หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบการเรียนรู้แบบเจนเนอร์เรทีฟ

ตามชื่อมาจากคำว่า Generative learning model คำว่า generative เป็นคำคุณศัพท์ ส่วน generator เป็นคำนามที่แปลว่าเครื่องกำเนิด (ไฟฟ้า) generative จึงเป็นที่สภาพที่กำเนิดหรือที่กำเนิด ดังนั้น Generative learning model จึงเป็นรูปแบบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ รูปแบบกำเนิดการเรียนรู้ เพื่อที่จะเปลี่ยนทัศนะแนวคิดของผู้เรียน ที่เน้นให้ว่านักเรียนจะกระตือรือร้น สร้างหรือก่อกำเนิดความหมายจากประสาทสัมผัสอินทรีย์ (sensory input) ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบนี้นั้น เน้นตามวัตถุประสงค์สามประการ
1.ต้องทำให้ทัศนะของนักเรียนให้ชัดว่าเป็นอย่างไรก่อน

2.ปรับเปลี่ยนทัศนะนักเรียนไปทางทัศนะทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

3.แล้วทำให้ทัศนะทางวิทยาศาสตร์เข้มแข็งมั่นคงขึ้นภายใต้ความรู้พื้นฐานที่นักเรียนมี

สำหรับกระบวนการในการสอนรูปแบบที่กำเนิดการเรียนรู้ กล่าวคือ

ในขั้นแรกเริ่มต้องมั่นใจให้ได้ถึงทัศนะที่มีอยู่ของนักเรียน ในขั้น focus ตามด้วยขั้น challenge หรือท้าทาย และขั้นการประยุกต์ (application) ที่มุ่งไปที่นำเอาทัศนะของนักเรียน เข้าไปอยู่ในแนวเดียวกับทัศนะทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่ยอมรับกัน
generative learning หรือการเรียนรู้ที่กำเนิดขึ้น เป็นทฤษฎีหนึ่งที่เน้นการบูรณาการสื่อใหม่ต่างๆอย่างแข็งขันกับแบบแผนความคิด (schemata) ที่มีอยู่ หรือการเข้าใจแนวคิดที่ผู้เรียนจะต้องบูรณาการอย่างกระตือรือร้นกับข้อมูลสารสนเทศใหม่ เข้ากับความเข้าใจหรือแบบแผนการคิดที่มีอยู่ เป็นข้อตกลงเบื้องต้นหลัก ของรูปแบบการเรียนรู้ที่เรียกว่า “generative learning ” (Wittrock, 1978,1976) ที่กล่าวอีกอย่างว่า การเรียนรู้ทั้งหมดเป็นการค้นพบ (all learning is discovery)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น