หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การพยากรณ์ของหมอดูในสองวัฒนธรรม

เมื่อวานนี้ได้มีผู้วิเคราะห์กันถึงธุรกิจหมอดูที่มีวงเงินเดินสะพัดแต่ละปีถึง 2000 ล้านบาท และเมื่อนึกถึงปีที่ผ่านมาที่เงินหมุนเวียนจากความศรัธาจตุคามรามเทพในวงเงินสพัดถึง 20000 ล้านบาท ที่กล่าวมาแล้วเป็นความเชื่อมั่นและศรัธาของแต่ละคนแต่เมื่อนำมาผนวกกันเป็นมวลรวมแล้วก็ดูเหมือนกับว่าสูงมาก ความเชื่อและศรัธาดังกล่าว ไม่ได้มีอะไรรองรับทางวิทยาศาสตร์ หมอดูอาจจะอ้างหลักสถิติ ความเชื่อความศรัธาก็อาจจะอ้างบุญญาอภินิหารที่ผ่านมานั้นว่ายากที่จะปฏิเสธ แต่ทั้งสองกรณีที่กล่าวมานั้นไม่สามารถที่คำนวณออกมาเป็นตัวเลข หรือพยากรณ์ได้อย่างแน่นอนว่า ถ้ามีเงื่อนไขแบบนี้แล้วจะได้ผลแบบนั้นแบบนี้


หมอดูวิทยาศาสตร์จะได้รับความเชื่อถือในการพยากรณ์มากกว่าและเป็นที่ยอมรับกันเป็นสากล จึงได้รับความเชื่อถือมากกว่าจึงแน่นอนว่าการเงินที่เดินสะพัดจึงมากกว่าสองกรณีที่ยกมาข้างต้นมากมายนักจนไม่อาจเปรียบเทียบกันได้ แต่หมอดูวิทยาศาสตร์ที่ว่านั้นใช้เหตุและผลเชิงประจักษ์ที่สามารถทดลองพิสูจน์ได้ ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดก็จะได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้งไปด้วยความเม่นยำ ถ้าว่าไปแล้วหมอดูวิทยาศาสตร์ก็ไม่ใช่อะไรอื่น ที่จริงแล้วก็คือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ทั้งหลายที่ผ่านการทดสอบ เพราะโดยความหมายของทฤษฎีก็เพื่อที่จะใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์และทำนายหรือพยากรปรากฏการณ์

และที่เห็นได้ชัดธุรกิจเกี่ยวกับความเชื่อและศรัธานั้นไม่จิรังยั่งยืนเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ และในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม ทำงานได้เร็วกว่าเดิม ช่วยให้ชีวิตสะดวกสะบายกว่าเดิม และถือว่าวิทยาศาสตร์ก็เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ที่ตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมที่ไม่่ใช่วิทยาศาสตร์สองอย่างแรก สำหรับผู้เขียนมีความเชื่่อว่ายิ่งวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่าใดวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ก็ลดน้อยลงไปเท่านั้น ฉนั้นการเร่งพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษาในทุกระดับอย่างให้ได้ผลจะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ได้ผลหรือไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควรหรือล้มเหลวก็จะเกิดปรากฏการณ์แบบไม่ใช่วิทยาศาสตร์สองอย่างแรกมากขึ้่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น