ตัวชี้วัดที่ง่ายที่สุดคือ การใช้ส่วนสูงเป็นเซ็นติเมตร ลบด้วย 100 ในกรณีผู้ชาย และ ลบด้วย 110 ในกรณีผู้หญิ่งผลลัพธ์ที่ได้เป็นน้ำหนักสูงสุดที่ควรจะมีได้ เช่นผู้ชายสูง 160 ซม. ลบด้วย 100 จะได้ 60 น้ำหนักไม่ควรเกิน 60 กิโลกรัม ถ้าเป็นผู้หญิงลบด้วย 110 น้ำหนักไม่ควรมากกว่า 50 กิโลกรัม บางคนก็ปรับเอาเอง เอา 105 ลบน่าจะเหมาะสมกว่า สูตรนี้ก็ไม่รู้ที่ไปที่มาว่าใครเป็นคนคิดใช้ครั้งแรก แต่ต้องมีข้อยกเว้นมากเลย เพราะหากเป็นคนที่เตี้ยมากเช่นสูงไม่เกิน 100 ซม. ละก็ ถ้าใช้สูตรนี้น้ำหนักอาจติดลบ โดยสรุปสูตรนี้ต้องใช้กับคนวัยผู้ใหญ่หรือบรรลุนิติภาวะแล้วจะถูกต้องที่สุด ตามสูตรนี้หากเป็นคนอ้วนมากสูง 160ซม. อาจมีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักเกินไปจากระดับที่เหมาะสม 40 กิโลกรัมเป็นต้น และถ้าผมมากเช่นหนักเพียง 40 กิโลกกรัมต่างจากระดับที่เหมาะสม 20 กิโลกรัม ถ้าเป็นแบบนี้ถ้าบำรุงร่างกายรับประทานอาหารให้มากขึ้น
ตัวชี้วัดอีกอย่างหนึ่งคือดัชนีมวลกาย (mass body index) โดยบ่งบอกเป็นค่าตัวเลขจากสัดส่วนค่าน้ำหนักหารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งยิ่งมีค่าสูงมากเท่าใดก็ยิ่งอ้วนมากเท่านั้น ซึ่งมีผู้ทำเป็นตารางเทียบกันว่าผอมหรืออ้วนระดับต่างๆ ดังนี้
นำค่าที่คำนวณได้ มาเปรียบเทียบค่ามาครฐาน ได้คร่าวๆ ดังนี้
ภาวะ
ค่าดัชนีความหนาที่คำนวณได้
ผอม ระดับ 4 < 16.0
ผอม ระดับ 3 16.0-16.9
ผอม ระดับ 2 17.0-18.4
ผอม ระดับ 1 18.5-19.9
ปกติ 20.0-24.9
อ้วน ระดับ1 25.0-29.9
อ้วน ระดับ 2 30.0-39.9
อ้วน ระดับ 3 > 40.0
อีกวิธีหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันคือสัดส่วนของการวัดรอบอกและรอบเอว สัดส่วนระหว่างรอบอกกับรอบเอว นั้นอาจทำให้มองเห็นภาพได้ชัดถึงการมีร่างการสมส่วนด้วยเพราะหากสัดส่วนประมาณ 1 แสดงว่าขนาดของเอวเท่ากับหน้าอก อันแสดงให้เห็นถึงสะเอวใหญ่มีไขมันมากแสดงถึงความอ้วน ในกรณีนี้ถ้าได้ค่ายิ่งมากยิ่งดีแสดงว่าเอวเล็กลงหน้าอกโตขึ้นนั่นเอง วิธีนี้ก็บอกให้ทราบถึงสภาพความอ้วนผอมได้ง่ายกว่าที่ไม่ต้องคำนวณให้ยุ่งยาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น