หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

วิชาการสายรับใช้สังคม

ปัจจุบัน ถือว่าได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานทางวิชาการรับใช้สังคมที่เน้นท้องถิ่น ควบคู่ไปกับวิชาการสายพื้นฐาน ซึ่งอุดมศึกษาสร้างวิชาการทั้งสองสายสุดท้ายก็เพื่อรับใช้สังคม โดยได้รายได้จากการทำงานกับชีวิตจริง ผลงานทางวิชาการสามารถนำไปตีพิมพ์ในวารสารกระแสหลักหรือตามกำหนด นำไปสู่การยอมรับ ความเป็นเลิศ วิชาการสายรับใช้สังคมจะได้ภาคีเครือข่ายรับใช้สังคมโดยใช้ภาคชีวิตจริงในการทำงานกับสังคม


มหาวิทยาลัยได้รายได้จากผู้ได้ประโยชน์ จากชุมชนที่มีเงินมีรายได้ แล้วอุดมศึกษาเราจะเข้าไปชักจูงอย่างไรให้เกิดเป็นผู้ร่วมงานกันแบบพาร์ทเนอร์ (partner) ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน และก่อให้เกิดประโยชน์คุ้มกับเงินได้ผู้ร่วมงานที่มีความเชื่อถือไว้ใจกัน

มหาวิทยาลัยใช้การสร้างสรรค์ที่ตนเองมีในการทำงานรับใช้สังคม โดยร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทำให้มหาวิทยาลัยได้ภาคี ได้เครื่อข่าย ได้ผลงาน ได้รายได้ มีผลตอบแทนให้นักวิชาการสายใหม่ก็คือสายรับใช้สังคม ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าการจัดสรรค์งบประมาณให้สายรับใช้สังคมกับสายพื้นฐานทั่วไปนั้นจะอยู่ในอัตรา 70 ต่อ 30

วิชาการสายสังคมมีธรรมชาติเป็นการประยุกต์ สามารถนำผลไปตีพิมพ์ได้ในวารสารทั่วไปและตามที่กำหนด สามารถวัดความเป็นเลิศจากเกณฑ์ที่สร้างขึ้นเอง การลงเพื่อที่เก็บข้อมูลที่สามารถตอบโจทย์ได้ แม้จะเป็นเพียงข้อมูลเดียวอาจนำมาเขียนได้หลายบทความ ในหลายแง่มุม การทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เงินไม่ได้จำเป็นเสมอไป เงินทุนในโครงการวิจัยจะน้อยแต่สามารถเขียนบทความตีพิมพ์ลงวารสารนานาชาติได้ ซึ่งก็เห็นตัวอย่างมามากแล้ว แนวคิดสำหรับคนที่เขียนบทความบางกลุ่มก็บอกว่า เห็นอะไรก็เป็นบทความ เก็บข้อมูลความรู้เชิงบริบทก็เขียนบทความได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น