หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความรับผิดชอบVSภาระรับผิดชอบ

ในยุคที่การทำงานต้องการประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ต้องใช้ความรู้ความสามารถในการทำงาน และความรับผิดชอบมากขึ้น สิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้นก็คือสิ่งที่เรียกว่าธรรมาภิบาล (good governance) เดิมทีเราใช้คำว่า ความรับผิดชอบ (resposibility) ในความหมายทั่วๆ ไปซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไป ก็น่าจะเพียงพอแล้วเพราะ ชื่อก็บอกอยู่กลายๆ แล้วว่ารับผิดเพื่อทำไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม และรับชอบเมื่อทำดี ถูกต้องเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามความรับผิดชอบที่มีธรรมาภิบาลกำกับ มักจะใช้อีกคำหนึ่งคือ ภาระความรับผิดชอบ (accountability) ซึ่งแน่นอนว่าความรับผิดชอบตามความหมายเดิมไม่เพียงพอ จึงต้องมีภาระความรับผิดชอบ ทั้งนี้เพราะการรับผิดชอบเดิมก็แค่รับว่าผิด ว่าชอบแต่ไม่ได้รับผิดชอบผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ทำงานแล้วจะมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหนก็ไม่ต้องไปสนใจมากนัก ก็ถือว่ามีความรับผิดชอบแล้ว


ภาระรับผิดชอบมีผู้ให้นิยามไว้มากมาย เช่น ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (ชัยอนันต์ 2548) หรือเป็นภาระที่จะต้องรับผลการกระทำซึ่งเคยมีผู้ให้ความหมายไว้ว่า ผู้กระทำได้พิจารณาด้วยความรู้ที่ถูกต้องในขณะนั้น และใช้เหตุผลได้ถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนทำให้เกิดผลลัพธ์ได้ตามที่ควรจะเป็น หากไม่เป็นผลที่พึงจะเป็นผู้กระทำต้องรับผิดชอบ ถ้าพิจารณาตามข้อความดังกล่าวนี้ ดูเหมือนว่าแม้ว่าจะใช้ความรู้ถูกต้อง เหตุผลถูกต้องเหมาะสมถูกต้องแล้ว ถ้าผลยังไม่ดีก็ยังต้องรับผิดชอบอยู่ดี การแสดงความรับผิดชอบแม้ว่าจะไม่ได้ผิดก็ตามถือว่าเป็นภาระรับผิดชอบ

ไม่ว่าจะมีผู้ให้คำินิยามไว้อย่างไรจะตรงกับความหมายที่แท้จริงหรือไม่ ผู้เขียนยังเชื่อว่าเป็นแนวคิดที่นำมาใช้ในองค์กรได้ดี และสอดคล้องกับนโยบายที่ปรากฏในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ซึ่งกล่าวถึงหลัก 6 ประการคือหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น