หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทำไมพื้นที่ปากพนัง หัวไทร นครฯ ปลูกข้าวได้น้อย

เมื่อ 50 ปีกว่าปีมาแล้วปากพนังคือเป้นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เคยเป็นแหล่งปลุกข้าว ดูได้จากมีโรงสีไฟจำนวนมาก จากหลักฐานปล่องโรงสีไฟ และจากทำเลที่ตั้งของอำเภอปากพนังที่เป็นท่าเรือที่เหมาะในการค้าขายด้วยแล้ว จากเวลานั้นถึงเวลานี้การปลุกข้าวก็ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยจนแทบไม่มีพื้นที่ให้ปลูกข้าวได้อีกต่อไปเพราะน้ำเค็มได้รุกเข้ามามากเกินกว่าที่พันธ์ข้าวทั้งหลายจะเจริญงอกงามได้ดี ต้องเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ทนต่อสภาพดินเค็มได้บ้างเช่นปาล์ม
หากเรามาดูสาเหตุว่าเพราะเหตุใดน้ำเค็มจึงรุกเข้ามาในแผ่นดินได้มากมาย การจะอธิบายได้ดีก็ต้องอธิบายถึงระบบนิเวศว่าทุกอย่างล้วนมีความสัมพันธ์กัน ป่าไม้ที่เคยเป็นต้นน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณน้ำจืดที่เคยดูดซับน้ำไว้และทะยอยไหลลงสู่แม่น้ำปากพนังลดลงจากเดิมมาก จากน้ำในช่วงฤดูร้อนหรือหน้าแล้งลดลงจากเดิมที่เคยมีน้ำจืดปีละ 9เดือนลดลงเหลือน้ำจืดเพียง 3 เดือน ส่งผลให้มีน้ำเค็มรุกเข้ามาแทนน้ำจืดได้
ประกอบกับเมื่อมีการทำเพาะเลี้ยงกุ้งชายฝั่งกันมากในช่วงเวลา 30-40 ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนบริเวณที่เคยทำนาข้าวเป็นนากุ้งก็จำนวนหนึ่ง และเมื่อน้ำเค้มรุกเข้าไปในพื้นที่ทำนาแล้ว เมื่อเลิกการเพาะเลี้ยงแล้วเป็นไปได้ยากมากที่จะกลับมาทำนาได้ดังเดิมทำให้พื้นที่ปลูกข้าวยิ่งลดน้อยถอยลงไปอีก
จากนี้จะเห็นว่าการตัดไม่ทำลายป่าต้นน้ำก็ส่งผลให้น้ำทะเลรุกคืบเข้ามาในพื้นที่ที่ทำนาเดิมดังนั้นการป้องกันไม่ให้น้ำทะเลรุกคืบเข้ามามากกว่านี้อย่างหนึ่งที่คนทุกพืืนที่จะต้องช่วยกันรณรงค์ไม่ให้มีการตัดไม้ทำลายป่าจะช่วยกันเฝ้าระวังแจ้งเหตุเตือยภัยกันอย่างไร เพราะทุกคนสามารถช่วยกันดูแลช่วยกันสอดส่อง เพราะแม้เราอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีป่าไม้ แต่อาจได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติได้ ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ตำแหน่งใดก็ต้องช่วยกันรณรงค์ไม่ให้นอกจากไม่ให้ทำลายป่าแล้ว ยังจะต้องรณรงค์ให้ช่วยกันทำให้ป่ามีมากกว่าเดิมอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น