หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อย่างไรที่คิดว่าประสบการณ์คือความรู้ที่แท้จริง

เราคงเคยได้ยินสุภาษิตที่ว่า สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ สิบมือคลำไม่เท่าลงมือทำเอง ไม่ว่าเราได้ยินได้ฟังอะไรมาถึงจะรู้อย่างไร ในสิ่งเดียวกันก็ไม่เท่ากับการเห็นด้วยตา และยิ่งได้ลงมือทำด้วยแล้วก็จะได้ความรู้ที่ลึกซึ้งกว่าในสองประการแรก และถ้าได้ทั้งฟังได้ยินและได้ลงมือทำด้วยก็ยิ่งได้ความรู้ลึกที่ฝังแน่นขึ้นไปอีก


ไอน์สไตย์เคยพูดว่าประสบการณ์คือความรู้ที่แท้จริง (experience is real knowledge) ทำไมไอน์สไตย์จึงกล่าวเช่นนี้นั้น เพราะไอนสไตย์ได้คิดค้นทฤษฎีหลายอย่างโดยอาศัยคณิตศาสตร์ล้วนไม่ได้เริ่มจากการทดลองปฏิบัติ แต่สิ่งที่ไอน์สไตย์ได้คิดไว้ มีผู้นำไปใช้หรือพิสูจน์ให้เห็นจริงภายหลัง ที่เห็นได้ชัดคือทฤษฎีสัมพันธภาพที่ไอนสไตย์สามารถที่จะพัฒนาสูตรการเปลี่ยนกลับไปมาระหว่างสสารกับพลังงานตามสมการ E = m c2

เป็นสูตรที่ใช้คำนวณหาพลังงานจากสสาร แต่คนที่นำสูตรนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติไม่ใช่ไอนสไตย์ เช่นการทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูสำเร็จเป็นครั้งแรกโดย เอนริโก เฟอร์มิ และต่อมาก็มีผู้นำไปประยุกต์ใช้สร้างระเบิดนิวเคลียร์ จะเห็นว่าการนำไปใช้ในทางปฏิบัตินั้นเป็นความรู้ที่แท้จริง เพราะสามารถพิสูจน์ยืนยันการค้นพบทางทฤษฎี และนำไปใช้ได้จริง

ไอน์สไตย์ตระหนักดีว่างานของเขาในทางทฤษฎีหลายอย่าง เช่นการยืนยันว่ามีอะตอมอยู่จริงในบทความที่อาศัยคณิตศาสตร์ในการคำนวณยืนยันการคงอยู่ของอะตอมที่สามารถทำนายจำนวนอะตอมได้จากการศึกษาเรื่องการเคลื่อนที่แบบบราวเนียน ซึ่งต่อมาภายหลังก็มีบุคคลอื่นๆ พิสูจน์ยืนยันให้เห็นในห้องปฏิบัติการ

การค้นพบควอนตัมของพลังงานของแสงในปรากฏการณ์อิเลคตริกเอ็ฟเฟ็ค แม้จะสามารถทดลองยืนยันได้ในขณะนั้น แต่การนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติในรูปต่างๆ ตั้งแต่หลอดภาพทีวี ไปจนเป็นผลให้มีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้ในปัจจุบันก็เป็นผลจากการศึกษาเรื่องปรากฏการณ์โฟโตอิเลคตริกเอ็ฟเฟ็คเป็นฐานทั้งสิ้น และแน่นอนว่าไอนสไตน์ไม่ได้เป็นผู้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่เป็นบุคคลอื่นที่ใช้หลักจากการคิดคำนวณของไอนสไตย์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมไอนสไตน์จึงได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงยิ่ง และด้วยเหตุนี้ไอนไตน์จึงกล่าวว่า ประสบการณ์เป็นความรู้ที่แท้จริง คือต้องนำไปคิดต่อยอดลงมือปฏิบัติให้เห็นจริงใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง

...........................................................................................................................

ผู้เขียน : นายหัสชัย สิทธิรักษ์

แก้ไขล่าสุดเมื่อ : [29-10-2550]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น