หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อย่าเหวงกันดีกว่า

คำว่าเหวงเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อนายแพทย์เหวง โตจิราการ หนึ่งในแกนนำได้เจรจากับนายกรัฐมนตรีและออกทีวีไหทั่วประเทศ แล้วคนที่ได้ยินได้ฟังไม่รู้ใครเป็นคนแรกได้กำหนดศัพท์ใหม่คำว่าเหวง ว่าหมายถึงการพูดไม่รู้เรื่องพูดไม่จริงทำนองนั้นคงมีความหมายมากไปกว่าคำว่าโกหกเฉยๆ


การที่บุคคลใดเหวงบ่อยๆ เป็นอาจินในพระไตรปิฏกได้กล่าวไว้ในทำนองที่ว่า บุคคลนั้นสามารถที่ทำชั่วทำเลวอื่นได้ทุกอย่าง บางคนไม่ฟังให้ดี ก็ตอบสวนมาทันที่ว่าบางเรื่องบางราวก็ต้องมีการโกหกบ้างด้วยเจตนาดี ซึ่งคนที่โกหกด้วยเจตนาดีก็ไม่ใช่คนที่โกหกเป็นอาจินก็คงจะไม่ใช่คนที่ทำชั่วทำเลวอื่นๆได้ทุกชนิดตามพระไตรปิฏกว่า แต่มีอีกประเภทที่มักจะโกหกครึ่งจริงครึ่ง หรือจะยอมรับผิดก็รับครึ่งหนึ่งอะไรทำนองนี้ ก็อาจตีความได้ว่าไม่ได้เหวงเป็นอาจินยังมีประนีประนอมอยู่บ้าง แต่ก็อาจเป็นอันตรายกับตัวเอง ที่ทำให้ขาดความเชื่อถือ และถ้าเป็นสามีภรรยาก็อาจผิดใจกันได้

ถ้านึกถึงการชุมนุมถ้ามีเหวงอยู่บ่อยๆ ก็อาจทำให้เชื่อว่าคนที่พูดบิดเบือน โกหกเป็นประจำนั้นแต่ละคนที่ได้ยินได้ฟังว่าเหวงเป็นประจำหรือไม่ ก็ต้องดูว่ากลุ่มพวกเขาทำชั่วทำเลวอะไรบ้างหรือเปล่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น