกั้งขึ้นมาติดอวนที่นครศรีธรรมราช น่าจะมีผลมาจากการเปลี่ยนแปรปรวนของสภาวะแวดล้อมและภูมิอากาศ มีธรรมชาติที่แปรปรวนมากกว่าเดิม สาเหตุก็สามารถคาดเดาได้ว่าเกิดจากอะไร ก็คงไม่หนีคำว่าภาวะโลกร้อน และใครทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็คือคน เมื่อคนเป็นตัวปัญหาก็ต้องแก้ที่คนให้คนไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอีกต่อไป

ช่วยลดภาวะโลกร้อน

ก็โดยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เราสามารถมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยลดระดับภาวะโลกร้อน ด้วยตัวอย่างต่อไปนี้ หากมีอะไรอีกช่วยกันเสนอแนะด้วยครับ


-ช่วยกันประหยัดน้ำ เช่นติดฝักบัวแบบประหยัดน้ำ ชักโครกแบบประหยัดน้ำ

-เลิกใช้กระดาษชำระวันเว้นวัน

-ขี่รถจักรยานไปทำงานอย่างน้อย 5 วันต่อเดือน-ขณะแปรงฟันให้ปิดก็อกน้ำ

-ปลูกต้นไม้อย่างน้อยเดือนละ 1 ต้น

-เลิกใช้ยาฆ่าแมลงสารเคมีเป็นเวลา 1 เดือน ให้ใช้สารอินทรีย์แทน

-รับทานอาหารมังสวิรัติสัปดาห์ละครั้ง

-ใช้สบู่ซักผ้าแทนผงซักฟอก

-ใช้กระดาษทำสำเนาสองหน้า

-ใช้ถ้วยกาแฟของตนเองไม่ใช้แบบใช้แล้วทิ้ง

-ใช้แบตเตอร์รีแบบชาร์ตได้

-ให้ของขวัญสีเขียว (ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม)

แนวคิดศูนย์เรียนรู้

จากที่รัฐบาลผ่านทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านตัวแทนทางสถาบันการศึกษานั้น เป็นแนวคิดที่ดีที่ทำให้สถาบันการศึกษาได้เข้ามามีส่วนในการรับรู้ปัญหาของประชาชนในพื้นที่ มีส่วนในการช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง โดยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาในโครงการใช้ความรู้ทางวิชาการที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ให้สามารถเข้าไปปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่นขึ้นได้บ้าง


ปัญหาของชาวบ้านส่วนใหญ่ก็เป็นปัญหาด้านอาชีพทำกินที่มักเกี่ยวข้องกับการเกษตรที่เราไม่เคยคิดทำกันให้ครบวงจร และก็ไม่ทราบว่าจะช่วยกันอย่างไรต่อไป ส่งเสริมให้ใช้เกษตรอินทรีย์แต่ก็ขาดผู้รู้เขี่ยวชาญเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ยากมากที่จะเปลี่ยนการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ หรือยากมากที่เปลี่ยนความคิดเรื่องยาฆ่าแมลงมาเป็นไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ตัวอย่างเช่นที่เคยเข้าไปสัมผัส ชาวบ้านปลูกบัวบกเป็นอาชีพ ได้มีสถาบันการศึกษาหลายสถาบันเข้าไปช่วยเหลือดูแล แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการตลาดที่คนซื้อเป็นผู้กำหนด เจ้าของต้องจ้างคนตัดหรือตัดเอง บางครั้งก็ไม่คุ้มทุน ก็ยังไม่มีคนมาดูแลเรื่องการตลาด เรื่องการรับประกันราคา ยังมีการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีเพราะให้ผลผลิตที่ดีกว่าทำให้ขายได้ราคาดีกว่า แต่ผู้บริโภคไม่ค่อยมั่นใจในความปลอดภัย ทำให้การบริโภคไม่แพร่หลาย หรือได้ราคาที่ไม่ดี

บางสถาบันได้มาช่วยทำตัวอย่างการทำเกษตรอินทรีย์ บางหน่วยงานมาชี้แน่การทำน้ำบัวบก ทำเยลลี ทำบัวบกอัดเม็ด ชุมชนเคยได้รับเครื่องจักรในการผลิตบัวบกอัดเม็ดที่ขาดการดูแลต่อเนื่องจึงทำให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้แล้วยังมีด้านการตลาดที่ไม่มั่นคง ไม่สามารถสร้างแบรดและให้ได้รับการรับรอง จึงเห็นว่ายังอยู่ในขั้นการพัฒนาอีกมาก จะต้องหาคนกลางที่สามารถเป็นหลักในการแก้ปัญหาได้อย่างต่อเนื่องจึงจะประสบผลสำเร็จ

