หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำท่วมกับความชื้น

ที่ไหนที่ชื้นเราก็เข้าใจกันว่ามีความเปียกจากน้ำอยู่ด้วยบางครั้งก็เรียกว่าเปียกชื้น บริเวณที่มีความเปียกก็จะชื้นด้วยนั้นก็คือในอากาศบริเวณนั้นมีไอน้ำอยู่มากนั่นเอง ในช่วงที่น้ำท่วมไม่ได้เห็นแสงเห็นตะวันอยู่หลายวัน หากใครตากผ้าค้างอยู่ก็จะเห็นว่ามันไม่ยอมแห้งเสียที ไปจับที่ผ้าดูยังรู้สึกเปียกชื้นอยู่ดี เหตุที่ผ้าไม่ยอมแห้งนั้นก็เพราะน้ำในผ้านั้นไม่ยอมระเหยออกไป เหตุที่ไม่ระเหยก็เพราะเหตุว่าในอากาศมีไอน้ำอยู่มากแล้วไม่สามารถรับน้ำในรูปของไอน้ำจากเสื้อผ้าได้อีก่ก็ทำให้แห้งช้า 

ซึ่งถ้าอธิบายกันตามหลักของฟิสิกส์แล้ว เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิหรือระดับความร้อนที่มีอยู่ ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่าปกติเช่นในช่วงปกติอุณหภูมิจะมากกว่า 30องศาเซลเซียส แต่ในช่วงน้ำท่วมจะมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 20-25 องศา เพราะที่อุณหภูมิต่ำลงไอน้ำที่มีได้สูงสุดในอากาศก็จะลดต่ำลงด้วยก็ทำให้น้ำในเสื้อผ้าที่ตากไว้ระเหยกลายเป็นไอได้น้อยด้วย แต่ถ้าเมื่อไรอุณภูมิสูงขึ้นเมื่อเมฆไม่มาบังแสงแดดก็จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ถ้ายิ่งเอาผ้าไปตากแดดด้วยแล้วก็ผ้าก็จะมีความร้อนไอน้ำก็ระเหยได้ง่าย ผ้าก็จะแห้งความเปียกชื้นก็จะหายไป
การวัดความชื้นในอากาศก็สามารถวัดสองแบบคือวัดหาไอน้ำที่มีอยู่จริงในหนึ่งลูกบาศก์เมตร และการวัดอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่าการวัดความชื้นสัมพัทธ์ โดยเอาจำนวนไอน้ำที่มีอยู่จริงหารด้วยไอน้ำที่มีได้สูงสุดที่อุณหภูมิขนาดนั้น ได้เท่าไรก็จะคูณด้วย 100 ความชื้นส้ัมพันธ์ก็ออกมาเป็นเปอร์เซนต์ ถ้าไอน้ำที่มีอยู่จริงกับจำนวนไอน้ำที่มีได้สูงสุดเท่ากันเมื่อไรความชื้นสัมพัทธ์ก็จะเท่ากับ 100 เปอร์เซนต์นั่นก็แสดงว่าอากาศขณะนั้นไม่สามารถที่จะรับไอน้ำได้อีกต่อไป การวัดความชื้นสัมพัทธ์ทำได้ไม่ยากเพียงใช้เทอร์โมมีเตอร์2ชุดที่เรียกว่าตุ่มเปียกต่มแห้ง วัดค่าแตกต่างของอุณหภูมิแล้วนำมาเทียบในตารางก็จะทราบความชื้นสัมพัทธ์ นักเรียนชั้นประถม มัธยมก็สามารถวัดหาค่าความชื้นสัมพัทธ์นี้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น