หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กฏแห่งกรรมเกิดขึ้นเมื่อใด

กฏแห่งกรรมก็คงเกิดขึ้นมาตั้งแต่เริ่มมี มนุษย์ขึ้นเพียงแต่ไม่มีใครที่จะประกาศให้ทราบ แต่เครื่องหมายบางอย่างอันชี้ให้เห็นถึงกฏแห่งกรรมก็ได้ เช่นสัญลักษณ์ยินและหยาง แทนคูของสิ่งต่างๆ ความดี ความเลว ดำ ขาว มืด สว่าง ถ้ามีการกระทำก็ต้องมีผลของการกระทำ แต่เท่าที่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานชัดเจนในพระไตรปิฏก ที่เป็นรากฐานความเชื่อของชาวพุทธ ที่มีภาวะที่เป็นคู่ ที่เชื่อถือตามกฏแห่งกรรมก็คือ ใครทำความดีย่อมได้ดี ใครทำความชั่วย่อมได้ชั่ว ตามนัยนี้นั้น ความดี ความชั่วเป็นสองสภาวะที่คงอยู่ ซึ่งเรามักจะพูดกันแบบลัดสั้นว่าทำอะไรก็ได้อย่างนั้น ซึ่งเมื่อพิจารณานักคิดค้นต่อมา เมื่อสามร้อยกว่าปีมาแล้ว เซอร์ ไอแซค นิวตัน เป็นผู้ที่เน้นย้ำความคิดกฏแห่งกรรม ในกฏการเคลื่อนที่ข้อที่สามที่ว่่า แรงกิริยาที่กำทำจะเท่ากับแรงปฏิกิริยาตอบโต้ในขนาดที่เท่ากัน เพียงแต่ว่าในกฏของนิวตันนั้น เป็นรูปธรรมเชิงวัตถุกายภาพ แต่เมื่อพิจารณากฏแห่งกรรมนั้น เป็นผลจากการกระทำที่มีผลต่อเนื่องไปทางจิตวิญญาณ ที่กล่าวว่าทำิอะไรก็ได้อย่างนั้นจึงไม่ต่างไปจากกฏข้อที่สามของนิวตั้นดัง กล่าวมากนัก

ในพระไตรปิฏกได้กล่าวถึงกฏแห่งกรรมไว้ละเอียดโดยจัดหมวดหมู่กรรมที่จะส่งผลต่อไปไว้สามหมวด แต่ละหมวดมี 4 ข้อคือล

หมวดที่1 เป็นกรรมที่ให้ผลตามกาล

1.1 กรรมที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน

1.2 กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า

1.3 กรรมที่ให้ผลในชาติต่อๆ ไป

1.4 กรรมที่ให้ผลเสร็จแล้ว ไม่มีผลให้อโหสิกรรมกันไป

หมวดที่ 2 กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่

2.1 กรรมแต่งให้เกิด เช่นเกิดดี เกิดร้าย

2.2 กรรมสนับสนุน สนับสนุนในข้อแรกมากขึ้น

2.3 กรรมบีบคั้นก็หนุ่้นส่งมากขึ้น

2.4 กรรมตัดรอน อาจได้รับผลอย่างไม่คาดคิด ถึงตาย

หมวดที่ 3 กรรมที่ให้ผลตามลำดับ ก่อนหลัง

3.1 กรรมหนัก ให้ผลรุนแรง ให้ผลก่อน

3.2 กรรมใกล้ตาย ให้ผลละลึกได้ก่อนตาย

3.3 กรรมที่ทำบ่อยๆ จนชิน ให้ผลก่อน

3.4 กรรมสักว่าทำ ทำโดยไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อน เจตนาเบาบาง

อ้างอิงหมวดกรรมจาก ตามหาความจริง วิทยาศาสตร์กับพุทธธรรม ศาสตร์ที่เป็นคนละเรื่องเดียวกัน โดยโอฬาร เพียรธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น