หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เมื่อไปเที่ยวเมืองนิวออลีนส์

ตอนที่ไปเที่ยวเมืองนิวออลีนส์ รัฐหลุยซ์เซียน่า ก่อนที่จะเกิดพายุเฮอริเคนแคทรีน่า ซึ่งนำความเสียหายให้กับเมืองเป็นอย่างมากกว่าจะฟื้นกลับเข้าสู่สภาพเดิมก็เกิดโครงการต่างๆ มากมายที่ช่วยเหลือเมืองนี้ ตอนที่เดินทางไปเมืองนี้นั้นกลุ่มพวกเราเลือกเช่ารถยนต์และขับไปกันเอง ตามเส้นทางที่ไปตอนที่จะเข้าเมืองนี้นั้น ต้องข้ามสพานกลางทะเลไปประมาณยี่สิบไมล์ทีเดียวน่าจะเป็นสพานในทะเลที่ยาวที่สุดในโลกก็ว่าได้


เมืองนิวออลีนเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อทางด้านดนตรีแจส และยังมีการเล่นดนตรีแจสทุกวันโดยใช้สถานที่แสดงแบบดั้งเดิม โดยผู้เข้าชมได้ไม่กี่คน จึงต้องมีการเข้าคิวเข้าชมเป็นแถวยาว แต่เมื่อได้เข้าไปนั่งฟังก็รู้ซึ้งถึงว่าดนตรีอันไพเราะ เจาะหวะแน่น เสียงดนตรีสดใสเป็นอย่างไร เมื่อฟังดนตรีจนจบแล้วยังนึกอยากมาฟังอีกครั้ง ที่บริเวณโรงแสดงดนตรีนั้น มีภาพโปสเตอร์แสดงให้เห็นว่าได้มาแสดงดนตรีที่เมืองไทยในบางช่วง เช่นในวโรกาศครบรอบพระชนพรรษาของพระเจ้าอยู่หัวก็เคยมาเล่น อาจเป็นพระว่าพระเจ้าอยู่หัวของเราก็ทรงมีประปรีชาสามารถทางด้านดนตรีเป็นที่เลื่องลือเป็นที่รู้จักทั่วโลกเช่นกัน

บรรยากาศของเมืองนี้นอกจากจะเป็นที่เล่นดนตรีแจสแบบดั้งเดิมแล้ว ยังมีอื่นๆ ที่น่าสนใจคือว่า ตลอดถนนสาบบอบอน ที่เป็นถนนสายหลัก มีร้านอาหาร และมักมีวงดนตรีแสดง และขายเครืองดื่มประเภทอัลกอฮอล ซึ่งมีอยู่ตลอดเส้นทาง บางร้านก็มีการตกแต่งเป็นที่น่าสนใจ วันนั้นพวกคนไทยผ่านร้านหนึ่ง เห็นรูปผู้หญิงเปลือยแบบศิลปะอยู่หน้าร้านก็ไม่เอะใจอะไร แต่ผู้เขียนสังเกตว่านางแบบในภาพเคลื่อนไหวได้ เมื่อเดินผ่านร้านไปแล้วจึงเล่าให้ฟังกันเพื่อนๆ ที่ไปด้วยกันก็ย้อนกลับมาพิสูจน์อีกที่ คราวนี้ก็เลยรู้ว่าที่เป็นภาพอยู่นั้นคือภาพที่เป็นจริงขณะนั้นมีนางแบบมานอนโพสท่าอยู่จริง และใช้หลักการสะท้อนแสงผ่านกระจกให้มาปรากฏในกรอบภาพด้านล่างของร้าน

อีกเรื่องหนึ่งของเมืองนี้ก็คือบางร้านก็มีเทคนิคเรียกแขกให้เข้ามาในร้านเหล้า โดยการเสนอรางวัลเป็นสร้อยลุกปัดแก่ผู้ที่เดินผ่านหน้าร้าน เนื่องจากถนนทั้งสายขายน้ำเมากัน คนเดินไปมาก็มึนๆ เมื่อได้รับขอเสนอว่าใครถอดเสื้อได้รางวัลทั้งหนุ่มทั้งสาวก็ถอดเสื้อ เชียร์กันให้ถอดเป็นที่สะนุกสะนาน รางวัลที่ได้อาจเป็นตุกตาเครื่องประดับที่ใชในเทศกาลมาลติกา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเฉลิมฉลองแบบสเปน เพราะที่นี้เคยอยู่ในอิทธิพลของสเปนมาก่อน มีตึกรามที่มีศิลปะแบบสเปนก็ยังอนุรักษ์ไว้ ก็มี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น