หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎี Schema กับทฤษฎีประสบการณ์เดิม

คำว่า schema หมายถึงโครงสร้างทางความคิดในสมอง (ในทางตะวันออกเกียวข้องกับการรับรู้ของจิตด้วย) โดยมีการจัดระบบข้อมูลความรู้ และประสบการณ์เป็นกลุมข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ในผู้เรียน ซึ่งจะมีประโยชน์ในการจัดการกับข้อมูลใหม่ที่เข้ามา ทำให้คาดคะเน ตีความ ปรับปรุงข้อมูลใหม่ให้สอดคล้องกับโครงสร้างที่มีอยู่แล้ว และประมวลข้อมูลเก่าและใหม่รวมเป็นโครงสร้างใหม่ไว้ใช้ต่อไป เป็นSchema ใหม่ที่มีความซับซ้อนขึ้น

ต่อมาเมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามาอีก ผู้เรียนสามารถที่จะนำข้อมูลสารสนเทศที่จัดระบบใน schema มาคาดคะเนตีความข้อมูลใหม่ต่อไปเรื่อย และโครงสร้างของ schema ก็ปรับปรุงไปเรื่อยๆ เช่นกัน การเรียนรู้ของคนจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีข้อมูลใหม่จากสิ่งใหม่ๆ จากประสบการณ์ใหม่ๆ จากสื่อรูปแบบต่างๆจากการที่ได้ไปพบ ไปเห็น ไปมีส่วนร่วม ไปอ่านไปเขียน ได้ข้อมูลสารสนเทศเพิ่มเติมที่ไปสนับสนุนโครงสร้างที่มีอยู่เดิม ก็จะทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งมากขึ้น

ไม่ว่าจะเรียนรู้เรื่องใดจะต้องมีความรู้เดิมจะต้องมีมากก่อนแล้ว แม้จะเป็นเด็กแรกเกิดก็ตาม ที่ตอบสนองตามสัญชาติญาณแล้วค่อยๆเรียนรู้เพิ่มขึ้น ความรู้เดิมที่มีมาก่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้ามีความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มากเท่าใดก็จะทำให้เรียนรู้ได้เร็วเท่านั้น ดังนั้นทฤษฎีความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมนั้น จึงเป็นทฤษฎีที่อธิบายว่าการจะเรียนรู้อะไรได้ก็ต้องมีความรู้เป็นประสบการณ์เดิมอยู้เสมอ ในที่นี้ก็คือมี schemata หรือ Framework หรือ script หรือมี knowledge structure

เมื่อมนุษย์มีการรับข่าวสารใดมาก็จะมีกระบวนการย่อยประมวล ตีความเพื่อใช้ในการสื่อสารต่อไป สรุปได้ว่าความรู้มีโครงสร้างที่จัดลำดับ จัดกลุ่มอยู่แล้ว ซึ่งแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน ทำให้คนได้รับข่าวสารแล้วตีความได้ไม่เท่ากัน ส่งผลให้เข้าใจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการพัฒนาโครงสร้างความรู้ใน schemata การทำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ใกล้เคียงกันนั้นจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานความรู้ที่มีอยู่แล้วใกล้เคียงกันด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น