หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการความรู้

บาทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องคือเทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีการจัดเก็บสื่อข้อมูล และเทคโนโลยีที่ทำให้มีการทำงานร่วมกัน จากเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกันในระดับต่างๆ ได้เข้าถึงความรู้ได้ง่ายและสะดวก รวมถึงการติดต่อสื่อสารกับผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ และแน่นอนว่าการค้นหาองค์ประกอบของความรู้ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในลักษณะต่างๆ สำหรับเทคโนโลยีที่ช่วยให้มีการทำงานประสานร่วมกันในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพลดอุปสรรค์ในด้านเวลาสถานที่และระยะทางลงได้ ส่วนเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บ ได้แก่ระบบฐานข้อมูลควบรวมกับการสื่อสารทำให้สามารถค้นหาและเปลี่ยนความรู้ที่ต้องการในที่ใดๆ ได้สะดวก


ดังนั้นการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความรู้ได้มากกว่าย่อมีโอกาสในการเรียนรู้ที่มากกว่า ดังปรากฏตัวอย่างโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการนำระบบคอมพิวเตอร์ทางการศึกษามาใช้ในโรงเรียนแล้วประสบผลสำเร็จอย่างสูงยิ่ง เช่นโรงเรียนวัดนายโรงฝั่งธนบุรีใกล้ๆ กรุงเทพ ถ้าที่เชียงใหม่ก็อดีตโรงเรียนเก่าของอดีตนายกที่ได้สนับสนุนส่งเสริมจนโรงเรียนที่สักำแพงพุ่งขึ้นมาอยู่เป็นโรงเรียนแนวหน้าของจังหวัดเชียงใหม่ นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด

อินเตอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในการจัดการความรู้เพราะเป็นแหล่งความรู้ที่ใหญ่ที่สุด และเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการค้นหาข้อมูล ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน ไม่ว่าจะเป็นอีเมลล์ บล็อก กระดานข่าว เครื่อข่ายสังคม กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้่ทำได้ดีขึ้น เด็กนักเรียนนักศึกษาอาจถามครู พ่อแม่น้อยลงแต่ถามจากอินเตอร์เน็ตมากขึ้น การเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นเพราะเรียนรู้จากมัลติมีเดียคล้ายสภาพจริงที่ดีกว่าก็ตรงที่ดูซ้ำกี่ครั้งก็ได้เครื่องไม่รำคาญ อินเตอร์เน็ตจึงมีส่วนในการพัฒนาบุคลากรและวัฒนธรรมองค์กร ที่ต้องพัฒนาให้บุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ เพื่อก้าวเข้าสู่องค์กรเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น