หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การสอนที่บริหารจัดการ 1

โดยผู้ที่นำเสนอในเรื่องนี้ ให้ชื่อว่า Management Teaching ซึ่งขยายความว่ารวมเอา การจัดการ การวางแผน และ และการบริหารเวลา (management, planning and time management โดยคุณครูชุมศรี พรไพพิบัตร โรงเรียนกะบินวิทยา จ.เพชรบุรี ได้ไปนำเสนอเรื่องนี้ในเวทีนานาชาติ ที่ชื่อว่า ICASE ASIAN SYMPOSIUM 2007 จากเอกสารแจกที่เป็นภาษาอังกฤษ มีไฮไลท์เขียนบอกไว้ที่หน้าปกเอกสารนำเสนอว่า I can learn whether there is or whether there isn t teacher in the classroom ซึ่งหมายความว่า ฉันสามารถเรียนรู้ได้ไม่ว่าจะมีครูอยู่หรือไม่มีครูอยู่ในห้องเรียน ซึ่งน่าจะเป็นการเรียนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

การสอนแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการทำงานและการเรียนรู้ของนักเรียนบนฐานการบริหารจัดการ การวางแผน และการบริหารเวลา โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากการกระทำ โดยบทบาทของนักเรียนจะรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม เป็นการเรียนรู้ที่กระตุ้นปลุกเร้าตนเอง ได้ปลดปล่อยแสดงออกถึงความสนใจของนักเรียน เรียนรู้ที่จะทำงานอย่างอิสระมีคุณธรรม เพื่อให้ได้สื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ โดยมีกรอบที่นักเรียนจะได้รับดำเนินการกล่าวคือ

1) การเตรียมโดยกำหนดแนวคิดของนักเรียน

2) วิเคราะห์ปัญหา

3) ค้นหาคำตอบ

4) เลือกแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา

5) เรียนรู้โดยการกระทำ และลงมือทำงาน

6) การรายงาน

นักเรียนสามารถที่จะใช้การทำงาน 2 วิธีด้วยการฝึกหัด ฝึกฝน การระดมพลังสมองด้วยกัน และวิธีการประเมินการทำงานการเรียนรู้ นักเรียนสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวไปใช้กับรายวิชาอื่นๆ และใช้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่นนักเรียนนำสิ่งที่เรียนรู้วิชาเคมีลงสู่ชุมชน เช่นทำโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยอาศัยวิชาเคมี และวิชาอิเลคทรอนิกส์ในการกระจายสื่อการเรียนการสอน หรือโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสลัมไม่ให้มีสารพิษ หรือโครงงานที่ให้นักเรียนสร้างรายได้จากการทำน้ำยาล้างจาน หรือทำโครงงานประหยัดวันละ 1 บาท โครงการประหยัดพลังงาน ด้วยแนวทางดังกล่าวนี้ นักเรียนสามรถที่จะปรับไปสู่การเรียนรู้ทุกอย่างได้โดยตัวของนักเรียนเอง เพราะนักเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการ การวางแผนและการจัดสรรเวลา อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นเป้าหมายสำคัญ

การเตรียมวางแผนโครงงานอย่างกว้างขวาง ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอตามความต้องการของนักเรียน การจัดให้นักเรียนรู้ถึงการเรียนรู้ตลอดเวลา รวมทั้งที่ไม่ได้คาดหวัง และต้องให้นักเรียนทราบการวางแผนการศึกษา เป็นหน้าที่ต้องรับผิดชอบของนักเรียนแต่ละคน

แผนของบทเรียนที่เป็นการสอนที่มีการจัดการ ใช้ 6 ขั้นตอน 10 กิจกรรม คือ

1.ขั้นเตรียม (กิจกรรม 1-5)

2.ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (กิจกรรม6)

3.ขั้นหาวิธีการแก้ปัญหา (กิจกรรม6)

4.ขั้นเลือกวิธีการแก้ปัญหา (กิจกรรม6)

5.ขั้นการลงมือทำ หรือการปฏิบัติ

6.ขั้นรายงาน (กิจกรรม 8-10)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น