หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประชาธิปไตยในความหมายที่ควรจะเป็น

ความหมายตามตัวอักษรของประชาธิปไตยนั้นหมายถึงอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เหมือนกับที่ประธานาธิปดีลินคอร์นได้เคยกล่าวไว้ว่าเป็นการปกครองของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน ซึ่งที่เข้าใจกันผ่านทางการเลือกผู้แทน เข้าไปทำหน้าที่แทน ตามความหมายที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) ได้ให้ไว้เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมมีโอกาสในการสร้างสรรค์สังคามร่วมกัน เป็นเหมือนหลักการประชาธิปไตย 3 ข้อคือ


หลักการอิสรภาพ หรือมีเสรีภาพโดยไม่ไปกระทบสิทธิของผู้อื่นในการใช้เสรีภาพ

หลักการเสมอภาค มีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยกชั้นวรรณะ มีความปรองดองสมานฉันท์

หลักการภราดรภาพ หรือความเป็นเอกภาพ เป็นพี่น้อง ความสามัคคีกลมเกลียวกัน

นอกจากนี้ท่านยังได้ให้หลักเพิ่มเติมว่าจะต้องมีธรรมาธิปไตยที่ จะต้องมีคุณธรรม เพราะมีโอกาสที่เป็นไปได้ว่าจะใช้หลักการทั้งสามข้อดังกล่าวไม่ถูกต้องดังที่เราจะเห็นกันได้ว่า มีการใช้เสรีภาพไปในทางที่ผิด ไปในทางที่แย่งชิงผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ดังนั้นหลักการประชาธิปไตย จึงเป็นสังคมที่ชอบธรรม และเป็นธรรม นั่นก็คือมีอิสรภาพ ความเท่าเทียมกัน และมีคุณธรรม

มหาวิทยาลัยมิสซูรีโคลัมเบียที่ผมเคยไปศึกษาเล่าเรียนก็มีปรัชญาที่เป็นข้อหนึ่งของหลักการประชาธิปไตยคือให้โอกาสอย่างเสมอภาค (equal oppurtunity) ก็เคยได้ยินมีคนพูดว่าถ้าเขียนว่าให้โอกาสเท่าเทียมแล้วละก็จริงๆ มันก็ไม่เท่าเทียมหรอก ทำนองนั้นยังมีการแบ่งแยกกันด้วยความแตกต่างกันหลายอย่าง แต่ที่เขียนไว้เช่นนั้นก็เพื่อที่จะเข้าสู่จุดนั้นให้ได้ให้มากที่สุด เช่นเดียวกับหลักการประชาธิปไตย ก็เป็นเหมือนหลักปรัชญาที่จะ เข้าสู่จุดนั้นให้ได้มากที่สุดเช่นกัน การจะเป็นเช่นนั้นได้ ต้องการคนที่มีความรู้ คุณภาพของคนที่จะร่วมไม้รวมมือกัน ช่วยเหลือกันหาทางออกของประเทศ แก้ปัญหาของประเทศอย่างเหมาะสม และช่วยกันสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์และความสงบสุขในสังคม และการที่คนจะมีคุณภาพ มีความรู้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพการศึกษา มิฉะนั้นแล้วเราก็อาจจะได้ยินคำว่า ประชาธิปไตย 1 นาทีเฉพาะเมื่อเข้าคูหาตัดสินใจเลือกผู้แทนเป็นเพียงกิจกรรมเดียวของประชาธิปไตย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น