การจัดการความรู้ในสังคม

จากที่กล่าวกันว่าสังคมของเราเปลี่ยนไปเป็นสังคมแห่งความรู้นั้น บางคนอาจจะยังไม่เห็นด้วย เพราะยังเห็นผู้คนจำนวนมากเมื่อจะทำอะไรไม่ได้ใช้ความรู้ที่ควรจะเป็น แต่นัยยะสังคมแห่งการเรียนรู้นั้น อยู่ที่การคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อแก้ปัญหา ถ้าหากว่ายังใช้วิธีเดิมๆ ไม่ได้ผลแล้ว หรือได้ผลแต่ไม่ทันกาล การจะคิดใหม่ทำใหม่จึงเน้นกันที่ความรู้ ที่นำมาใช้เป็นความรู้ใหม่ที่นี่ แต่อาจเป็นความรู้เก่าของที่อื่น การแข่งขันกันทางธุรกิจการค้าก็เน้นกันที่ความรู้และเทคโนโลยี ในนัยนี้เทคโนโลยีก็เป็นความรู้อย่างหนึ่ง พูดง่ายๆ ก็คือแข่งกันที่ความรู้ว่าใครมีความรู้มากกว่ากัน ใครมีความรู้มากกว่าย่อมได้เปรียบ และเมื่อมีความรู้แล้วจะต้องนำความรู้นั้นมาให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ในเรื่องนี้ผู้คิดค้นความรู้ไม่จำเป็นว่าจะต้องนำความรู้มาให้เกิดประโยชน์ในทางธุรกิจได้ดีเสมอไป ดังจะเห็นว่าบริษัทธุรกิจนั้นซื้อเทคโนโลยีเอาไปผลิตสินค้าได้ดีกว่า ผู้ที่คิดค้นเทคโนโลยีเสียอีก ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นมากมาย


และการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้นั้น ความรู้มีการแพร่กระจายเร็ว สามารถที่จะไปเอาความรู้ที่ใดที่มีอยู่แล้วมาใช้ได้ง่าย แต่ทำอย่างไรจะให้เข้ากับบริบทของเรา ขณะเดียวกันความรู้ของเราคนอื่นก็เอาไปใช้ได้ ฉวยโอกาสเอาไปใช้ได้หมด ไม่ต้องรอให้ใครสร้างความรู้ก่อน บางทีขณะที่นำความรู้มาใช้จะก่อให้เกิดการสร้างความรู้ใหม่ เพราะอย่างไรก็ต้องมีการปรับปรุงความรู้ให้เหมาะสมกับทรัพยากร สถานะการณ์สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน

การจัดการความรู้ที่ผ่านมาเรามักจะจัดแบ่งความรู้เป็น 3 ส่วนคือความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit knowledge) ได้แก่ความรู้ความจริงทั้งหลาย ความรู้แฝงในตัวคน (implicit knowledge) เป็นความรู้ที่อาจได้จากประสบการณ์ที่แต่ละคนทำมาจนชำนาญมีเทคนิคเฉพาะตัว และความรู้ที่ฝังรากลึก (tacit knowledge) หลายคนไม่รู้ว่าตัวมีความรู้นี้อยู่ โดยแบบฉบับมักจะยกตัวอย่างด้วยภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำคือว่าเป็นความรู้ชัดแจ้ง ที่อยู่ใต้น้ำไม่ไกลจากผิวน้ำก็จะเป็นความรู้แฝง ส่วนความรู้ที่ซ่อนอยู่นั้นอยู่ลึกลงไปในน้ำ การแบ่งความรู้ดังกล่าวแล้วนั้นในสองประเภทหลังนั้นอาจจะดูคล้ายคลึงกัน แต่ถ้าจะให้ชัดว่าความรู้ที่อยู่ลึกนั้น อาจเป็นความรู้ที่เป็นความสามารถเฉพาะตัวที่คนอื่นทำไม่ได้ เป็นความรู้จากลางสังหรณ์ หรือเรียกกันว่าหยั่งรู้ ถ้าหยั่งรู้ได้ทุกเรื่องคงจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ตามบุคคลเดินดินธรรมดา

รีเอนจิเนียร์ริ่งให้สำเร็จ

การเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงตาม ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ทำกันมาก ซึ่งได้แก่การทำ Reengineering เมื่อวิเคราะห์ความหมายไม่ได้หมายถึงการวิศวกรรมจริงๆ แต่น่าจะรวมเอาวิศวกรรมการจัดการมาใช้เสียมากกว่า โดยทั่วไปก็ต้องเริ่มจากการคิดใหม่ทำใหม่ (rethink) เพราะถ้ายังทำอยู่แบบเดิมๆ ก็จะได้ผลไม่ต่างจากเดิมมากนัก แม้ว่าจะได้กำจัดจุดอ่อนไปบ้างแล้วก็ตาม ทำให้ต้องคิดกันใหม่ในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องหลักตั้งแต่วิสัยทัศน์ร่วมขององค์กรกันทีเดียว ซึ่งก็ต้องมีการออกแบบอะไรกันใหม่ (redesign) มีการกำหนดความสามารถหลักกันใหม่ และร่วมทั้งสิ่งประกอบทั้งหลาย (retool) ให้เป็นเครื่องมือในการนำพาองค์กรให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนได้ และสุดท้ายก็หนีไม่พ้นก็ต้องมีการฝึกอบรมคนที่จะทำงานกันใหม่ ตามแนวทางใหม่ที่ออกแบบไว้ โดยพัฒนาคนตลอดเวลาเพราะคนที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญต่อความก้าวหน้าขององค์กร ทำอย่างไรให้มีความสามารถตามที่กำหนด โดยให้คงอยู่กับองค์กร สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ตลอดเวลา (retain)

ทฤษฎีใหม่ของในหลวง

ทฤษฎี ใหม่ในที่นี้เป็นทฤษฎีที่พระราชทานให้แก่เกษตรกรที่ได้รับการสรรที่ ทำกิน ในครั้งแรกนั้นได้ทดลองที่ วัดมงคลชัยพัฒนา อ.เมืองจังหวัดสระบุรี


โดยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1ร้อยละ 30 ของพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ขุดสระกักเก็บน้ำด้วยความลึกประมาณ 4 เมตร จะกักเก็บน้ำได้ ประมาณ 19000 ลูกบาศก์เมตร

