หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การประเมินผลเชิงคุณภาพและปริมาณ

การประเมินผลเชิงปริมาณ ดูจากความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง โดยรอบว่าพอใจมากน้อยแค่ไหน การทำ Bench mark กับองค์กรที่คล้ายกัน ขนาดองค์กรใกล้เคียงกันใช้เวลาในการทำเท่าๆ กัน โดยประมาณ อาจใช้วิธีตัดเกรดองค์กรให้เกรด A  - F  การทำ Bench mark กับ Best Practice ที่ให้ผลลัพธ์หรือ outcome ผู้บริหารและพนักงานมีความสุขมีผลพลอยได้ (By product) ที่ทุกคนทำงานด้วยความขยันขันแข็ง สามัคคีกันไม่นินทาอิจฉากัน แล้วจะทำให้ ตัวชี้วัดหลัก (KPI) ยกระดับไปในทางที่ดีขึ้น

ในการประเมินเชิงปริมาณ หรือในเชิงผลลัพธ์ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามนโยบาย ที่มีการกำหนดเอ้าพุท  การวัดแบบผลลัพธ์ มองไปที่องค์กรได้กำไรเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนลงได้ มีความพึงพอใจมากขึ้น  ในการวัดเอ้าพุทถือเอาผลประโยชน์ เช่นจากที่ได้จากการจดสิทธิบัตร  ความผิดพลาดลดน้อยลง มีความเผลอเรอลดลง  อัตราการลาออกลดลง โครงการต่างๆ มีมากขึ้น สมัครใจทำงานมากขึ้น งานค้างลดลง ประสิทธิภาพการประชุมดีขึ้น ได้ข้อควรและไม่ควร (Trick & Tip) มีเคล็ดลับมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีการประเมินในเชิงความสำเร็จตามขึ้นตอนที่กำหนดไว้ หากทำได้ตามขั้นตอนจริงถือว่างานนั้นมีคุณภาพ ซึ่งรวมประสิทธิภาพอยู่ด้วย   และการประเมินอีกชนิดหนึ่งคือ การประเมินในเชิงทำได้หรือทำไม่ได้  แน่นอนว่าก็ต้องมีเกณฑ์ต่อไปว่าถ้าทำได้ ในระดับใดจึงจะมีคุณภาพ

ถอดความจากข้อเขียนของ อ.วรภัทร ภู่เจริญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น