หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เฉื่อยอันตราย

ปกติแล้วเราเฉื่อยเมื่อ ทำอะไรเชื่องช้า หรือทำแบบซังกะตาย แบบ น่าเบื่อๆ ซึมๆ หรือเหงาๆ อะไรทำนองนั้น เฉื่อยที่จะกล่าวถึงต่อไปในที่นี้เป็นเฉื่อยที่มีอยู่ในธรรมชาติของทุกสิ่งที่มีมวล ที่มีน้ำหนัก รวมทั้งตัวเราด้วยมีธรรมชาติของความเฉื่อยอยู่ในตัว ที่พยายามรักษาสภาพเดิมอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้ารักษาอยู่ไม่ได้ก็ต้องมีอะไรมากระทำกับเรา หรือพลังงานในรูปของแรงที่มากระทำกับเรา พิจารณากรณีง่ายๆ เมื่อขับรถทางโค้ง ก่อนที่จะเลี้ยวเรานั่งในรถเคลื่อนในทิศทางหนึ่งแต่เมื่อรถเลี้ยวจะมีแรงส่งมาให้เราเลี้ยวไปตามรถ


การที่เราเคลื่อนที่เปลียนทิศทางนั่นก็คือมีแรงมากระทำกับเราแล้ว เรามีความเฉื่อยในตัวพยายามหลุดออกจากรถไป แต่ตัวถังรถก็ผลักเราเข้ามาเท่าๆ กับที่ถูกเหวี่ยงออกไปทำให้เรายังคงอยู่ในรถได้ แต่เมื่อไรเกิดความไม่สมดุลย์เช่นรถแหกโค้ง คือตัวรถเองก็มีความเฉื่อยเช่นเดียวกับเรา ก็พยายามเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิมเมื่อแหกโค้งมีแรงไม่พอที่จะดันกลับในทิศที่ต้องการก็เกิดอุบัติเหตุได้ เมื่อรถไปกระแทกกับอะไรและเกิดความเสียหาย คนในรถได้รับบาดเจ็บ รถพังหรือยุบ อันนั่นเป็นเพราะว่าสิ่งที่มากระแทกมีความแข็งแก่รงกว่า ทำให้คนกล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกหัก เพราะสิ่งที่มากขวางกั้นสิ่งที่เราไปกระแทกนั้นพยามหยุดความเฉื่อยของเราด้วยแรงมหาศาลที่กล้ามเนื้อกระดูก และตัวถังรถยนต์ไม่อาจต้านทานได้

ส่วนจะคิดว่ามีแรงมากขนาดไหนก็สามารถคำนวนได้เช่นกัน ถ้าสิ่งขวางกั้นนั้นแข็งแรงจะไม่บุบสลายก็ออกแรกกระทำต่อเราเท่าๆ กับที่เรากระทำกับมัน ได้กล่าวไว้แล้วว่าเมื่อมีความเร่งก็จะมีแรงกระทำ เช่นเดียวกันขณะที่ชนกันได้รับบาดเจ็บนั้นความเร่งจะสูงมาก ความเร็วเปลี่ยนจากความเร็วสูงมาหยุดเป็นศูนย์ทันทีสามารถคำนวณออกมาเป็นตัวเลขแล้วคูณด้วยมวลของเราเองก็จะทราบขนาดของแรงที่กระทำต่อเรา

ที่กล่าวมาทั้งหมดถ้าพูดเป็นกฏทางฟิสิกส์แล้ว ความเฉื่อยก็คือกฏข้อที่ 1 ของนิวตัน การเกิดแรงกระทำเมื่อเปลี่ยนทิศทาง และเปลี่ยนความเร็วเป็นไปตามกฏข้อที่สอง การที่สมดุลย์อยู่ได้ต้องมีแรงกระทำและแรงตอบโต้เท่ากันตามกฏข้อที่สาม เหมือนขับรถไปชนเสา เสาก็ออกแรงตอบโต้เท่ากับที่รถไปชนเสา หรือทีกล่าวว่า action = reaction คล้ายๆ กับแรงมาก็แรงไป

ในชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับกฏทั้งสามข้อนี้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเดิน วิ่งนั่งหรือนอน เมื่อไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับแรงที่มากระทำ เกี่ยวข้องกับความพยายามที่จะเคลื่อนที่ เกี่ยวข้องกับการออกแรง เพราะเราเองทุกขณะก็มีแรงมากระทำกับเราอยู่ตลอดเวลา แต่ด้วยความเคยชินจึงทำให้รู้สึกเหมือนไม่มีอะไรมากระทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น