ส่วน ที่ 2 ร้อยละ 60 ใช้สำหรับการเพราะปลูกพืชต่างๆแบ่งออกเป็นเนื้อที่ 2 ส่วน ส่วนแรกร้อยละ 30 ทำนาข้าวประมาณ 5 ไร่ ส่วนที่สองร้อยละ 30 ปลูกพืชไร่พืชสวนตามสภาพพื้นที่ และภาวะตลาดประมาณ 5 ไร่

ส่วนที่ 3 ประมาณร้อยละ 10 ของเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนน ก่อนสร้าง คูคลอง ปลูกพืชสวนครัว และเลี้ยงสัตว์

จะ เห็นว่าในส่วนที่1 ที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ตลอดปี สามารถเลี้ยงปลาปลูกพืชน้ำ บก ริมตลิง เพื่อเพิ่มรายได้ นอกจากนี้ยังมีการสำรองแหล่งน้ำจากที่อื่นมาเพิ่มเติมเป็นภูมิคุ้มกันอีก ด้วย

ปัจจุบันได้มีการดัดแปลงทฤษฎีใหม่ของพระเจ้าอยู่หัวให้ ใช้กับพื้นที่น้อยลง โดยอาศัยนวตกรรมใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ตลอดจนการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์ทรงพระราชทานมาให้ นำมาใช้ควบคู่กันไปด้วย

วัตถุธรรมนามธรรม

ในโลกปัจจุบันหลายคนบอกว่าเราอยุ่ในโลกของวัตถุนิยม ที่คิดว่าการมีวัตถุสิ่งของจะนำมาซึ่งความสุขได้ ทำให้โลกเราเต็มไปด้วยการแสวงหาสิ่งของเพื่อที่จะทำให้เกิดความสุข แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้คนมีความ่ทุกข์จากการมีสิ่งของ ต้องมีความกังวลใจว่าจะมีคนมาขโมย หรือกลัวว่าจะสูญหายไป บางครั้งก็ให้เกิดความอิจฉาริษยาที่ก่อให้เกิดการทำลายล้างกันก็มี มีคนเคยกล่าวว่าอาชีพจากกิเลสของคนจะไม่มีวันอับจน เพราะคนมีความอยากไม่มีที่สิ้นสุด มีแล้วอยากมีอีก เมื่อเบื่อก็อยากได้ที่ใหม่กว่า เป็นธรรมชาติของคนที่เป็นปุถุชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่ยังขาดการศึกษา การศึกษาไม่ได้ช่วยยกระดับ จิตใจให้ควบคุมตนเองให้ได้สิ่งของมาในทางที่ถูกต้อง ก็จะเป็นสังคมที่ยังหา ความสงบสุขไม่ได้ แม้ว่าตามความเชื่อทางศาสนาว่าการสร้างกรรมชั่วเป็นวิบากกรรมที่จะต้องติด ตัว สำหรับคนทำชั่วไม่เข้าใจ ไม่รู้ถึงสิ่งเหล่านี้ด้วยซ้ำไป


ทำอย่างไรจะไม่ให้คนหลงไหลในวัตถุจนก่อให้เกิดทุกข์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม การศึกษาจะช่วยให้มีการประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติไม่ เบียดเบียนกันและกัน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียประโยชน์หรือเดือดร้อน ถ้าเป็นไปได้ก็ควรที่จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นด้วย เพราะการเดือดร้อนของคนหนึ่งอาจจะทำให้อีกคนหนึ่งเดือดร้อนด้วย ซึ่งต้องตระหนักในเรื่องนี้ให้มาก และเพื่อที่จะยกระดับไปให้ถึงความสงบสุขที่แท้จริงนั้นไม่ได้เนื่องมาจาก วัตถุเพียงอย่างเดียว แต่เป็นความสุขทางจิตที่สามารถควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้แม้แต่กิเลสของตัว เอง ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นนามธรรมเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้

ถ้านึกย้อนไปก่อนที่จะมีวัตถุสิ่งของมากมายในปัจจุบัน เราก็มีวัตถุป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ ไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่มีมลภาวะดังในปัจจุบัน ในน้ำมีปลา ในป่ามีอาหาร น้ำดื่มที่สะอาดจากน้ำฝน ได้ให้ความสุขกับมนุษย์ชาติมาเป็นเวลาช้านาน แต่เมื่อมนุษย์มีความเจริญทางด้านวัตถุเพิ่มขึ้น ความถดถอยทางด้ายจริยธรรมก็มีมากขึ้นเช่นกัน และทุกวันนี้ที่มนุษย์ทะเลาะกัน ทำสงคราม และก่อการร้ายกันนั้นว่าระหว่างวัตถุธรรม กับนามธรรมนั้นลึกๆ แล้วต้องการอะไรกันแน่ นามธรรมความสงบแห่งจิต หรือทุกสิ่งต้องแลกด้วยการต่อสู้ตัดสินปัญหาด้วยกำลังแม้แต่ในเรื่อง นามธรรม

สายโซ่แห่งคุณค่า

การมองงานอย่างเป็นระบบที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนงาน ที่ทำให้งานคล่องตัว มีการบริการทุกระดับที่ดี มีปรสิทธิภาพต้นทุนไม่สูง จะเกิดเป็นสายโซ่แห่งคุณค่า (value chain) ที่มีการเน้นรอบเวลาที่เหมาะสม (cycle time) ให้มีการทำงานอย่างประสิทธิภาพ


