จากที่น้ำท่วมภาคใต้คราวนี้ทำให้หลายฝ่ายได้มาคิดทบทวนกันว่าจะป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วมกันอย่างไร
ทำให้ทราบถึงแนวการป้องกันและแกัปัญหาน้ำท่วมตามแนวพระราชดำริ
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าจะนำมาพิจารณาปฏิบัติ ด้วยหลักการง่ายๆ 3-4
ข้อพอประมวลได้คือ
1)การทำให้น้ำไหลระบายได้สะดวก
ตรงไหนที่มีที่ขวางกั้นน้ำอยู่หรือน้ำไหลติดขัดก็ต้องทำให้ไหลได้สะดวก
ในกรณีนี้จะลดปัญหาน้ำท่วมขังฉับพลันได้ถ้าจะท่วมอยู่ก็ไม่นาน
ใครที่อยู่ที่ซอยประตูขาวหลังรร.อนุบาลและกัลยาณี
พบว่าเมื่อฝนตกหนักน้ำจะท่วมขังทุกปีอย่างน้อย 2-3 วันแต่ปีนี้อาจหนักหน่อยถึง 10
วันทีเดียว
2)ทำให้น้ำไหลช้าในพื้นที่ต้นทาง
หรือทำที่กักเก็บน้ำไว้เป็นระยะหรือทำฝายกั้นน้ำให้น้ำไหลลงมาไม่เร็วเกินไปก็จะทำให้น้ำระบายได้ทัน
ลดการท่วมขังของน้ำได้ การใช้วิธีนี้ยังเป็นการกักเก็บน้ำไว้ในหน้าแล้งได้อีกด้วย
แต่ที่สำคัญต้องไม่ทำลายป่าต้นทาง
3)การเปลี่ยนเส้นทางน้ำไหลเข้าเมือง
เส้นทางน้ำจากเทือกเขานครศรีธรรมราช(เขาหลวง)ส่วนใหญ่เป็นลำคลองที่ผ่านตรงเข้าไปในตัวเมือง
เมื่อฝนตกปริมาณมากก็จะทำให้น้ำท่วมตัวเมืองได้เพราะปริมาณน้ำมากระบายไม่ทัน
หากเปลี่ยนเส้นทางที่เข้าเมืองให้ไหลไปนอกเมืองแทน แต่อย่างไรก็ตามต้องศึกษาผลกระทบกันเสียก่อน
4)การทำแก้มลิงหรือแหล่งรับน้ำ
ในกรณีสำหรับเมืองนครเห็นทีจะยากเพราะที่เคยมีอยู่ก็ถมกลายเป็นเมืองเป็นที่อยู่อาศัยไปหมด
และจะหาที่สร้างแห่งใหม่ก็คงยาก
นอกเสียจากว่าจะรื้อฟื้นหาสถานที่นอกเมืองยอมทุ่มงบประมาณ..ก็ได้แต่ฝัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น