หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

มโนทัศน์และธรรมชาติของความรู้

ความรู้ทั้งหลายในโลกนี้สามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทหลักคือ ความรู้เขิงประกาศอันได้แก่ความจริงทั้งหลายที่เรารู้ว่าเป็นอะไร และความรู้เชิงกระบวนการได้แก่ทักษะต่างๆที่เรารู้ว่าทำอย่างไร ในแง่มุมของความรู้เชิงประกาศของสารวัตถุและตามศาสตร์วิชาต่างๆ ประกอบด้วยชุดของมโนทัศน์ที่มีองศาของความซับซ้อน ความเป็นนามธรรม และความสำคัญต่างๆ กันนั้น โดยทั่วไปมองเป็นหน่วยพื้นฐานของคำสอนรายวิชาต่างๆ


มโนทัศน์ (concept) จะเกิดขึ้นได้เมื่อไรก็ตามที่แบ่งแยกความแตกต่างได้ระหว่างวัตถุหรือเหตุการณ์ตั้งแต่ 2 ชนิดหรือมากกว่า ที่ได้จัดกลุ่มหรือแบ่งประเภทไว้ด้วยกัน และจัดไว้แตกต่างจากวัตถุ เหตุการณ์ สถานะการณ์อื่นๆ บนรากฐานของการมีลักษณะรูปแบบหรือคุณสมบัติบางอย่างร่วมกัน

มโนทัศน์สามารถพิจารณาให้เป็นหน่วยของความคิด (unit of thought) ซึ่งคงอยู่ในใจของมนุษย์สามารถนึกคิดออกมาได้ ปกติเราจะใช้คำว่า เทอม (terms) เมื่ออ้างถึงหน่วยความคิดนี้ การสร้างมโนทัศน์หรือการเกิดมโนทัศน์เกี่ยวข้องกับทั้งการจำได้ถึงรูปแบบร่วม หรือลักษณะจากปรากฏการณ์บางอย่างและรวมทั้งเทอมบางเทอม หรือการจัดหมู่ของเทอม (combination of terms)

มโนทัศน์ไม่สามารถที่จะคงอยู่ตามลำพัง แต่มีความสัมพันธ์กันเป็นระบบที่มีความหมาย มักจะมีโครงสร้างตามลำดับชั้น (hierarchical concept)ของมโนทัศน์รองและมโนทัศน์หลัก (subordinate and superordinate: Ausubel,1963; Bruner,1963; Gagne’, 1970: Lason,1958; Novak Gowin and Johansen, 1983) ระบบดังกล่าวเรียกว่า ระบบมโนทัศน์ (conceptual system)

ระบบมโนทัศน์ดังกล่าวเช่นนั้นก็คือก็คือระบบนิเวศ (eco-system) โครงสร้างมโนทัศน์ตามลำดับชั้นประกอบด้วยหน่วยพื้นฐาน เช่นต้นไม้ กบ แสงอาทิตย์และอื่นๆ อยู่ส่วนล่างที่มีระบบนิเวศอยู่ด้านบนของโครงสร้างมโนทัศน์ตามลำดับชั้น ซึ่งเกิดเป็นระบบมโนทัศน์ อันได้แก่ความรู้ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับระบบนิเวศนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น