หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

ปัญหาการใช้พลังงานจากน้ำ

ในโครงการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแต่ละเขื่อนจะเกิดน้ำท่วม พื้นที่หลังเขื่อนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ก็จะเสียหายตลอดไป  น้ำท่วมจะทำลายป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำอันมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ เกือบทุกสปีชีในบริเวณดังกล่าวหายไปหมด การทำฟาร์ม การล่าสัตว์ การตั้งถิ่นฐานถูกขจัดออกไปหมด  ในบางเขื่อนทำให้น้ำหลังเขื่อนเกิดการปนเปื้นสารพิษ เช่นปรอทจากปริเวณน้ำท่วม นักสิ่งแวดล้อมในหลายที่จึงต่อต้านโครงการสร้างเขื่อนในโครงการต่อๆไปมาก ขึ้น จะยกตัวอย่างเขื่อนที่สร้างแล้วมีผลกระทบรุนแรง ดังเช่นที่

เขื่อน Balbina ในประเทศบลาซิล ที่ทำให้เกิดพื้นที่น้ำท่วมขึ้นจำนวน 1550 ตารางไมล์ ที่เป็นป่าไม้ที่ไม่เคยแผ้วถางมากก่อน ทำให้สัตว์ตายไปจำนวนมากเช่น ลิง เสียจากัว เต่า และปลา ทำลายสปีชีต้นไม้เนื้อแข็งแลต้นไม้ผล  ทำลายที่ทำกินของคนไปนับพันๆคน รวมทั้งพวกชนเผ่าพื้นเมือง ขณะเดียวกันกลายเป็นบริเวณที่เหมาะสำหรับขยายพันธ์เชื้อมาเลเรียโดยยุง ที่เป็นตัวพาหะนำเชื้อโรคไปสู่คน

เขื่อน Namada ในประเทศอินเดียเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการวางแผนกันมา มีชุมชนมากถึง 573 ชุมชนที่ถูกน้ำท่วมประชาชนมากกว่า 1 ล้านคนที่ต้องย้ายที่ทำกิน ขณะที่ป่า และพื้นที่ทำกสิกรรมต้องจมอยู่ใต้น้ำไม้น้อยกว่า 50 ฟิต

จะเห็นว่าเขื่อนแต่ละเขื่อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนิเวศวิทยาของพื้นที่หนึ่งๆตลอดไป ทันที่ที่พื้นที่นั้นถูกน้ำท่วม เราไม่สามารถที่จะสร้างแผ่นดินและสปีชีของสัตว์ขึ้นมาทดแทนได้ ไม่มีทางที่จะบรรเทาความเสียหายของสิ่งแวดล้อมลงได้ ความอยู่รอดขึ้นอยู่กับเครื่อข่ายปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน เราไมสามารถที่จะขุดย้ายพืชสัตว์ชดเชยที่จะถูกทำลายไปปลูกอาศัยที่อยู่ใหม่ในบริเวณอื่น  การทำเช่นนั้นก็ไม่สามารถทำให้อยู่รอดได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น