หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เมื่อบริจาคโลหิตเป็นอย่างไร


ตามคำแนะนำสำหรับผู้ที่จะบริจาคโลหิต ข้อแรกผู้ที่จะบริจาคโลหิตมีสุขภาพดีพอควร และก่อนบริจาคเลือดควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรออกกำลังกายหนักๆ สามารถรับประธานอาหารก่อนบริจาคเลือด ไม่อยู่ระหว่างกินยาปฏิชีวนะ และไม่ถอนฟันก่อนหน้านี้ 3 วันก่อนบริจากคเลือด


ก่อนที่จะเข้ารับบริจาคก็จะต้องมีการกรอกแบบฟอร์ม เช่นอายุ น้ำหนัก และมีเจ้าหน้าที่ตรวจวัดความดันเลือดของเราว่าอยู่ในภาวะปกติหรือไม่ จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะเจาะเลือดเพื่อทดสอบดูว่าเลือดเรามีความเข้มข้นพอที่จะบริจาคเลือดหรือไม่ โดยหยดเลือดของเราลงในสารละลายชนิดหนึ่งถ้าเลือดเราเข้มข้นพอก็จะจมลงในสารละลายนั้น จากนี้เจ้าหน้าที่ก็จะให้ถุงเลือดให้เราถือไปยังเตียง ถุงที่บรรจุเลือดจะมีสามขนาดคือ 300 ซีซ๊ 400 ซีซี และ 500 ซีซี ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค ก่อนที่จะเจาะเลือดที่แขนด้านหน้าที่มีเส้นเลือดใหญ่เห็นได้ชัด จากนั้นก็เช็ดด้วยอัลกอฮอลฆ่าเชื้อ แล้วลงมือเจาะที่เส้นเลือดขณะที่ผู้รับบริจาคนอนอยู่บนเตียงหน้าแขนหงาย ขณะที่ปลายมือมีโฟมหรือฟองน้ำให้ผู้บริจาคบีบเบาๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น (ในขั้นตอนเจาะบางครั้งมีการฉีดยาชาให้ด้วยทำให้ไม่รู้สึกเจ็บขณะบริจาคเลือดภายหลังไม่มีการฉีดยาชาเพราะเขาใจว่าตอนฉีดก็เจ็บพอๆ กับตอนเจาะ)

หลังจากเลือดเต็มขวดแล้วพยาบาล ก่อนที่จะถอดเข็มที่แทงเส้นเลือดออก จะพับสายยางไว้ด้วยคีมหนีบแล้วตัดสายยาง แล้วนำเลือดใส่หลอดตัวอย่างเลือดอีกสองหลอดเล็กๆ เพื่อนำไปทดสอบหาเชื้อเอดส์และโรคอื่นๆ จากนั้นจึงดึงเข็มที่เสียบอยู่ในเส้นเลือดออกแล้วฆ่าเชื้อด้วยอัลกอฮอลที่ซับอยู่ในสำลีผู้บริจาคพับแขนทับ จากนั้นผู้บริจาคควรนอนพักไม่นอยกว่า 10 นาที เพราะถ้ารีบลุกขึ้นจะเกิดอาการหน้ามืดได้ เพราะความดันเลือดเราลดลง

บางคนอาจจะมีภาวะเลือดหยุดช้าเมือเปิดแขนที่เข็มเสียบตอนบริจาค ก็ยังคงมีเลือดไหล อาจจะรู้สึกใจไม่ดีเป็นลมได้ อาการนี้อาจเนื่องมาจากการขาดไวตามินเค ที่เป็นตัวการในการห้ามเลือดถ้ามีอยู่น้อยก็ทำให้เลือดหยุดไหลช้าได้ ดังนั้นควรที่จะบริโภคไวตามินเคเสริมซึ่งมีอยู่ในผักผลไม้ พวกสีเหลือง แดง ในมะละกอ ในฟักทองเป็นต้น ในกรณีเป็นแผลในกระเพาะ ในปอดที่มีเลือดไหล เช่นการถ่ายเป็นเลือดไอจามเป็นเลือด หมอมักจะฉีดยาห้ามเลือดให้เรา ยาห้ามเลือดนั้นก็คือไวตามินเคนั่นเอง และเท่าที่ทราบการฉีดไวตามินเคเข้ากล้ามเนื้อนั้นผู้ที่เคยโดยฉีดจะรู้สึกปวดมากเป็นเวลานานทีเดียว

การบริจาคเลือดนอกจากทำให้เราทราบว่า มีสุขภาพดีเพียงใด ถ้าเลือดไม่ดี สุขภาพไม่ดี เช่นความดันผิดปกติ ความเข้มเลือดไม่พอ จะไม่สามารถบริจาคได้ แต่ท่านที่ได้บริจาคไปแล้วจะมีความสุขใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่นในอนาคต มีความภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และการประกาศเกียรติคุณเมื่อบริจาคหลายครั้งโดยได้รับเข็มจากสภากาชาดไทย หรือครบตามจำนวนจะได้รับพระราชทานเข็มจากสมเด็จพระเทพฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น