จะต้องมีผู้ที่เข้าใจระบบงาน (Business Process) ไม่เฉพาะของหน่วยหนึ่งหน่วยใด แต่เป็นของคนอื่นๆ อย่างครบถว้นเพียงพอมาประกอบกัน ประสานกันผลลัพธ์ที่เกิดความคล่องตัวตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ

พนักงานจะต้องมีข้อมูลสารสนเทศเพียงพอ มีสติปัญญาที่แหลมคม ลึกซึ้งพอที่จะจัดการกับปัญหา รู้ว่าปัญหาเป็นอย่างไร รุนแรงระดับใด มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วแนวทางแก้ไขควรเป็นอย่างไร ผลที่ได้จะเป็นการบริการที่ดี

การทำงานมีประสิทธิภาพงานของแต่ละคนจะไม่แพง และคนไม่มากเกินไป นั้นอยู่ที่ตัวระบบงานส่วนหนึ่งว่ามีความซับซ้อน (complexity) เพียงใด จะทำอย่างไรให้ทุกหน่วยงานสามารถประสาน กระชับระบบให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ และลดจำนวนคนและจำนวนจุด ขั้นของงาน จะลดน้อยลงไปเองโดยอัตโนมัติ และประสิทธิภาพประสิทธิผลจะตามมาในที่สุด

การจะเข้าสู่สายโซ่แห่งคุณค่า ทุนทางปัญญาขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญ มิได้เกิดขึ้นในเวลาอันสั้นไม่สามารถถ่ายมาจากที่อื่นได้โดยง่าย

ตัวชี้วัดการพัฒนา

มีรายงานการวิจัยสำหรับประเทศไทยประชากร ของประเทศไทยนั้นอ่านหนังสือน้อยนับเป็นบรรทัดต่อวันไม่กี่คำโดยเฉลี่ย แม้ว่าประเทศไทยจะรายงานว่ามีผู้รู้หนังสือมากขึ้นก็ตาม แต่การรู้หนังสือแบบไม่สมบูรณ์ เท่าที่ทราบนักเรียนที่จบระดับประถมไปเข้าศึกษาต่อโรงเรียนมัธยม มีหลายโรงเรียนที่จะต้องจัดให้มีการเรียนการสอนเสริมในเรื่องอ่านออกเขียน ได้อยู่อีก เพราะไม่สามารถอ่านหนังสือได้คล่องเท่าที่ควรจะเป็น และมี เปอร์เซ็นต์สูงขึ้น อันแสดงให้เห็นว่าการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเรามีปัญหา โดยระบบไม่ได้ใส่ใจผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แท้จริง แต่ก็ไม่มีการซ้ำชั้นสอบผ่านไปตลอด หากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ได้เอาใจใส่ด้วย แล้วไม่ได้ติดตามว่า ลูกๆ ได้เรียนรู้ก้าวหน้าไปถึงไหนแล้วละก็ ก็จะเกิดเป็นวงจรเช่นนี้ไม่สิ้นสุด ซึ้งมองอีกแง่หนึ่งว่าคุณภาพของประชากรเราตกต่ำ หรืออยู่ในภาวะ ยากจนขาดแคลนจนำไม่มีเวลาที่มาเอาใจใส่ในเรื่องนี้


จากข้อมูลตัวเลขที่ทำการวิจัยระหว่างประเทศถึงจำนวนหนังสือที่เมื่อเทียบ กับประเทศเพื่อบ้านเช่นฮ่องกง มาเลเซ๊ย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้จะเป็นดังข้างล่างนี้ซึ่งก็แน่นอนว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มี จำนวนหนังสือต่อประชากร 1000 คนต่ำที่สุด เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว

ฮ่องกง สิงค์โปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย ไทย

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กระบวน การทางวิทยาศาสตร์ (science process) หมายถึงลำดับขั้นตอนการคิด และการกระทำที่ต่อเนื่องจนได้ความรู้ มีองค์ประกอบอื่นๆร่วมด้วยได้แก่ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process skills)


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึงความชำนาญในการคิดการปฏิบัติ เพื่อให้กระบวนการหาความรู้ดำเนินไปจนได้ความรู้ ทักษะดังกล่าวประกอบด้วย

การสังเกต (observation)

การจำแนกประเภท (classification)

ความสัมพันธ์เกี่ยวกับสเปสซ์ (space relation)

การวัด (measurement)

การสื่อความหมายข้อมูล (communication)

การพยากรณ์ (prediction)

การลงความเห็นหรืออนุมาน (inference)

การนิยามเชิงปฏิบัติการ (operation definition)

การคำนวณ (calculation)

การตั้งสมมุติฐาน (hypothesis)

การควบคุมตัวแปร (control variable)

การทดลอง (experiment)

การแปลความหมายข้อมูล (Interpretation)

การมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นเหมือนการปลูกฝังการใช้เครื่องมือในการหาความรู้

การพัฒนาคุณภาพชี่วิต

หลาย ประเทศกล่าวไว้ชัดว่าจะพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมองเห็นว่าจะทำให้ประเทศหลุดพ้นจากความยากจนได้ แต่ความพยายามมักจะก่อให้เกิดปัญหากับหลายประเทศ กลับมีความยากจนลงก็มี แสดงให้เห็นถึง การพัฒนาไม่ถูกทาง จะพัฒนาอะไรก่อนหลังหรือจะไปพร้อมๆ กัน หรือจะต้องจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีควรจะมี


