หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เมื่อของเทียมดีกว่าของแท้

ปกติแล้วคำว่าของจริงหรือของแท้จะตรงกันข้ามกับของเทียมหรือของปลอม ซึ่งเราทราบกันดีว่าถ้าเป็นของจริงหรือของแท้แล้วก็ต้องมาจากเจ้าของต้นตำหรับซึ่งจะมีคุณภาพดีกว่าของเทียม ปัจจุบันเราก็เห็นอยู่บ้างแล้วว่าระหว่างของแท้กับของเทียมบางครั้งก็แยกแยะกันยาก


ในกรณีของที่มาจากธรรมชาติเป็นของแท้เพราะหายาก ทำให้ราคาแพงมากเช่นเพ็ชร เคยมีผู้พยายามสังเคราะห์เพ็ชรขึ้นมาจากคาร์บอน แต่ต้นทุนการผลิตสูงกว่าเพ็ชรที่ได้จากธรรมชาติ แต่เมื่อเร็วๆ นี้ได้พัฒนากรรมวิธีให้ในการสังเคราะห์เพ็ชรด้วยต้นทุนที่ถูกลง และเมื่อไปตรวจวัดด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์แล้วการจัดโครงสร้างและตำหนิแทบไม่มี น่าจะน้ำดีกว่า ทำให้มีการพูดถึงกันว่าถ้าไม่ใช่มืออาชีพจริงๆ แล้วจะไม่มีใครแยกแยะได้ว่าอันไหนเป็นเพ็ชรจริงอันไหนเป็นเพ็ชรปลอม ถ้าดูว่าเป็นของแท้น่าจะดูมีรอยตำหนิมากกว่า แต่ต่อไปผู้ซื้ออาจเลือกได้ว่าจะเอาของเทียมสังเคราะห์ หรือจะเอาของแท้ เพราะเมื่อซื้อไปแล้วคนทั่วไปไม่มีใครแยกออก

ถ้ายิ่งสามารถลดต้นทุนในการผลิตเพ็ชรได้อีก คงทำให้เพ็ชรราคาลดลง และถ้าทำให้ราคาใกล้ทองคำเมื่อไหร่แล้ว คงจะเลือกซื้อทองกันมากกว่า ชื้อง่ายขายคล่องราคาไม่ตกมีแต่ขึ้น ทั้งนี้ เพราะยังไม่มีใครสังเคราะห์ทองขึ้นมาจากสิ่งที่ราคาต่ำ เหมือนยุคเล่นแร่แปรธาตุสมัยยุคกลางที่ยังไม่มีใครทำได้ ส่วนใหญ่มีแต่ราคาคุย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น