หน้าเว็บ

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การป้องกันรังสีนิวเคลียร์

ขณะนี้สาธารณะชนทั่วโลกให้ความสนใจเกี่ยวกับการรั่วไหลของรังสีนิวเคลียร์หรือสารกัมตรังสีที่เล็ดลอดออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากการระเบิดและไฟไฟ้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รังสีนิวเคลียร์ที่ปลดปล่อยออกมาจากสารกัมมันตภาพรังสีนั้น มีสามชนิดหลักคือรังสีอัลฟ่า รังสีเบต้า และรังสีแกมม่า รังสีแอลฟ่าและแกมม่านั้นมีอำนาจทะลุทะลวงน้อยไม่สามารถผ่านแผ่นโลหะ แต่สำหรับรังสีแกมม่านั้นสามารถทะลุทะลวงผ่านร่างกายคนได้โดยคนไม่รู้สึกตัวเมื่อได้รับรังสีปริมาณไม่มากแต่ก็ส่งผลอันตรายต่อร่างกายที่จะทำให้ระบบการทำงานในร่างกายผิดพลาดได้

สาเหตุหนึ่งที่กลัวกันมากก็คือการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีหรือสารรังสี ซึ่งอาจอยู่ในรูปของผงฝุ่น แกส และของเหลว ซึ่งถ้าปนเปื้อนไปกับอาหารก็จะเป็นอันตรายเป็นอย่างมากทำให้ประเทศต่างๆ ต้องตรวจตรากันอย่างละเอียด หากเจอก็คงต้องทำลายนำมาใช้ไม่ได้ การป้องกันทางหนึ่งก็คือต้องรู้ประวัติที่มาของแหล่งอาหารที่อาจมีแนวโน้มในการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี  และหากมาจากแหล่งผลิตที่มีข่าวมีการเจ็บป่วยจากการได้รับสารรังสีก็พึงหลีกเลี่ยงอาหารที่มาจากแหล่งนั้น 

เมื่อเทียบเคียงกับการป้องกันเชื้อโรคไข้หวัดนก หวัด 2009 พิษภัยจากสารกัมมันตรังสีนั้นเข้าทำนองเดียวกับการตรวจหาเชื้อหวัด ว่าแต่ละคนได้รับสารรังสีเข้าไปหรือเปล่าและไปตกค้างอยู่ในร่างกายหรือไม่ ดังนั้นเราจะเห็นว่ามีการใช้เครื่องตรวจจับรังสีวัดคนว่าใครมีสารกัมม้นตรังสีอยู่ในตัวหรือไม่ ถ้ามีอยู่ก็จะมีการปลดปล่อยรังสีออกมาด้วย และคนที่มีปลดปล่อยรังสีออกมาก็ต้องได้รับการเยียวยาทำอย่างไรจึงจะขจัดสารกัมมันตรังสีออกจากร่างกาย หรือถ้ามีอยู่ก็ต้องอยู่ในระดับไม่เป็นอันครายแก่ทั้งตัวเองและผู้อื่น

การป้องกันการแพร่กระจายของสารรังสีจากโรงไฟฟ้า ที่ออกแบบมาอย่างดีสามารถป้องกันไม่ให้รั่งไหลออกมาภายนอกได้  เพราะรังสีแกมม่าที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงสุดแล้วนั้นไม่สามารถจะทะลุผ่านแผ่นโลหะหนาหรือคอนกรีตหนาได้  อย่างไรก็ตามหากเมื่อไรที่มีการฟุ้งกระจาย ก็ต้องดูทิศทางลมว่าพัดไปทางทิศใด ต้องไม่อยู่ในทิศทางที่ลมจะพัดไป แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ให้อยู่แต่ในอาคารปิดประตูหน้าต่างที่ลมอาจจะพัดสารกัมมันตรังสีเข้ามาได้ ส่วนการรับประทานไอโอดีนนั้น ใช้เมื่อได้รับรังสีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เพราะไอโอดีนจะไปสะสมที่ต่อมไทรอย  ปกติเมื่อได้รับรังสีก็จะไปทำลายต่อไทรอยที่ควบคุมการทำงานอื่นๆ ของร่างกาย การรับประทานไอโอดีนไปรวมอยู่ที่ต่อมไทรอยจะทำให้ตอมไทรอยไม่รับรังสีที่เข้ามาทำให้ร่างกายยังทำงานได้ตามปกติ

จากการที่มีการศึกษาเรื่องรังสีนิวเคลียร์ ในขนาดที่ความแรงที่ทำให้คนเสียชีวิตนั้น ขณะเดียวกันพบว่ามีสัตว์บางชนิดเช่นแมลงสาปสามารถอยู่ได้อย่างสบาย  ก็น่าจะได้ศึกษากันว่าแมลงสาปนั้นมีการปรับตัวอย่างไร หรือมีสารใดในตัวแมลงสาปที่สามารถบรรเทาหรือป้องกันรังสีได้  แน่นอนว่าการป้องกันไม่ให้รับรังสีเกินกว่าที่กำหนดเป็นสิ่งที่ดีกว่าแน่นอน แต่ก็ไม่อยากให้กลัวในเรื่องรังสีมากเกินไป เพราะตั้งแต่มีปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นก็ยังไม่มีรายงานว่าประชาชนทั่วไปคนใดได้รับรังสีถึงแก่ชีวิตเลย  ปกติแล้วเราได้รับรังสีจากนอกโลก จากดวงอาทิตย์จากดวงดาวอยู่ตลอดเวลาอยู่ในปริมาณที่รับได้ และเคยตรวจพบว่า มีรังสีที่อยู่ในดินที่มีสารกัมมันตรังสีที่มีส่งผลต่อการเกิดโรคโดยไม่รู้ตัวก็มี  ข้อสังเกตในเรื่องนี้ ที่อาจเป็นไปได้เช่นบริเวณที่ไม่ค่อยมีพืชสัตว์ปรากฏอยู่ หรือเห็นแสงเรืองๆในตอนกลางคืนบ่อยครั้งก็น่าจะมีการตรวจสอบว่ามีสารรังสีปนเปื้อนอยู่บ้างหรือเปล่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น