หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เข้าใจดิจิทัลอย่างง่าย จากตัวเลขที่ใช้

เราทุกคนใช้เลขอารบิคในชีวิตประจำวัน อันมีตัวเลขอยู่ 10 ตัวคือ 0-9 และเราก็นับเลข 0-10 โดยใช้นิ้วมือตั้งแต่เริ่มหัดนับใหม่ๆ เป็นที่มาของเลขฐานสิบที่นิ้วมือเรามีสิบนิ้วพอดี บางครั้งเมื่อนับเกิน 10 ก็ลงไปนับนิ้วเท้าก็มี เอาเป็นว่าถ้านับเลขฐานสิบได้บวกเลขง่ายๆ ได้ ท่านก็จะเข้าใจเลขฐานอื่นได้ง่ายเช่นกัน เพราะเลขฐานอื่นก็ใช้หลักการเช่นเดียวกัน แต่ง่ายกว่าด้วยซ้ำ ในโลกดิจิทัลใช้หลักของเลขฐานสองมากในการทำงาน เพราะนำไปสร้างวงจรได้ง่าย


เลขฐานสองก็มีตัวเลขเพียง 2 ตัวคือ 0 - 1 เทียบกับฐาน 10 มี 0-9 เมื่อนับถึง 9 นับต่อไปจะเป็น 10 เช่นเดียวกันในเลขฐานสองเมื่อนับถึง 1 แล้วต่อไปก็จะเป็น 10 ดังนั้น 10 ในฐานสองก็คือ 2 ในฐานสิบ แต่ 10 ในฐานสิบก็คือ 10 จากนี้เมื่อเรียงตัวเลขฐานสอง 0 1 10 11 จะเห็นว่ามีแต่เลข 0 และ 1 เท่านั้นจากการนับเลขฐานสอง เราจะได้หลักการบวกเลขฐานสองคือ 0+1 = 1 และ 1+1 = 10 และ 10 + 1 = 11 สรุปหลักการบวกได้ 2 กรณี คือ 0+1=1 และ 1+1 =10 การทดเลขก็เป็นไปเช่นเดียวกับเลขฐานสิบ นับมากขึ้นตัวจำนวนหลักของตัวเลขฐานสองจะมากขึ้น

เมื่อให้เข้าใจการนำไปใช้ในกรณีเลขฐานสองนั้น หลักหนึ่งของตัวเลขฐานสองเรียกว่า บิต (bit) และถือว่าเป็นหน่วยเล็กย่อยที่สุดในการแทนชิ้นข้อมูลเล็กที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งแต่ละหลักของตัวเลขฐานสองอาจเป็นเลข 1 หรือเลข 0 ก็ได้ สามารถที่จะนำสวิตช์ตัวหนึ่งๆ มาใช้แทนข้อมูล 1 บิตได้ ซึ่งให้สวิตเปิดแทนเลข 0 และสวิตช์ปิดแทนเลข 1 ถ้าแทนตัวเลขฐานสองมากกว่า 1 หลักขึ้นไปก็แทนด้วยสวิตช์มากกว่า 1 ตัวขึ้นไป ซึ่งในทางดิจิทัลสามารถจะใช้วงจรทรานซิสเตอร์แทนสวิตช์ได้ไม่ยาก

ดังที่ทราบแล้วเลข 0 และ 1 จะนำมาใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ เช่นเอาเลข 0หรือ1 เรียงกัน 7-8 ตัวแล้วแทนตัวเลขหรือตัวอักขระใดก็ได้ 1 ตัวเรียกว่า 1 ไบต์ (byte) ในกรณีที่แทน 8 บิตเป็นตัวอักขระตัวหนึ่ง จะเรียกว่า 1 ไบต์ หรือ 1 b และ

1024 b = 1Kb, 1024 Kb = 1Mb และ 1024 Mb = 1Gb ซึ่งเป็นหน่วยต่างๆ ที่ใช้วัดขนาดหน่วยความจำที่ใช้ในระบบดิจิทัลที่เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ นั่นเอง รวมทั้งคอมพิวเตอร์ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น