หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่องการดำน้ำ

ผู้เขียนเคยกระโดดน้ำสปริงบอร์ดที่สูงจากสระประมาณ 10 เมตรลงไปใสสระที่ลึก 8 เมตร ผลก็คือดำดิ่งไปสู่ก้นสระ และรู้สึกปวดหูแป็ลบ! ขึ้นมาทันทีหลังจากนั้นปวดหู หมอบอกว่าแก้วหูอักเสพบวมและติดเชื้อ ทำให้ผู้เขียนต้องแก้วหูทะลุจากวันนั้นมาถึงวันนี้ ทำให้หมดสิทธิ์ที่จะดำน้ำลึกอีกต่อไป ถ้าจะดำก็ต้องมีเครื่องมืออุดหูอย่างดี ต่อมาภายหลังทราบว่าก่อนที่จะกระโดดน้ำสูงๆ ก็ต้องมีการวอร์ม แช่น้ำ ค่อยๆดำน้ำก่อน สร้างความคุ้นเคยก่อนที่จะกระโดด วันนั้นไม่รู้นึกสนุกยังไงกระโดดเลยโดยไม่ได้วอร์มก่อนก็ได้รับผลดังที่เล่านี้แหละครับ แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนก็ยังสามารถดำน้ำตื้นได้บ้างที่ความดันไม่สูง เพื่อดูปะการังที่เคยไปดูมาแล้วแถวกระบี่และภูเก็ต


การดำน้ำตื้น หรือที่เรียกว่า Snorkeling หรือ skindriving เมื่อดำน้ำก็ไม่จำเป็นต้องดำทั้งตัวจึงสวมเสื้อชูชีพ (life vests)ให้ตัวลอยอยู่ปริ่มน้ำได้แล้วก็สวมหน้ากากดำน้ำที่ติด Snorkel เพื่อใช้หายใจก็พอแล้วครับ แต่สำหรับผู้ที่นิยมดำน้ำลึกจำเป็นต้องมีอุปกรณ์อีกหลายอย่าง และที่สำคัญควรจะไปเข้าคอร์สเรียนกันเลยดีกว่า เพราะมีหลายอย่างที่ต้องเรียนรู้ คงจะไม่เล่าในรายละเอียด

นอกจากหน้ากาก (mask) ไว้สำหรับกันน้ำเค็มไม่ให้เข้าตา แล้วต้องมีตีนกบ (fin) สวมที่เท้าทำให้บังคับทิศทางการเคลื่อนที่ได้ง่าย ถ้าต้องการดำน้ำเป็นเวลานานก็ต้องมีถังออกซิเจนสำหรับหายใจมีท่ออากาศมาที่ปากที่เรียกว่า mouthpiece ความจริงยังมีท่อออกมาหลายท่อ เช่นท่อต่อเข้ามีเตอร์วัดความดัน ท่อต่อเข้ากับเสื้อ BCD (Buoyancy Control Device) ถ้าใช้ก็สะดวกขึ้นไว้ควบคุมการลอยจมได้โดยการเติมอากาศและปล่อยอากาศออกจากเสื้อเป็นต้น ในกรณีไม่ใช้อาจใช้เข็มขัดตะกั่วถ่วงไม่ให้ลอย นอกจากนี้ยังต้องมีชุดที่เรียกว่า Wet suit สำหรับป้องกันการสูญเสียความร้อนเมื่อลงไปที่ระดับลึกๆ เพราะจะเย็นเช่นเดียวกับขึ้นที่สูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น