หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

จิตกับสมอง

ในทางพุทธศาสนาเรามีความเชื้ออย่างเน้นแฟ้นว่า องค์ประกอบของคนคนหนึ่งก็ต้องมีกายและจิตเป็นของคู่กัน กายที่ไม่มีจิตก็เหมือนกับท่อนไม้ไม่มีความรู้สึกใดๆ จิตที่ไม่มีกายก็คงสภาพอยู่ไม่ได้ ขณะที่การศึกษาทางตะวันตกยังไม่ได้ศึกษาเข้าไปในด้านจิตมากนัก ผลการกระทำทั้งหลายนั้นเนื่องมาจากสมองที่จะควบคุมให้ทำโน่นทำนี้ และแม้แต่จะคิดทำอะไรก็เป็นผลมาจากสมอง เหมือนกับว่าสมองทำให้เกิดจิตอีกที ไม่มีสมองก็ไม่มีจิตอะไรทำนองนั้น


ปัจจุบันแนวคิดทางตะวันออกนั้นมีความเชื่อว่าการกระทำทุกอย่างเนื่องจากจิตไม่เกี่ยวกับสมอง สมองเป็นกลไกทำงานต่อจากจิตอีกทีหนึ่ง เพราะจิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีความคิด อารมณ์ ความรู้สึกที่แตกต่างกัน มีความอยากความต้องการก็ไม่เหมือนกัน สิ่งเหล่านี้เป็นอาการทางจิตไม่เห็นว่าจะเกี่ยวกับสมองตรงไหน ในทางพุทธศาสนาได้แบ่งออกเป็น 5 เรื่องหลักที่เกี่ยวข้องกับกายและจิต โดยเฉพาะสังขารขันธ์เป็นผลการกระทำจากขันธ์ทั้งหมด ซึ่งแบ่งออกเป็นกายสังขาร วิจีสังขาร และจิตสังขาร ซึ่งเป็นความคิดที่เจตนาจงใจที่กระทำทางกาย ทางวาจา และทางจิต รวมแล้วก็เป็นเรื่องของจิต ส้งขารขันธ์เกิดขึ้นก็เพราะมีเวทนา และที่มาของเวทนาที่เป็นเหตุเป็นผลโดยไม่พูดถึงสมองเลย

สำหรับกลุ่มที่อธิบายด้วยสมองที่เห็นได้ชัดหากสมองถูกทำลาย ก็จะทำให้ความคิดความอ่านเสียหายไปเลย หากเสียหายมากก็เหมือนกับคนที่เป็นเจ้าหญิงนิทรา เป็นร่างกายที่มีชีวิตแต่ไม่มีจิตอยู่แล้วคือไม่มีความรู้สึกรับรู้ใดๆ ทั้งสิ้น ในกรณีสมองเสื่อมกลุ่มที่อธิบายด้วยสมองก็บอกว่าสมองบางส่วนเสื่อมสภาพหรือถูกทำลายไปจึงทำให้สูญเสียความจำกลายเป็นคนที่จำอะไรไม่ได้กลับเข้าสู่วัยทารกที่ยังไม่พัฒนา ในทางพุทธศาสนานั้นก็ยังคงอธิบายได้ด้วยขันธ์5 ตามหลักสมุปบาท ความจำที่จำเป็นต่อสติปัญญา แต่ไม่ได้บอกว่าสมองเป็นส่วนทำให้เกิดความคิดและมีความจำ แต่จิตที่พัฒนาแล้วที่ก่อให้เกิดปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสมองทำงานอย่างไรบ้าง ความคิดอันเป็นสังขารส่งผลให้สมองทำงาน หรือสมองส่งผลให้เกิดความคิด ก็แล้วแต่จะเชื่อกันแต่ที่เป็นไปได้ทั้งสองฝ่ายก็คือ กายที่ดีก็ส่งผลต่อความคิดและสติปัญญา ดังเช่นที่พระพุทธองค์ทรงเลิกอดอาหารใช้ทางสายกลางจึงเข้าสู่การตรัสตรู้ที่รู้แจ้งได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น