หน้าเว็บ

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รู้เรื่องพลังงาน

คนเดินขึ้นบันได รถยนต์เคลื่อนที่ไปตามถนน รถเครนยกสิ่งของ ทั้งหมดต่างก็เป็นตัวอย่างการกระทำที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน(energy) งาน(work) และกำลังงาน(power) แต่ละเทอมเกี่ยวข้องกับความหมายทางวิทยาศาสตร์ (scientific meaning) จะเกิดการทำงานขึ้นเมื่อไรก็ตามที่แรงก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ นั่นคือ งาน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่บางอย่าง อาจเป็นการเคลื่อนของสิ่งที่เล็กมากเช่นอะตอม หรือใหญ่มากเช่นช้างหรือปลาวาฬ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ส่วนพลังงานหมายถึงความสามารถที่จะทำงาน และกำลังงานเป็นอัตราในการทำงาน หรือการทำงานเทียบกับเวลา พลังงานอาจแบ่งออกได้ 6 ประเภทดังนี้

1. พลังงานกล (mechanical energy) คือพลังงานจลน์ หรือพลังงานศักย์ (kinetic or potential energy) เช่นพลังงานจากไดนาโม เทอร์ไบน์

2. พลังงานไฟฟ้า (electrical energy) พลังานที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนจากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่ง เช่นพลังงานจากมอเตอร์ เครื่องทำความร้อนไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า

3. พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear energy) พลังงานที่เก็บสะสมอยู่ในนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งๆ เช่นพลังงานจากเตาปฏิกรณ์ จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จากระเบิดนิวเคลียร์

4. พลังงานความร้อน คือพลังงานที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่แบบสุ่ม (random) ของอะตอมของศาล ยิ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าใดสารนั้นก็ยิ่งร้อนมากเท่านั้น เช่นอากาศร้อนในบอลล์ลูนแบบอากาศร้อน วัตถุสารใดก็ตามทีร้อนมากน้อย

5.พลังงานแผ่รังสี ประกอบด้วยรังสี คลื่นหรืออนุภาค โดยเฉพาะที่อยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสง รังสีอุลตราไวโอเล็ต รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมม่า และรังสีคอสมิกซ์ (cosmic rays)เช่นจากแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ โซลาเซลล์ การสังเคราะห์แสง

6. พลังงานเคมี เป็นพลังงานที่เก็บอยู่ในอะตอมหรือโมเลกุลที่ปลดปล่อยออกมาโดยปฏิกิริยาเคมี เช่นพลังงานในแบตเตอร์รี เตาเผาแกสและน้ำมัน

พลังงานแต่ละชนิดดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันในแง่ที่ว่าพลังงานรูปหนึ่ง สามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ โดยพลังงานรูปต่างๆ มักจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานไฟฟ้าที่นำไปใช้ได้สะดวก และการใช้พลังงานที่ใช้รูปต่างๆ ก็ก่อให้เกิดพลังงานความร้อนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ความร้อนที่เกิดขึ้นอาจนำไปใช้ประโยชน์ต่อหรือสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น