1. กระบวนการแก้ปัญหา (Problem solving) คิดเป็นวิทยาศาสตร์ คือคิดเป็นเหตุเป็นผล (reasoning)

2. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (creative thinking)

3.มีทักษะการสื่อสาร (communication) อธิบายสิ่งที่ค้นพบได้ เขียนรายงานได้

ความเชื่อความศรัธาและอุดมการ

ตามประวัติศาสตร์โลกที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดก็คือยิ่งมีความเจริญมากขึ้น มีอายรธรรมสูงส่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะมีอารยธรรมสูงส่งไปด้วย และด้านที่อ่อนแอที่สุดก็คือด้านจิตใจ ความศรัธา การอุทิศตนยอมตายเพื่ออุดมการณ์ ตามประวัติศาสตร์เราจะเห็นว่าอารยธรรมที่สูงส่งมักจะถูกทำลายด้วยคนที่ด้อย อารยธรรมกว่า ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรกรีก โรม และถ้าสมัยใหม่ขึ้นดังเช่นในกรณีส่งครามเวียตนาม เวียตนามไม่ได้มีอารยสูงส่งอะไร แม้แต่อาวุธยุทธโทปกรณ์จะต่ำต้อยกว่า แต่ด้วยจิตใจที่กล้าเก่งกว่า อุดมการณ์สูงส่งกว่าก็สามารถรบเอาชนะอเมริกา ได้


ประวัติศาสตร์ส่วนนี้คอยย้ำเตือนชาติที่จะรุกราณผู้อื่นอยู่เสมอว่า หากประชาชนมีอุดมการณ์ ก็ยากที่จะไปยึดครองได้อย่างถาวร แม้ว่าจะยึดครองได้แต่จะปกครองไม่ได้ในที่สุด ลัทธิก่อการร้ายที่เกิดขี้นทั่วโลก เป็นจุดที่แสดงถึงการเกิดความไม่พอใจ ความขัดแย้งไม่เห็นด้วยจากการกระทำของคนสองกลุ่มความเชื่อ ที่นำไปสู่การใช้ความรุนแรงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ทำให้รู้สึกว่าการทำลายล้างกันปราศจากเหตุผล คนบริสุทธิ์ถูกทำร้ายทำลาย ถูกลูกหลง คนที่ตัวเองยอมตายเพียงเพื่อให้ได้ทำล้ายล้างฝ่ายที่คิดว่าเป็นฝ่ายตรงข้าม หรือฝ่ายที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาก่อน การที่ยอมเสียสละชีวิตตัวเองได้ เพื่อทำลายผู้อื่นนั้น ไม่น่าจะเป็นหลักของศาสนาใดๆ เพราะแต่ละศาสนานั้นมุงก่อให้เกิดความสงบ แต่ด้วยความเชื่อและศรัธาที่ผิด ซึ่งก่อให้เกิดการทำลายล้างกันเอง เช่นเดียวกับสัตว์ใหญ่อาจจะล่าสัตว์เล็กกว่าเป็นอาหาร

ความสามารถในงาน

โดยทั่วไปความสามารถในงานจะเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการงาน และความสามารถที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคนิค


ความสามารถในงานเป็นความสามารถในการบริหารจัดการงาน เพื่อให้งานสำเร็จลุลวงไปได้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีคุณภาพ ถ้าเป็นผู้บริหารก็ควรที่จะมีความสามารถในงาน สามด้านหลักคือ การคิดเชิงกลยุทธ์ การวางแผน และการมีวิสัยทัศน์ ส่วนความสามารถด้านเทคนิคจะกำหนดขึ้นตามลักษณะของงานและความรับผิดชอบ ตามงานที่รับผิดชอบที่จะมีลักษณะงานแตกต่างกันออกไป

ความสอดคล้องในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

 ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกทีตกต่ำ ที่ทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดลง คนไม่ค่อยมีกำลังซื้อ อัตราการว่างงานสูง เพื่อพิจารณาประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกา ปัญหาเศรษบกิจที่ตกต่ำทำให้คนว่างงานจำนวนมาก ทั้งไทยและอเมริกาต่างก็เลือกที่จะอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล มากขนาดไหนมีคนกล่าวว่ามากขนาดที่มากกว่ารัฐบาลบุชสามปีรวมกันทีเดียว ขณะที่รัฐบาลโอบาร์มาร์คเราก็ ระดมทุนกู้เงินจากภายในประเทศมหาศาลเช่นเดียวกันจำนวนมากเช่นกัน เพื่อนำเม็ดเงินมาใช้ และเกิดการสร้างงาน ไม่ให้ธุรกิจล้ม และดูเหมือนว่ารัฐบาลโอมามาร์คจะได้ผลในแง่ที่คนว่างงานน้อยกว่า

สุภาษิตจีนกับสุขภาพ

สุภาษิตนี้น่าจะเป็นสุภาษิตนิรนาม เช่นเดียวกับสุภาษิตทางการศึกษา ที่เคยปรากฏมีมาหลายอย่าง ที่เกี่ยวกับสุขภาพ การออกกำลังกายที่ กล่าวว่า " ทำให้ร่างกายมีเหงื่อทางร่างกายให้มาก แล้วจะมีเหงื่อทางตาไม่มาก " อันบ่งชี้ให้เห็นว่าการออกกำลังกายให้ได้เหงื่อทุกวัน แล้วโรคภัยไข้เจ็บก็ไม่ค่อยมาแผ่วพาน เรื่องที่จะให้เสียน้ำตาก็จะมีน้อยลงนั่นเอง

