หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลักความไม่แน่นอนในวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

หลักความไม่แน่นอนในวิทยาศาสตร์สมัยใหม่นั้น เป็นผลจากความพยายามที่จะทำความเข้าใจพฤติกรรมของสารหรืออนุภาคที่มีขนาดเล็กในระดับโมเลกุล อะตอม หรืออนุภาคที่เล็กกว่า ซึ่งพบว่าเราจะไม่สามารถที่ทำการวัดค่าระยะการเคลื่อนที่ของมัน และค่าปริมาณการเคลื่อนที่หรือโมเมนตัมของมันได้อย่างแน่นอนในขณะเดียวกัน ดังนั้นเมื่อวัดค่าระยะทางได้แน่นอน จะไม่สามารถที่จะวัดค่าโมเมนตัมได้แน่นอน ในการนี้ไม่ได้หมายความว่าจะวัดค่าต่างๆ ได้ไม่ละเอียดหรือมีค่าผิดพลาดมากขึ้น ในความเป็นจริงกลับวัดค่าได้ละเอียดเหมือนกับที่เคยวัดโดยทั่วไป ทำให้ต้องกำหนดว่าจะวัดอะไรให้ละเอียดเท่าใด หรือจะชดเชยกันอย่างไร


ถ้าพิจารณาการวัดวัตถุที่เล็กในระดับอะตอมในการวัดแต่ละครั้ง สิ่งที่ใช้วัดจะไปทำให้สิ่งที่ถูกวัดมีการเปลี่ยนแปลงไปเสมอ ไม่ว่าจะใช้่แสงส่องไปเพื่อจะดู หรือใช้อนุภาคอื่นมากระทบ แล้วดูผลการเปลี่ยนแปลงไปทำให้การวัดได้ไม่แน่นอน มีค่าผิดพลาดเกิดขึ้นเสมอ

และวัตถุที่มีขนาดเล็กในระดับอะตอม นั้นยังสามารถแสดงคุณสมบัติเป็นคลื่นได้อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าทฤษฎีที่เราใช้อธิบายยังไม่สมบูรณ์ยังมีข้อบกพร่องที่อาจก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในการวัดดังกล่าวแล้ว แต่ถ้าคิดว่าเป็นธรรมชาติของสารสามารถคิดให้เป็นได้ทั้งคลื่นและอนุภาคแล้ว เราอาจคิดนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานในชีวิตประจำวันว่า ไม่มีอะไรที่เราสามารถทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สมบูรณ์เพียบพร้อมอยู่ตลอดเวลา หรือมองในองค์รวมจะได้ว่าไม่ว่าเรื่องใดก็มีความสัมพันธ์กัน ขึ้นอยู่กับให้ความสำคัญแตกต่างกันอย่างไรที่เหมาะสม ให้นำหนักกันอย่างไรจึงมีความเหมาะสมเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น