หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ควอนตัมทางจิต

ไอน์สไตย์เป็นคนแรกที่ชี้ให้เห็นถึงควอนตัมของพลังงานจากการทดลองเรื่องโฟโตอิเลคตริกเอ็ฟเฟ็ค ทำให้ทราบว่าพลังงานมากน้อยของอิเลคตรอนแต่ละอนุภาคขึ้นอยู่กับความถี่แสง พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาไม่ได้มีค่าต่อเนื่อง แต่เป็นค่าเฉพาะพื้นฐานที่เรียกว่าควอนตัมของพลังงาน เป็นหน่วยหรือก้อนพลังงาน ค่าจำกัดค่าหนึ่ง ไม่ใช่เป็นค่าอะไรก็ได้

ในทางจิตตามขันธ์ 5 คือนามขันธ์อันประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร และวิญาณ แต่ระอย่างเป็นองค์ประกอบทางจิต โดยสรุปเวทนาคือความรู้สึก สัญญาคือความจำ สังขารคือความคิด และวิญญาณคือตัวรับรู้ ในกระบวนการของจิต ตั้งแต่อายตนะทั้ง 6 คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เราทราบกันดีตาทำให้มองเห็นภาพ หู้ได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น และกายรับสัมผัส ใจรับอารมณ์หรืออาการของจิต

การที่จะเข้าใจกระบวนการทางจิตต้องทำความเข้าใจการทำงานสัมพันธ์เชื่อมโยงของนามขันธ์ ซึ่งการแตกดับของจิตเกิดขึ้นเร็วมากและจำนวนมากอาจเรียกว่าเป็นดวงจิตที่เกิดขึ้นเร็วมากจนใช้สติตามไม่ทัน ในแง่นี้ก็คือเปรียบเสมือนเป็นควอนตัมของจิต นั่นคือเมื่ออายตนะรับสัมผัสมาก่อให้เกิดความรู้สึกแล้วนั้น ก่อให้เกิดการจำตามด้วยความคิดที่ปรุงแต่งของสังขารเกิดอารมณ์รับรู้โดยวืญญาณ ในการเกิดอารมณ์นั้นรวดเร็วที่มีจิตมารับเห็นเหมือนดังจิตที่เกิดดับมารับเป็นทอดๆ การเกิดอารมณ์ก็เกิดขึ้นที่ละอารมณ์ แต่เพราะเกิดขึ้นเร็วมากจนไม่อาจแยกได้สภาพการเกิดอารมณ์ที่ละอย่างนั้นก็เป็นเสมือนควอนตัมของจิต พอสรุปได้ 3 ขั้นตอนคือ

1 การรับอารมณ์ ดีไม่ดีหรือเฉยๆ โกรธ เกลียดหรือรักชอบ

2 อารมณ์ตั้งอยู่ แปรปรวนอยู่ท่ามกลาง ในขั้นตอนนี้ก็จะปรุงแต่งให้มากขึ้น

ทำให้ไม่สามารถลบออกจากใจได้

3 อารมณ์ดับไป เช่นอารมณ์เดิมดับไป เกิดอารมณ์ใหม่ปรุงแต่งแล้ว ทำให้เกลียดมาขึ้น หลงไหลมากขึ้นก็มีดวงจิตใหม่มารับไป เป็นการปรุงแต่งของสังขาร

จะเห็นว่าการเกิดดับของจิตเป็นวัฏจักร ที่รับอารมณ์ใหม่ที่ละอารมณ์จนเราตามไม่ทันเป็นไปโดยอัตโนมัตินั่นเอง ในการปฏิบัติธรรมนั้นเรามุ่งที่จะควบคุมความคิดหรือสังขารให้เป็นไปในทางที่ดีไม่ปรุงแต่งก็จะทำให้จิตสงบได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น