หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนวการสืบเสาะหาความรู้ 2

การสืบเสาะหาความรู้ โดยหลักใหญ่ที่ต้องมี

-ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

-ความเชื่อในความเฉียบแหลมของธรรมชาติ วิธีการที่มีเป็นจริงทำได้ ลังเล สงสัย เลียนแบบ เรียบง่าย

-ความรู้ที่เป็นโครงสร้าง ที่ใช้อธิบาย และพยากรณ์ได้ในขณะหนึ่งๆ

นอกจากนี้ Lawson ได้เสนอองค์ประกอบที่สำคัญในการสอนวิทยาศาสตร์ไว้คือ นักเรียนควรจะได้สำรวจปรากฏการณ์ใหม่ ซึ่งการแสดงออกของนักเรียนขึ้นอยู่บนฐานความเชื่อที่ผ่านมา (มโนทัศน์และระบบมโนทัศน์) หรือขั้นตอนวิธีการที่ผ่านมา (ทักษะการคิด) หรือทั้งสองอย่าง การกระทบตอบสนองควรจะนำไปสู่ผลที่ได้ซึ่งยังกำกวมหรือยังเป็นที่ท้าทาย หรือผลที่ขัดแย้งอันไม่สมดุล

คำตอบที่ได้มายังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ยังต้องพิสูจน์ความถูกต้อง หาคำตอบ่ที่ถูกต้องกว่า ด้วยขั้นตอนวิธีที่ดีกว่า ซึ่งควรจะได้สร้างคิดขึ้นโดยนักเรียน หรือนำเข้ามาโดยครู การใช้คำตอบดังกล่าวนั้นเป็นคำตอบชั่วคราวเพื่อทีจะสร้างข้อโต้แย้งใหม่ๆ การทำนาย หรือข้อมูลสารสนเทศใดที่ยอมให้มีการเปลี่ยนความเชื่อเดิมสำหรับการสร้างความเชื่อใหม่ (มโนทัศน์)

เพื่อที่จะปล่อยให้เกิดการปรับความสมดุลด้วยตนเอง สร้างความสมดุลขึ้นมา ซึ่งควรจะจัดโอกาสให้นักเรียนได้ทดสอบที่ขอบเขตที่มโนทัศน์ใหม่หรือขั้นตอนวิธีการที่สามารถประยุกต์ในบริบทที่เพิ่มเข้ามาเพิ่มเติม สถานะการที่ยอมให้นักเรียนได้ตรวจสอบถึงความพอเพียงของความเชื่อที่มี ที่จะนำไปสู่การบังคับให้พวกเขาโต้แย้งเกี่ยวกับการทดสอบความเชื่อเหล่านั้น เป็นตัวกระตุ้นให้ให้เกิดความไม่สมดุลเกิดขัดแย้งขึ้นในใจ การจัดโอกาสให้พวกเขาได้สร้างมโนทัศน์ที่เหมาะสมมากขึ้น และเข้าสู่การเป็นผู้รู้ตัวมีสติมากขึ้นในทักษะการคิด ในการใช้ขั้นตอนวิธีการที่ต้องการสร้างมโนทัศน์

โดยทั่วไปนักเรียนควรได้รับการสอนให้ฝึกปฏิบัติการสืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการเหล่านี้ (ASCD, 1988)

1. กำหนดปัญหา อธิบายเนื้อหาและปรากฏการณ์ที่ศึกษา

2. กำหนดข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในประเด็น กำหนดสิ่งที่เราทราบรู้มาแล้ว

3. สร้างสมมุติฐาน

4. พยายามสร้างตัวเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์กับสิ่งที่เรารู้มาแล้ว

5. พัฒนา หลักการ ทฤษฎี หรือแบบแผนที่เกี่ยวกับที่กำลังศึกษา

6. จากรูปแบบ สมมุติฐานที่ตั้งขึ้น คำทำนาย หรือคำถามที่ตอบ

7. ทดสอบสมมุติฐาน

8. ออกแบบขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (เช่นการทดลอง) ที่นำทางเราไปสู่การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสมมุติฐาน การทำนายหรือการตั้งคำถาม

9. ดำเนินการศึกษาค้นคว้าต่อไปและรวบรวมสารสนเทศ

10. สรุปผลการศึกษา

11. จัดระบบและวิเคราะห์สารสนเทศ หาความสัมพันธ์กับสมมุติฐาน การทำนาย และคำถาม ตรวจเช็คเพื่อดูว่าไปตรงกับสิ่งที่ค้นพบกับสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับปรากฏการที่ศึกษา

12. การหาขอบข่ายซี่งสิ่งที่ค้นพบสามารถที่จะนำมาใช้ในการทำนายปรากฏการณ์อื่น โดยการออกแบบขั้นตอนวิธีทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ

13. การหาว่าการสังเกตใดที่อาจหักล้างกับสมมุติฐาน และออกแบบขั้นตอนวิธีการใหม่ เป็นเหมือนการทดสอบต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น