หน้าเว็บ

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แง่มุมชีวิตจระเข้กับโคอาลาที่ไม่ธรรมดา

การฝักเป็นตัวของจระเข้
การวางไข่ของจระเข้มักจะขุดและกลบไว้ใต้ดินทราย หลังจากที่ได้วางไข่เป็นเวลา 3 เดือน ไข่จระเข้ก็พร้อมที่จะฝักออกมาเป็นตัว แต่เนื่องจากว่าจระเข้ทารกไม่สามารถที่จะขุดดินทรายที่อยู่ด้านบนออกมาได้ ลูกทารกจระเข้ก็ได้แต่มองลอดออกจากเปลือกไขที่ฟักออกมาเป็นตัวแล้ว คงจะได้ส่งเสียงหรือสัญญาณอะไรบางอย่าง และแม่ของมันที่มาคอยดูแลปกป้องลูกจระเข้ทารกคงจะได้ยินเสียงเรียกร้องจากลุกจระเข้ แม่จระเข้จึงขุดให้ลูกๆ ได้ออกมาเป็นอิสระสู่โลกภายนอก
โคอาลา (Koala)
โคอาลา เป็นสัตว์ในกลุ่มเดียวกับพวกจิงโจ้มีถึงหน้าท้อง หน้าตาคล้ายหมีทำให้คนเข้าใจผิดเรียกว่าหมีโคอาลา แต่จริงๆไม่ใช่พวกหมี เป็นสัตว์อยู่ในทวีปออสเตรเลีย ได้ปรับตัวได้อย่างสมบูรณ์มากอยู่กับต้นไม้ชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ คือต้นยูคาลิปตัส โคอาลาไม่ต้องการอะไรอื่นอีกเลย แม้แต่น้ำก็ไม่ไปหาที่อื่นดูดซึมเอาจากใบยูคาลิปตัส เป็นสัตว์ภาคพื้นดินที่มีน้อยมากที่ไม่หาน้ำเพิ่มเติมจากอาหาร

ความจริงในใบยูคาลิปตัสมีสารพิษ แต่โคอาลาก็มีระบบย่อยไฟเบอร์พิเศษที่มีแบคทีเรียช่วยย่อย ตัวหนึ่งจะกินใบยูคาลิปตัสประมาณ 200- 500 กรัม และโคอาลาเป็นสัตว์ที่นอนมากวันละ 16-18 ชั่วโมงเพื่อประหยัดพลังงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น