กลโกงที่ไม่ธรรมดา

กลโกงที่เหนือชั้น ที่กว่าจะจับได้ไล่ทันบริษัทประกันรถยนต์ก็เสียรู้ไปแล้ว เรื่องมีอยู่ว่ามีกลุ่มบุคคล ที่ได้วางแผนในการโกงด้วยการไปซื้อรถยนต์ใหม่เอี่ยมถอดด้ามและประกันรถยนต์แบบชั้นหนึ่ง แล้วนำรถนั้นไปขายในเขตแดนประเทศเพื่อนบ้านแถวชายแดน แล้วมาเคลมกับบริษัทประกันรถยนต์ โดยแจ้งว่ารถหายที่บริษัทประกันต้องชดใช้ให้ตามกรมธรรม์ กลโกงนี้ได้เงินจากบริษัทเกือบเท่าราคารถเต็มๆ และยังได้เงินจากการนำไปขาย กระบวนการโกงนี้แต่ละคนคงทำได้ครั้งเดียว ในแต่ละครั้งต้องใช้ชื่อบุคคลที่แตกต่างกัน เข้าใจว่าบริษัทประกันก็คงจะแก้ปัญหานี้ได้แล้วในขณะนี้

หลักของฮาร์กินคืออะไร

โดยทั่วไปหลักของฮาร์กิน (Harkin's rule)ได้กำหนดไว้ว่าอะตอมที่มีเลขอะตอมเป็นเลขคู่จะมีปริมาณมากกว่าในจักรวาลมากกว่าอะตอมที่มีเลขอะตอมเป็นเลขคี่ คุณสมบัติทางเคมีของธาตุหนึ่งๆ สามารถดูได้จากเลขอะตอมของธาตุนั้นๆ ซึ่งคือจำนวนของโปรตอนที่มีอยู่ในนิวเคลียสของอะตอม หรือจำนวนอิเลคตรอนที่เคลื่อนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียส

การพัฒนาตารางธาตุ

Dmitri Ivanovich Mendeleyev (1834-1907) เป็นนักเคมีชาวรัสเซีย ซึ่งชื่อเขามักจะเชื่อมโยงกับความสำเร็จที่เป็นที่รู้จักกันดี การพัฒนาตารางธาตุ (periodic table) เขาเป็นนักเคมีคนแรกที่เข้าใจจริงว่าทุกธาตุเป็นสามาชิกที่สัมพันธ์กันของระบบที่เป็นลำดับหนึ่ง เขาได้ทำการเปลี่ยนส่วนที่ได้แยกจากกัน และคาดหวังที่ให้สาขาของวิชาเคมีเป็นวิทยาศาสตร์ที่มีตรรกะอย่างแท้จริง

คุณภาพกับการประกันคุณภาพ

สถาบันอุดมศึกษาโดยทั่วไปมีความเกี่ยวพันธ์กับความมั่งคั่งของประเทศ เพราะสถาบันอุดมศึกษาเป็นขุมกำลังทางปัญญาที่สำคัญของประเทศ ดังนั้นการที่สถาบันอุดมศึกษามีคุณภาพก็เท่ากับช่วยให้ประเทศมีความมั่งคั่งสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศได้ การประกันคุณภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น ว่าการทำอะไรทุกครั้งทุกท่ และทำอะไรให้ดีในครั้งแรกทุกครั้งนั่นเอง นั่นก็คือการทำอะไรในครั้งแรกนั้นย่อมต้องพิจารณาถึง ทำอะไรให้ทันเวลา มีความทันสมัย และความเหมาะสม ทั้งนี้เพราะคุณภาพนั้นมีการแปลเปลี่ยนไปในทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ดีขึ้น


สถาบันการศึกษาของเราจึงต้องมีองค์ความรู้ ทั้งที่พัฒนาขึ้นเองให้เหมาะสมกับการใช้งาน และองค์ความรู้ของผู้อื่นผสมผสานกัน ในการนำความรู้มาใช้นั้นยังต้องการการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยมีคุณภาพมาตรฐานเป็นตัวกำหนด และความรู้ยิ่งใช้ แล้วความรู้ก็เพิ่ม คุณภาพก็เพื่ม และทักษะการปฏิบัติงานก็เพิ่มอีกด้วย นั่นเป็นตัวบงบอกว่า คุณภาพที่แปรเปลี่ยนไปตามอะไร

ผลกระทบการค้าเสรีกับความมั่นคงทางอาหาร

อิทธิพลจากการค้าเสรีใช่ว่าจะส่งเสริมให้มีความมั่นคงทางอาหาร แต่เป็นไปได้ว่า ทำให้การปลูกพืชพื้นเมืองลดลง เพราะผลผลิตทางการเกษตรจากต่างประเทศจากการทำสัญญาการค้าเสรี ได้ทะลักเข้ามาตีตลาดทำให้สิ้นค้าพืชเมืองราคาตกต่ำ เพราะราคาที่ถูกว่าผลไม้พื้นเมืองมาก เช่นองุ่น ทับทิมไร้เมล็ด ราคาถูกว่าเท่าตัว ทำให้เข้าของสวนพืชผลต่างๆ ไม่ค่อยเอาใจใส่ดูแลสวน ปล่อยให้ทรุดโทรม และไม่ปลูกเพิ่ม หรือไม่ก็หันไปปลูกพืชพลังงานแทน ดังนั้นรัฐควรจะมีมาตรการให้มีการปลูกพืชอาหารในส่วนส่วนที่สมดุลกับการปลูกพืชพลังงาน

