หน้าเว็บ

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ศึกษา

ใน งานนำเสนอผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยวทท. วันที่ 26 ช่วงเวลาสั้นๆ หลังเวลาบ่ายโมง ที่ได้ไปฟังบรรยายคุณหญิงสุมนทาเป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์สำหรับผู้เรียนในยุคดิจิทัล ซึ่งความมหัศจรรย์ก็คงจะเป็นผลของการที่ได้นำโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ที่มีการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ให้กับเด็กนักเรียนตั้งแต่ปฐมวัยและประถมศึกษา โดยพบว่าทุกโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการนักเรียนมีความสุขกับการเรียนรู้ ตามโครงการนี้ได้แนวบทเรียนจากประเทศเยอรมัน ท่านได้เล่าว่ามาจากแนวคิดของนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศษที่ได้รับรางวัลโนเบล ได้ทำโครงการวิทยาศาสตร์ในระดับอนุบาลเผยแพร่ไปทั่วโลกหลายประเทศเอาแนวคิด นี้ไปทำ เช่นในเยอรมัน ในออสเตรเลียจะให้ชื่อว่า primary connection เข้าไปดูในเน็ตก็ได้ สำหรับโครงการบ้านวิ่ทยาศาสตร์น้อยได้ขยายออกไปแล้วในประเทศไทยถึง 200 โรงเรียนในขณะนี้ โดยมีศูนย์วิทยาศาสตร์ศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรเป็นฐาน

จากแนวคิดที่การสอนให้เด็กเล็กได้เข้าใจเรียนรู้วิทยา ศาสตร์ตั้งแต่เยาว์วัยนั้น ยิ่งต้องใช้ผู้มีความสามารถ มีความรู้ในการปลูกฝังด้วยความเชื่อว่า ความรู้ที่ได้จะติดตัวเด็กต่อไปตลอดชีวิตทีเดียว และจากโครงการพิสซา ซึ่งเป็นข้อสอบนานาชาติใช้วัดผลการเรียนรู้ของเด็ก จากโครงการนี้ใช้วัดความสามารถทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และด้านภาษา พบว่า ทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษามีความสอดคล้องกันหรือไปด้วยกัน คนเก่งภาษาก็จะเก่งวิทย์คณิต ในทางกลับกันคนเก่งวิทย์คณิตก็จะเก่งภาษาด้วย และจากการทำวิจัยต่อไปตามโครงการพิสซ่าได้ข้อสรุปว่า คุณภาพของการศึกษาไม่สามารถที่จะตัดขาดจากคุณภาพของครู และพบว่าคะแนนพิสซ่าที่ได้มากมาจากการที่ครูได้จัดกิจกรรม ให้มีการพูดคุยกับครูมาก ให้มีการลงมือปฏิบัติจริง (hand on) ให้มีการศึกษาค้นคว้า สืบเสาะหาความรู้ (investigation and inquiry) และเชื่อมโยงกับสิ่งทีนักเรียนรู้จัก และใช้อยู่เป็นประจำ สุดท้ายให้เขาค้นพบและสรุปได้ด้วยตนเอง หน้าที่ของครูไม่ใช่การบอกเล่าอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น