หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เว็บบล็อก..เครื่องมือจัดการความรู้

ผมได้อ่านหนังเล่มเล็กๆ 2 เล่มเกี่ยวกับการจัดการความรู้ เขียนโดยดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด เล่มแรกชื่อว่าการจัดการความรู้ และเล่มที่สอง การจัดการความรู้ฉบับขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้ หน้งสือทั้งสองเล่มใช้โมเดลปลาทูในการจัดการความรู้ ส่วนหัวปลาเปรียบได้กับวิสัยทัศน์ความรู้ (knowledge vision) ส่วนลำตัวคือการแชร์ความรู้ (knowledge sharing) และส่วนหางคือคลังความรู้ (knowledge asset) ในหนังสือทั้งสองเล่มกล่าวถึงการนำไอซีทีมาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนนักปฏิบัติหรือประชาคมความรู้ในรูปของชุมชนออนไลน์ สำหรับในหนังสือเล่มที่สองใช้ไอซีทีในรูปของเว็บบล็อกเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดทำคลังความรู้ตามโมเดลปลาทูได้


ปกติแล้วในเรื่องการจัดการความรู้นั้นแบ่งความรู้เป็นสองประเภทหลักคือความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit knowledge) และ ความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน (tacit knowledge) ซึ่งสามารถใช้เว็บบล็อกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ทั้งแบบชัดแจ้งและแบบฝังลึกได้ ในหนังสือดังกล่าวได้ยกตัวอย่างว่า ถ้าอยากรู้เกี่ยวการเลือกซื้อกล้องถ่ายรูปครั้งแรกผู้ซื้อ จะดูลักษณะ คุณสมบัติ ใช้เทคโนโลยีอะไรบ้างถือว่าเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์จากประสบการณ์ที่บอกถึงเทคนิคในการทดสอบ การใช้งานที่ต้องสังเกตจากการปฏิบัตินั้นคิดได้ว่าเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ส่วนนี้ของเว็บบล็อกทำหน้าที่ในการแชร์ความรู้ของชุมชน ออนไลน์

นอกจากการแชร์ความรู้แล้วเว็บบล็อกยังเป็นเสมือนคลังความรู้ และเป็นเวบที่สำหรับเผยแพร่ความรู้ได้อีก สำหรับระบบเว็บบล็อกที่ออกแบบให้แยกประเภท จัดหมวดหมู่ความรู้ได้ และสามารถสืบค้นได้รวดเร็ว เป็นเหมือนแหล่งอ้างอิงของความรู้ ที่จะนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเผยแพร่ พัฒนาต่อยอดต่อไป และจากที่จัดหมวดหมู่ความรู้และสืบค้นได้ จึงเป็นเสมือนสารานุกรมที่นำเสนอในรูปมัลติมีเดีย ที่มีศาสตร์ต่างๆ รวมรวมเข้าไว้ด้วยกัน สามารถที่จะดัดแปลงนำไปทำเป็น e-book หรือ หรือหนังสืออิเลคทรอนิกส์ออนไลน์ หรือแม้แต่หนังสือจริงๆ ก็ย่อมได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น