หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

constructivist และ construcsionism

คำทั้งสองคำนี้คงมีที่มาจากแนวปรัชญาการสร้างความรู้ และอาจเป็นฐานให้ เปียอาเจต์ ชาวสวิสสร้างทฤษฎีพัฒนาการและทฤษฏีการเรียนรู้ ซึ่งคนจะเรียนรู้อะไรใหม่ก็ต้องใช้ความรู้เดิมเป็นฐานในการทำความเข้าใจเป็นกระบวนการดูดซึ่มที่เรียกว่า assimilation และถ้าหากว่าความรู้ไม่ที่เข้ามาไม่สอดคล้องกับที่มีอยู่เดิมก็ต้องมีการรับความรู้ใหม่นั้นหรือสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมากระบวนการนี้เรียกว่า accommodation และต้องมีการปรับตัวตามความรู้ใหม่ที่รับมาเข้าสู่การสมดุล การนำไปใช้ทางการศึกษาตามแนวเปียอาเจต์ ความรู้จะเกิดจากประสบการณ์และมีส่วนร่วม การให้เกิดการเรียนรู้จึงเป็นการจัดประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุและเหตุการณ์ ที่ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการรู้คิด สร้างความรู้ขึ้นมา การสร้างความรู้ตามแนวของเปียอาเจต์เรียกว่า cognitive constructivist


ขณะเดียวกันการสร้างความรู้ตามแนวของ Vigotsky ชาวรัฐเซีย ที่คิดว่าการเรียนรู้ไม่สามารถแยกออกจากกระบวนการทางสังคม ดังนั้นการเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้แบบร่วมมือ จะช่วยให้เกิดการสร้างความเรียนรู้ได้ดีขึ้น ซึ่งเรียกแนวการสร้างความรู้แบบนี้ว่า social constructivism

Papert ซึ่งได้ทำงานร่วมกับ Piaget และเรียกทฤษฎีการเรียนรู้ของเปียอาเจต์ว่าทฤษฎีความรู้ที่มองถึงการเกิดของความรู้ได้อย่างไร เป็นผู้คิดภาษาโลโก้ และสร้างโปรแกรมไมโครเวิลล์ ที่ให้ผู้เรียนได้สร้างชั้นงาน มีปฏิสัมพันธ์กับโปรแกรม การจัดการเรียนรู้ตามแนวการสร้างความรู้ของ Papert จึงเน้นไปที่ให้ผู้เรียนได้มีส่วนในการสร้างประสบการณ์ด้วยตนเอง โดยการสร้างชิ้นงาน ปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรร สร้างชิ้นงานดังกล่าว ซึ่งผลงานที่ได้แต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู้กับความรู้และทักษะที่มีอยู่เดิม Papert เรียกแนวการเรียนรู้แบบนี้ว่า construcsionism

จะเห็นว่า ตามแนว constructivist และ construcsionism มีความใกล้เคียงกัน การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนใน constructivist จะมีความหลากหลายน้อยกว่าการจัดกาเรียนรู้ตามแนว construcsionism และมีความเป็นไปได้สูงที่จะผสมผสานการใช้ทั้งสองแนวทางเข้าด้วยกัน พร้อมกับการใช้แนวทางพหุปัญญามาพิจารณาเพื่อให้เกิดผลดีขึ้นสอดคล้องตามแนวทางที่จัดให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น