หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

การจัดการความรู้ที่ฝังลึก

ในวงการจัดการความรู้จะแบ่งความรู้ออกเป็นสองกลุ่มคือความรู้ที่ชัดเจน กับความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน ในกรณีแรกเป็นความรู้ที่บันทึกวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนความรู้ที่ฝังลึกนั้นไม่สามารถที่จะเขียนออกมาได้เป็นตัวอักษรได้ทั้งหมด ซึ่งความรู้ประเภทหลังนี้เกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาจนเกิดเป็นทักษะ หรือกล่าวได้ว่าทำงานนั้นๆ ได้โดยไม่ต้องเปิดตำราหรือแต่ใช้ความรู้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความพยายามที่จะทำให้ความรู้ที่ฝังลึกสามารถเข้าใจได้และทำให้ผู้อื่นทำตามได้ หรือกลายเป็นความรู้ที่สืบทอด ปรับปรุงนำไปใช้ต่อได้สำหรับผู้อื่น อาจทำได้โดยการบันทึกพบปะพูดคุย การสอน การฝึกอบรม การส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จากการพบปะสังสรรค์ ประชุม สัมนา อบรม การจัดเวทีต่างๆ ต่างก็เป็นกระบวนการหนึ่งของการจัดการความรู้ ช่วยเปลี่ยนความรู้จากบุคคลหนึ่งให้มาสู่บุคคลอื่นๆ ได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งในกรณีที่ลงมือปฏิบัติด้วยและสามารถทำได้ถือว่าการถอยทอดความรู้ที่ฝังลึกได้ผลดี

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องมาพบปะพูดคุยกันจริงๆ เสมอไป โดยอาศัยความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบไร้พรมแดน ไม่จำกัดสถานที่ เวลา เป็นไปได้สูงที่จะถ่ายทอดความรู้เพราะสามารถจะถ่อนทอดผ่านสื่อดิจิทัลแบบมัลติมีเดีย ด้วยความก้าวหน้าด้านนี้ ทำให้การถ่ายทอดได้เร็ว เมื่อไม่เข้าใจสามารถกลับมาดูใหม่และปฏิบัติตามได้เร็ว

การจัดการความรู้นอกจากจะแลกเปลียนเรียนรู้ทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง และที่ฝังลึก ความรู้แต่ละแบบสามารถจะเปลี่ยนไปมากันได้ ที่ชัดแจ้งอาจพัฒนาไปเป็นความรู้ฝังลึกได้ และความรู้ที่ฝังลึกก็อาจเปลี่ยนเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งได้ ถ้าสามารถที่จะทำให้เข้าใจได้ง่ายโดยทั่วไปจนบันทึกไว้และทำตามได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น