เบา หวาน หาย เหม็ด คือพืชสมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน

สูตรรักษาโรคเบาหวานด้วยพืชสมุนไพรพื้นบ้านแบบบอกต่อ โดยชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าโรคนี้หายแน่นอน ดังนี้


เบา คือพืชสมุนแรกคือกะถินหรือต้นสะตอเบา

หวาน คือผักหวานเป็นผักพื้นบ้านอีกชนิด

หาย คือต้นหิ้งหาย(ตามเสียงภาษาใต้) มีดอกสีเหลืองเป็นพวงยาวสวยงาม มีฟักเล็กๆ คล้ายถั่ว

เหม็ด คือต้นเสม็ดใช้กิ่งหรือส่วนลำต้น

โดยการนำพืชแต่ละชนิด 5 อย่าง คือใบ ราก ดอก ลูกหรือผล และกิ่ง มาตากแห้งแล้วนำไปต้มกินน้ำดื่ม แล้วอาการของโรคก็จะเป็นไปตามชื่อคือ เบา หวาน หาย เหม็ด(หมด)

เทคนิคการค้นหาในอินเตอร์เน็ต

เครื่องจักรการค้น (search engine) ที่เราคุ้นเคยมากที่สุดคือ google.com หรือ yahoo.com ปกติเมื่อจะค้นหาคำหรือวลีใดก็พิมพ์ลงในช่องสำหรับใส่คำค้นหรือวลีสำหรับค้น เครื่องจักรการค้นทั้งสองดังกล่าวนอกจากจะค้นข้อมูลตามคำและวลี แล้วด้วยหลักการเดียวกันอาจใช้ในการค้นเฉพาะภาพที่เกี่ยวกับคำหรือวลีนั้น

สำหรับการค้นหาข้อมูลขั้นก้าวหน้าขึ้น โดยใช้เครื่องหมายคำพูดและเครื่องหมาย + และ - ให้อยู่ในเครื่องหมายคำพูดเมื่อต้องการค้นให้เหมือนทุกอย่างรวมทั้งช่องว่างโดยไม่แยกคำที่พบ เช่นค้น “การวิจัย บริการชุมชน” ส่วนเครื่องหมาย+ คำหรือวลีที่อยู่หลังเครื่องหมาย+ เป็นการบังคำให้มีคำหรือวลีนั้นอยู่ด้วย นอกจากคำหรือวลีหน้าเครื่องหมาย+ ในอีกทางหนึ่งถ้าใช้เครื่องหมาย - คำหรือวลีที่อยู่หลังเครื่องหมาย- จะหมายถึงเว็บที่ค้นจะไม่มีคำหรือวลีดังกล่าวอยู่ด้วย เช่นคำค้นเป็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี +ฟิสิกส์ หรือคณะวิทยาการจัดการ -วิทยาศาสตร์ (เครื่องหมาย+หรือ-ควรอยู่ห่างจากคำด้านหน้าอย่างน้อยหนึ่งช่องแต่ต้องติดกับคำด้านหลัง)

เทคนิคที่ง่ายๆ อีกวิธีแต่ใช้ได้ผล ต้องการทราบความหมาย หรือสารสนเทศของคำหรือวลีเพิ่มเติมก็เพียงแต่ใส่คำค้น หรือวลีเพียงบางส่วน เช่น….คือ …อยู่ที่ และใช้หลักเดียวกันนี้ในการค้นคำหรือวลีภาษาอังกฤษก็ได้เช่นกัน ส่วนที่เป็น…. คือคำหรือวลีที่ต้องการค้นหา ทดลองใช้ดูนะครับ

ชนิดของผ้าที่สวมใส่

เส้นใยที่นำมาทอเป็นเสื้อผ้าต่างๆ นั่นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือผ้าที่ทำมาจากเส้นใยที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิตหรือเส้นใยสังเคราะห์ และจากเส้นใยที่มาจากสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจากสัตว์หรือพืช ต่างก็นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ


ผ้าที่ทำมาจากเส้นใยสังเคราะห์ จะเป็นพวกโพลีเอสเตอร์ นำมาผลิดเป็นเสื้อผ้าได้หลายรูปแบบเกือบทุกประเภทที่เราใช้สวมใส่ ทั้งเสื้อเชิ้ต กางเกง แจคเก็ต กระโปรง ชุดขั้นใน ชุดกีฬาเป็นต้น มีข้อดีที่น้ำหนักเบา ซักง่าย แห้งเร็ว ไม่จำเป็นต้องรีดถ้าในขั้นตอนซักสบัดและตากให้ไม่มีรอยยับตั้งแต่ต้น ผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์มีข้อดีที่สามารถนำไปหลอมแล้วทำเป็นเส้นใยใหม่กลับมาใช้ใหม่ได้ พวกผลิตภัณฑ์ปลาสติกก็สมารถนำมาใช้ไหม่เป็นเส้นใยสังเคราะห์นำไปทำเสื้อผ้าได้

