หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

มหาวิทยาลัยใกล้ชิดสังคมกับการวิจัย

การศึกษาที่เราดำเนินอยู่ในปัจจุบันหากไม่เปลี่ยนแล้วจะไม่สามารถป้องกันวิกฤติชาติใดๆได้เลย ซึ่งส่งผลให้ล้าหลังกว่าประเทศอื่นได้ ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มหาวิทยาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องเข้ามาร่วมในกระบวนทัศน์ใหม่ที่สำคัญ ที่จะต้องใช้ความรู้ในทุกิจกรรมของสังคม ไม่ใช่การเข้าไปให้เปล่าหรือให้แต่ฝ่ายเดียว รูปแบบที่สำคัญคือต้องเข้าไปเป็นหุ้นส่วนหรือ พาร์ทเนอร์กัน ผู้เกี่ยวข้องก็ได้ประโยชน์มหาวิทยาลัยก็ได้ประโยชน์จากการทำวิชาการอันเป็นงานประจำอย่างหนึ่งของมหา วิทยาลัย ถือว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกันผ่านทางการปฏิบัติกับชุมชน องค์กรชุมชนท้องถิ่น ห้างร้าน บริษัท กลุ่มสนใจ ความจริงในการนี้ทำให้มหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่อื่นๆด้วย


จากการที่มหาวิทยาลัยได้ใกล้ชิดกับสังคม งานก็ต้องมาก่อนเงิน เมื่องานประสบผลสำเร็จแล้วเงินมักจะตามมาภายหลัง เพราะการได้งาน งานทรัพยากรย่อมตามมาซึ่งจะมาจากผู้ที่ได้รับประโยชน์ มหาวิทยาลัยอาจเข้าไปร่วมแบบมือเปล่าแต่ใช้สมองและปัญญาได้มีโอกาสปรับปรุงความรู้ ส่งผลให้กิจกรรมการเรียนการสอน และการวิจัยดีขึ้นเพราะได้เรียนรู้ตามสภาพจริงมากขึ้น การเรียนรู้ร่วมกันผ่านทางการปฏิบัติ ความรู้จากภายนอกหรือในท้องถิ่นชุมชนความรู้ทางทฤษฎีจะน้อย แต่ทางการปฏิบัติจะเก่ง การเข้าไปร่วมมือจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่ต่างก็ไม่มีที่ผู้ร่วมงานมีท่าทีที่เคารพกัน อาจารย์ นักศึกษาอาจมีความรู้ที่ชัดแจ้งทางทฤษฎีเมื่อแต่ระฝ่ายมาทำงานร่วมกันต่างฝ่ายก็จะเป็นผู้ได้ประโยชน์ โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่จะยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ทุกด้าน การงาน คุณภาพชีวิต โดยมีการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ

ฐานการพูดคุยอยู่ที่การปฏิบัติ แล้วจำทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากตลอดเวลา นักวิชาการได้ประโยชน์ เก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ชาวบ้านได้วิถีชีวิตที่ดีขึ้น การออกไปทำงานร่วมกัน ควรที่จะได้ออกแบบการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ นั่นก็คือจะต้องมีคำถามในการวิจัยตั้งไว้ จะทำให้การเก็บข้อมูลไม่สะเปะสะปะ ได้ข้อมูลมาก็นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปเปรียบเทียบกับทฤษฎีที่มีคุณค่าแล้ว จะมีความใหม่น่าเชื่อถือเกิดขึ้น

คนที่ทำงานกับชุมชนแต่ไม่ได้ผลงานวิชาการนั้น มักใช้วิชาการที่มีอยู่แล้วไม่ได้สร้างวิชการความรู้ใหม่ เพื่อบอกว่าข้อมูลจากการปฏิบัติจริงช่วยเพิ่มยืนยันองค์ความรู้ของโลกอย่างไรบ้าง ขั้นตอนสำคัญคือการวิเคราะห์สังเคราะห์นำไปสู่การเสนอข้อเสนอแนะใหม่ๆ ต้องคัดค้านหรือยืนยันทฤษฎีเก่าให้ได้ว่าถูกต้องเท่าใด ที่เราคิดขึ้นอาจถูกต้องมากกว่าขึ้นอยู่กับบริบทชุมชน ซึ่งการเก็บข้อมูลเชิงบริบทไม่เฉพาะเชิงอธิบาย ต้องตอบคำถาม อย่างไร และ ทำไม ต้องทำให้่มีความเชื่อมั่นออกแบบให้หลักฐานน่าเชื่อถือ



สรุป จากการฟังการบรรยายทางวิชาการ ในงานราชภัฏวิชาการครั้งที่ 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น