หน้าเว็บ

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

ควันหลงสัมนาวิชาการ ทำแผนที่ทางวัฒนะธรรมภาคใต้

ได้มีโอกาสเข้า ร่วมสัมนา ในครั้งนี้โดยเข้าไปร่วมฟังในประเด็นที่สนใจ เช่นในประเด็นศาสนา ภาษา และที่เกี่ยวข้องอื่นๆ วิทยากรที่เชี่ยวชานเฉพาะทางระดับศาสตราจารย์ก็หลายคน ได้มีโอกาสฟังข้อคิดเห็น และเรื่องหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือ มุมมองด้านประวัติศาสตร์ รู้สึกว่าฟังเพลินเหมือนกับอ่านนิยาย ในแง่มุมที่คาดไม่ค่อยถึง เช่นเหตุผลที่ทำให้พุทธศาสนาหมดไปจากอินเดีย ประเด็นหนึ่งก็คือการที่พยายามจะยกเอาพระพุทธเจ้าเป็นเทพเจ้าเช่นเดียวกับ เทพในศาสนาฮินดู ประการต่อมาคือถูกทำลายล้างเสียราบคาบยากที่จะฟื้นดัว ดังที่เราทราบกันว่าราวศตวรรษที่ 16 สำนักตรรกศิลาทางพุทธศาสนา เช่นที่นาลันทาถูกโจมตีเผาทำลาย เหตุผลหนึ่งที่เหล่านักรบเลือกที่จะโจมตีศาสนสถานก็เพราะว่ามีความอ่อนแอ ไม่มีกำลังต่อสู้ แต่ต่อสู้ด้วยธรรมหรืออหิงสาอย่างไรก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบันว่ามัน หลุดหายไปได้อย่างไร

อีกประเด็นที่พูดคุยกันคือวัด ปราสาท สิ่งก่อสร้างโบราณทังหลาย ใครเป็นต้นแบบใครนั้นก็ยังถกเถียงได้ไม่รู้จบ แต่ก็พอประมวลได้ว่าต้นตำหรับน่าจะอยู่ในอินเดีย แล้วแผ่ออกไปยังอินโดนีเซียที่เป็นเจดีย์ภูเขาบูโรบูดู ซึ่งในภาษาอินโดแปลว่าภูเขาหิน ไทยมาเรียกให้ไพเราะเพี้ยนไปว่า บรมพุทโท กล่าวกันว่า ถ้าอินเดียเป็นพ่อแม่แล้ว บูโรบูดู ก็จะเป็นลูก ส่วนนครวัดนครธมก็จะเป็นหลานส่วนปราสาทหินในประเทศไทยก็น่าจะเป็นเหลน วัดคงจะอยู่เดียวๆ ไม่ได้ก็ต้องคู่กับอาณาจักรหรือคล้ายกับประเทศ บ้างก็ว่ามีอาณาจักรศรีวิชัยเป็นศูนย์กลาง และแม้แต่อาณาจักรศรีวิชัยเอง ทางสุราษฏร์ก็ว่าเป็นศูนย์กลาง นครศรีก็ว่านครน่าจะเป็นศูนย์กลางมากกว่าเพราะเป็นเมืองใหญ่มีความเจริญ สุราษฏร์น่าจะเป็นเมืองรองหรือเมืองที่ขึ้นกับเมืองนครมากกว่า และผู้สันทัดกรณีก็ให้เหตุผลฟังดูน่าเชื่อถือว่า  ถ้าศูนย์กลางจะอยู่ที่สุราษฎร์วัดต้องใหญ่กว่าที่นคร เพราะเมืองเล็กจะสร้างวัดให้ใหญ่กว่าเมืองหลวงเป็นไปได้ยาก และเมื่องหลักเช่นนครก็คงไม่ยอมให้สร้างอะไรที่ใหญ่โตเกินหน้าเป็นแน่ จึงสรุปว่านครเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยมากกว่าที่เป็นสุราษฏร์

พอพูดถึงวัดตอนแรกก็คิดว่าเมืองไทยที่คงมีวัดมากกว่าที่อื่นๆ อลังการมากกว่าที่อื่น จากการพูดคุยก็พบว่าวัดที่อื่นเช่นในพม่าที่พุกาม มีวัดที่ใหญ่โต เจดีนับพัน ไม่ใช่ขนาดเล็กๆ ล้วนใหญ่โตมีให้เห็นมากมาย กล่าวได้ว่าทุกกิโลเมตรจะมีวัดให้เห็นตลอด 
ที่กล่าวมาจะไม่ได้กล่าวถึงแผนที่ ก็ขอพูดถึงสักนิด ซึ่งตามความหมายของแผนที่นั้นก็คงทราบกันดีว่าเป็นที่แสดง ถึงที่ตั้งตำแหน่งทั้งสิ่งของที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์ประดิษฐ์ สร้างขึ้น แผนที่ทางวัฒนธรรมก็คงจะเป็นอะไรก็ตามที่มนุษย์คิดขึ้นที่ใช้อยู่ในวิถี ชีวิตของแต่ละท้องที่ การทำแผนที่ทำให้ทราบถึงวัฒนธรรมของแต่ละถิ่นว่ามีความเป็นมาอย่างไร มีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันอย่างไร และอยู่ในพื้นที่ใด มีการจัดกิจกรรมอะไร เวลาใด และมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับวัฒนธรรมอื่นๆ หรือวัฒนธรรมเดียวกันที่อยู่ในที่ต่างพื้นที่กันอย่างไร แผนที่ทางวัฒนธรรมนี้จะมีประโยชน์ในเเชิงการศึกษา และมีประโยชน์ในทางการท่องเที่ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น