หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ธรรมชาติความรู้ทางวิทยาศาสตร์4

ผลจากแนวทางที่คนเรียนรู้เกี่ยวกับโลกของพวกเขานั้น กระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ก็คือความรู้เชิงมโนทัศน์หรือเชิงบรรยาย(descriptive knowledge) ขั้นตอนวิธีที่แต่ละคนใช้ให้เกิดความรู้เชิงบรรยายโดยรวมๆเรียกกันว่าความรู้เชิงกระบวนการ(procedural knowledge) เช่นการขโมยความคิดผู้อื่น การอุปนัย การนิรนัย และการอนุมาณหรือลงความเห็น(inference) ฯลฯ รูปแบบการหาเหตุผลหรือกลวิธีทางความคิดเช่นการหาเหตุผลจากเส้นทางที่มากที่สุด (combinatorial reasoning) หรือการสร้างทางเลือกสมมุติฐานอื่นให้ได้มากที่สุด (the generation of combination of alternative hypothesis) การควบคุมตัวแปร (การทดลองในแนวที่การเปลี่ยนตัวแปรอิสระเพียงตัวแปรเดียว) การหาเหตุผลเชิงสัมพันธ์ (correlational reasoning) ที่เปรียบเทียบสัดส่วนที่จะสนับสนุนเหตุการณ์หรือไม่ นั้นฝังตัวอยู่ในกระบวนการนี้


สำหรับขั้นการพัฒนาความรู้เชิงกระบวนการดังปรากฏในทฤษฎีพัฒนาการของเปียอาเจต์ โดยเฉพาะในส่วนการคิดของผู้ใหญ่หรือ การคิดแบบฉบับ (formal operational thought) บุคคลใดที่ที่เข้าสู่ขั้นการพัฒนานี้ของการคิดแบบผู้ใหญ่ เป็นการคิดของแต่ละบุคคลที่ข้ามพ้นปัจจุบันและสร้างทฤษฎีขึ้นเองกับทุกสิ่งทุกอย่าง ลอร์สัน (1984) ได้ตั้งสมมุติฐานในส่วนสำคัญที่เปลี่ยนจากขั้นที่ต่ำกว่าของการพัฒนาไปสู่ขั้นการพัฒนาที่สูงขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของผู้ใหญ่ที่จะถามคำถาม ไม่ใช่เพราะผู้อื่นแต่เพราะตัวเองที่สะท้อนให้เห็นต่อความถูกต้องหรือความไม่ถูกต้องของคำตอบของคำถามดังกล่าวเหล่านั้นในลักษณะการตั้งสมมุติฐานเชิงนิรนัย (hypothetical deductive)

Kuhn, Amsel และ O’Loughlin (1988) ได้ชี้ให้เห็นความสามารถหลัก 3ประการที่ได้มาโดยผู้ใหญ่บางคนคือ

1. ความสามารถที่จะคิดเกี่ยวกับทฤษฎีมากกว่าการคิดเฉพาะกับทฤษฎี ผู้ใหญ่ที่สามารถสะท้อนความคิดเพื่อพิจารณาทฤษฎีทางเลือกอื่น และถามต่อว่าอันไหนที่สามารถยอมรับได้มากที่สุด

2. ความสามารถที่จะพิจารณาหลักฐานที่จะถอนออกจากสิ่งที่แตกต่างออกจากทฤษฎีโดยตัวเอง สำหรับเด็กหลักฐานและทฤษฎีไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้และเป็นเรื่องยากที่สุดที่จะทำให้เกิดขึ้นในห้องเรียน นั่นก็คือคำระหว่าง สมมุติฐาน การพยากรณ์ และหลักฐาน (Lawson, Lawson and Lawson, 1984)

3. เป็นความสามารถที่จะกันการยอมรับหรือปฏิเสธของตัวเองของทฤษฎีเพื่อประเมินอย่างอย่างมีจุดประสงค์ภายใต้การพยากรณ์และหลักฐานอ้างอิง

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ควรจะยอมรับว่าถูกต้อง เฉพาะตราบเท่าที่ยังดูมีเหตุผลภายใต้คำอธิบายและหลักฐานทางเลือกอื่น และหลักฐานที่นำไปสู่พฤติกรรมที่ประสบความสำเร็จในธรรมชาติ แม้ว่าการค้นพบหลายอย่างทางวิทยาศาสตร์ก้าวเข้ามาสร้างนักวิทยาศาสตร์ในขั้นต้นโดยโอกาสหรือบังเอิญ แม้ว่าจะมีเรื่องดังกล่าวปรากฏอยู่ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เกือบทั้งหมดมาจากกลวิธีจากการใช้การคิดเชิงวิทยาศาสตร์ (scientific thinking) การสอนวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ส่วนมากแล้วมุ่งเน้นไปสิ่งที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (process of science) โดยพิจารณาถึงอะไรที่เป็นแก่นกลางของพลังของวิทยาศาสตร์ ที่สามารถอธิบาย และสามารถทำนายปรากฏการณ์ได้จริง บางครั้งการอธิบายและการทำนายเป็นเรื่องหลักเป็นสิ่งเดียวกัน ที่แตกต่างกันก็คือการพยากรณ์เกิดขึ้นก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น และคำอธิบายอาจเกิดขึ้นหลังจากที่ปรากฏการณ์เกิดขึ้น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น