หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเรียกชื่อซีพียู Dual-Core ที่ทำให้สับสน

จากเดิมการพัฒนาซีพียูอันเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ให้มีความเร็วสูงขึ้น โดยการเพิ่มสัญญาณนาฬิกาควบคุมการทำงาน เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงประมาณ 3.5 GHz ในปัจจุบัน ทำให้เกิดความร้อนสูงขณะทำงานดังจะเห็นได้จากมีครีบและพัดลมระบายความร้อนขนาดใหญ่ และทำให้ใช้พลังงานมาก


การพัฒนาซีพียูจึงได้เปลียนหลักการแทนที่จะไปเพิ่มสัญญาณนาฬิกาเพียงอย่างเดียว หรือไม่จำเป็นต้องมีสัญญาณนาฬิกาควบคุมสูงมากนักเพื่อให้ประหยัดการใช้พลังงาน จึงเป็นที่มาการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมไปเป็นแบบที่เหมือนกับมีซีพียูสองตัวต่อขนานกันในซีพียูเดียวกัน ดังที่เรียกกันว่า Dual-Core (หรือซีพียู 2 แกน) และเป็นที่มาของโปรเซสเซอร์ของอินเทล รุ่น เพนเตียม D (D มาจากคำว่า Dual Core) แต่ในการผลิตรุ่นต่อๆ มา ดังที่เขียนกันในสเป็คว่า Core2 DUO คำว่า Core2 นั้นหมายถึงรุ่นที่ 2 ส่วน DUO นั้นหมายถึง Dual-Core ซึ่งบางครั้งก็เขียนว่า DUO Core ก็มี สำหรับซีพียูของ AMD ที่เป็น Dual-Core คือ Athlon 64x2 (x2 จะหมายถึง Dual-Core)

นอกจากนียังมีเทคโนโลยี Hypertrading เป็นการใช้ซีพียูเดียวให้ทำหน้าที่เหมือนกับมี 2 ซีพียูหรือทำให้ระบบปฏิบัติการมองเห็นเป็น 2 ซีพียู ดังนั้นซีพียูที่เป็น Dual-Core ทำให้ระบบปฏิบัติการมองเห็นจำนวนโปรเซสเซอร์มากเป็น 4 ตัว (2 core แต่ละ core มี hypertrading) สำหรับเพนเตียม D มี 2 core แต่ไม่มี hypertrading

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น