หน้าเว็บ

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รู้จักและเข้าใจกัมมันตรังสี2

ในบล็อกที่แล้วได้กล่าวถึงว่าสารกัมมันตรังสีได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นธาตุกัมมันตรังสีเช่น เรเดียม ยูเรเนียม พลูโตเนียม โพโลเนียม เป็นต้น เป็นธาตุที่ไม่อยู่ตัวสลายตัวให้รังสีที่เรียกว่ากัมมันตรังสีอยู่ตลอดเวลา จะปลดปล่อยรังสีออกมามากน้อยหรือความเข้มข้นขึ้นอยู่ปริมาณสารกัมมันตรังสีและอัตราการปลดปล่อยรังสีที่เรียกว่าครึ่งชีวิตของสารกัมมันตรังสี ครึ่งชีวิตของสารกัมมันตรังสีหมายถึงระยะเวลาที่ปลดปล่อยรังสีไปแล้วทำให้สารกัมมันตภาพรังสีลดลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งแต่ละธาตุกัมมันตรังสีมีครึ่งชีวิตไม่เท่ากัน บางชนิดมีครึ่งอายุไม่ถึงวันไปจนถึงบางชนิดมีอายุเป็นพันๆ ปี เป็นต้น และที่น่ากลัวก็คือธาตุกัมมันตรังสีหรือสารกัมมันตรังสีที่มีครึ่งชีวิตนานๆ เพราะมันปลดปล่อยรังสีที่เป็นอันตรายไม่มีวันหมดกำจัดก็ยาก

สารกัมมันตรังสีที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้นมีน้อยอยู่กระจัดกระจายจึงไม่เป็นอันตราย หรือมีการปลดปล่อยที่ความเข้มไม่สูงมากนักจึงไม่ค่อยพบคนที่ได้รับอันตรายจากสารรังสีตามธรรมชาติ แต่ที่มีอันตรายมากๆ คือสารรังสีทีมนุษย์สร้างขึ้น เช่นในห้องปฏิบัติการ จากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซึ่งเราสามารถสร้างธาตุใหม่ที่ไม่อยู่ตัวหรือปลดปล่อยสารรังสีออกมาได้ ที่ทำได้ในห้องปฏิบัติการนั้นนั้นมักมีครึ่งชีวิตที่สั้นมากในระดับแค่วินาทีเกิดรังสีอยู่ไม่นานก็หายไป แต่ที่ทำให้เกิดในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูนั้น มักจะได้สารรังสีที่มีครึ่งชีวิตที่ยาวนานขึ้น และมีความเข้มสูง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลพลอยได้ที่เกิดจากเตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นได้ก่อให้เกิดสารกัมมันตรังสีที่เรียกว่ากากนิวเคลียร์ที่ยากต่อการกำจัดเพราะมีช่วงชีวิตที่ยาวนานมาก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปใดเป็นผงฝุ่น เป็นแก๊สหรือของเหลวก็อ้นตรายทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนเกรงกลัวเรื่องรังสีนิวเคลียร์กันมาก ซึ่งในความจริงต้องรับรังสีนี้ในปริมาณที่สูงจึงจะเกิดอันตราย แต่ที่ลักษณะของการตายผ่อนส่งที่ค่อยๆ สะสมในร่างกายเป็นสารก่อให้การทำงานของร่างกายผิดปกติ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงยีนและก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น