ผ้าเส้นใยจากสิ่งมีชีวิต เช่นจากพืชเช่นต้นฝ้ายซึ่งมีข้อเสียที่น้ำหนักมากในขั้นตอนการผลิตก่อให้เกิดแกสเรือนกระจกได้ง่าย และในกระบวนการผลิตยังต้องใช้สารเคมีเยอะ ตั้งแต่ปุ๋ยยาฆ่าแมลง และสารฟอกขาว จึงมีทางเลือกอื่นในการใช้เส้นใยจากธรรมชาติจากพวกไม้โตเร็ว ตายยากเช่นใยไผ่ ใยป่าน ที่นำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ผ้าได้หลากหลายเช่นกัน ผ้าหุ่ม ผ้าปูที่นอน อนุภาคของผ้ามีเงากว่า โปร่งกว่า ซักง่าย ใส่สบายกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น เส้นใยที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์ เช่นผ้าไหมจากตัวไหม ผ้าขนสัตว์อื่น (Wool) เช่นขนแกะ โดยเฉพาะผ้าไหมแม้จะตัดเย็บแล้วดูสวยงามแต่ต้องดูแลระมัดระวังเป็นพิเศษ ตั้งแต่การซัก การรีด เป็นผ้าที่ยับง่าย รีดยาก ผ้าขนสัตว์บางชนิดต้องซักแห้งเท่านั้น ผ้าไหมเวลาซักต้องใส่ถุงผ้าตาข่ายอีกชั้น และไม่ต้องปั่นผ้าแห้งเป็นต้น ผ้าเหล่านี้ซักด้วยมือจะเป็นการดีที่สุด และมีเทคนิคในการซักที่แตกต่างกัน เช่นการซักโดยใช้แชมพูสระผม ล้างด้วยครีมนวดผมเป็นต้น

จุดแห่งความสุข

นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ขั้วไฟฟ้าอิเลคโตรด หยั่งไปที่ตำแหน่งศูนย์กลางความสุขในสมองของหนู  ทำให้หนูกดคานมากกว่า 4,8000 ครั้งต่อวัน เพียงเพื่อจะได้รับการกระตุ้นด้วยการช็อคด้วยไฟฟ้าที่จุดแห่งความสุข ซึ่งประหนึ่งว่าทำให้มันสามารถมีความสุขได้  การที่หนูเลือกเพื่อให้เกิดการกระตุ้นที่จุดตำแหน่งนั้นของสมองมากกว่าที่จะ กินน้ำ อาหารหรือการมีเซ็กส์   ยังไม่ทราบว่าหากในกรณีของคน การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าที่ตำแหน่งแห่งความสุขแล้วถึงกับทำให้คนลืมกินน้ำ อาหาร และการมีเซ็กส์จริงหรือไม่  ถ้าเป็นจริง โดยวิธีนี้จะเป็นการบำบัดโรคกินอาหารมากเกินไปได้  โดยการกระตุ้นจุดแห่งความสุขนี้ นอกจากจะมีความสุขแล้วยังช่วยไม่ให้อ้วน เพราะไม่อยากอาหารเลย  ผู้เขียนยังไม่พบรายงานที่ทดลองในคนพบ เมื่อไรก็จะได้มาเล่ากันต่อ

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

กฏข้อที่สองทางเทอร์โมไดนามิก

ในภาษาทางวิทยาศาสตร์กล่าวได้ว่ากฏข้อที่สองใช้ได้กับระบบโดดเดี่ยว และเป็นระบบปิดเท่านั้น  เช่นเครื่องจักร การมีชีวิตเป็นข้อยกเว้นสำหรับกฏข้อนี้ ทุกสิ่งที่มีชีวิตคือระบบเปิดซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม  และยังคงเจริญเติมโตแลมีวิวัฒนาการ  จากหลักเทอร์โมไดนามิกดังเดิมนั้น เราเหมือนกับเห็นด้วยกับหลักการข้อที่สอง อย่างไม่ตั้งใจเมื่อเรามองการสูญสลาย เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือเห็นสังคมกำลังไปสู่ความย่อยยับ หรือเห็นกาลเวลาเป็นเส้นทางไปสู่ความตายที่แน่นอนเด็ดขาด  ถ้าเชื่อเช่นนั้น มันก็ช่วยไม่ได้ที่เราจะอาศัยอยู่กับความกลัวที่จะเปลี่ยนแปลง  ในระบบเปิดนั้น ระบบจะอยู่เป็นคู่หูกับสิ่งแวดล้อม  มีความสามารถดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อมเข้าไปแล้วคายเอนโทรปีออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่อยู่นิ่งเฉย

นักวิจัยกับเด็กในสนามเด็กเล่น

นักวิจัยมีความสุขกับได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรักและชอบ อยู่ด้วยความอยากรู้อยากเห็น  และมีความสุขกับผลการวิจัยที่ได้รับเมื่อมีประโยชน์ต่อผู้อื่น  ในสนามเด็กเล่นทุกแห่งที่เราเก็นปกติแล้วมีเด็กๆ เคลื่อนไหวเล่นอยู่ตลอดเวลา มีพลังที่แสวงหา การผจญภัยอยู่ตลอดเวลา มีพลังแห่งการอย่างรู้อยากเห็น และอย่างเอาใจจดจ่อเช่นเดียวกัน

ประสบการณ์ที่นักวิจัยและเด็กที่แสวงหานั้น อาจเป็นสิ่งที่หลายคนหลีกเลี่ยง ซึ่งมีความไม่สมดุล ความแปลกใหม่ ไม่มีการควบคุม สร้างความประหลาดใจ และแรงบันดารใจ อันล้วนทำให้นักวิจัยและสนามเด็กเล่นมีชีวิตชีวา แต่ก็ได้หลีกเลี่ยงป้องกันสิ่งที่เป็นอันตรายแก่ชีวิต ซึ่งบางครั้งเราก็มองการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่น่ากลัวจนเกินเหตุ จนทำทุกอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย