หน้าเว็บ

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรื่องคาดไม่ถึงของศาสตร์พันธุกรรม

ปัจจุบันศาสตร์ด้านพันธุ์วิศวกรรมได้รับการยอมรับและนำไปประยุกต์ใช้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของพืชตกแต่งพันธุ์กรรม ในสัตว์ก็คือการจำลองสิ่งมีชีวิตให้เหมือนต้นแบบที่เรียกว่าโคลนนิ่งก็มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง แต่สำหรับผู้ที่เริ่มต้นในศาสตร์ด้านนี้คือวิทยาศาสตร์พันธุกรรม ผลการศึกษาค้นคว้าแม้แต่ผู้คิดค้นก็คาดไม่ถึงจริงๆ เพราะเมื่อเป็นที่เข้าใจเขาก็เสียชีวิตไปแล้ว
กล่าวคือโจฮาน เมนเดลถือว่าพระชาวออสเตรียเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวิทยาศาสตร์พันธุกรรม ที่ว่าคาดไม่ถึงก็เพราะเขาดำเนินชีวิตไปในทางที่เขาเองไม่พอใจและไม่ต้องการ อยากเป็นครูสอนมหาวิทยาลัยแต่ก็สอบเข้ามาทำงานไม่ได้ โดยทางมหาวิทยาลัยมีบันทึกผลการสอบไว้ว่า เขาขาดความชัดเจนในระดับความรู้ลึกและที่จำเป็น เมื่อเมนเดลส่งบนความการทดลองอันเป็นงานบุกเบิกพันธุศาสตร์พิมพ์เผยแพร่ไปยังนักพืชศาสตร์ชาวสวิตส์ก็ยังถูกส่งกลับด้วยข้อคิดเห็นที่เย็นชา เมื่อเขาไม่ได้พิมพงานเผยแพร่ เป็นผลให้เมนเดลล้มเลิกงานทางวิทยาศาสตร์ โดยงานที่สำคัญของเขาไม่เป็นที่เข้าใจจนกระทั่งปี 1900 หรือ 110 ปีมาแล้ว อันเป็นเวลาที่เขาเสียชีวิตไปแล้วถึง 16 ปี
ผลงานของเมนเดลเกี่ยวของกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมในพืช โดยทดลองกับต้นถั่วที่ปลูกเพื่อการทดลองแสดงให้เห็นถึงลักษณะทางกรรมพันธ์ที่เป็นลักษณะเด่นและลักษณะด้วย จากความเรู้เรื่องเหล่านี้นำไปสู่การค้นพบที่ไม่ธรรมดาก็คือยีนหรือสารพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะทางกรรมพันธ์ นำไปสู่การค้นพบรหัสพันธุกรรมมนุษย์ สามารถที่จะตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อประโยชน์ต่างๆ ได้มากมายรวมถึงการจำลองแบบพืชสัตว์หรือโคลนนิ่ง นำไปสู่วิชาใหม่ๆ เช่นพันธุวิศวกรรม ชีวเทคโนโลยี เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น