หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ก้าวสู่นักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์

จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมอบรมเชิง ปฏิบัิตการ เรื่องการเขียนเรื่องเผยแพร่ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีวิทยากรจากชมรมนักเขียนวิทยาศาสตร์ จากความคิดริเริ่มของคุณ ปรีชา อมาตยกุล เริ่มบรรยายจากคุณ จุึมพล เหมะศิรินทร์ ได้แนะนำเคล็ดลับ 3 ขั้นง่ายที่ทราบกันทั่วไป คือ (1) ต้องชอบหรือมีฉันทะ การชอบจะทำให้รุ่งมากกว่า ไปได้ไกลกว่าการทำตามหน้าที่ (2) ต้องอ่านต้องฟัง นำมาคิดขยายผลการอ่านสะสมข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ (3) มีเวลาลงมือเขียน โดยการเขียนไม่มีกฏ ทฤษฎีที่ตายตัว โดยมีข้อคำนึงก่อนการเขียนคือ มีจุดประสงค์การเขียน เผยแพร่ที่ไหน อย่างไร ผู้รับสารเป็นใคร นอกจากนี้ท่านยังได้แนะการเขียนข่าว โดยยึดหลัีก 5W1Hอันได้แก่ Who What Where When Why และ How


สำหรับแนวการเขียนนั้น สำหรับผู้เริ่มต้นให้มีสามส่วนหลักคือ ส่วนนำเป็นการปูพื้นนำเข้าสู่เรื่องสำคัญ ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง อาจมีหัวข้อย่อย มีลูกเล่น และสุัดท้ายส่วนสรุป หรือคำลงท้าย ในแต่ละบทความควรที่จะมี ลำดับเรื่องที่ดี การทำเรื่องยากให้ง่ายอาจทำได้โดยวิธีการเปรียบเทียบ การใช้สำนวนภาษาให้เหมาะกับผู้รับสาร และติดตามพัฒนางานเขียนแก้ไขข้อบกพร่อง

วิทยากรอีกท่านหนึ่งคือคุณ สาโรจน์ เกษมสุขโชติกุล บรรณาธิการนิตยสาร โลกวิทยาศาสตร์ (science world) ได้แนะนำหลักการเขียนเป็น 9 เคล็ด (ไม่ลับ) ที่เป็นคำคล้องจองกัน ก้าวสู่การเป็นนักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้กับงานเขียนทั่วไป ได้คือ

1. รักการอ่าน

2. เชี่ยวชาญหาข้อมูล

3. เข้าใจจูนกลุ่มเป้าหมาย

4. พริ้งพราววางโครงเรื่อง

5. สติเฟื่องตั้งชื่อเด่น

6. รู้เล่นวรรคตอนและภาษา

7. พํฒนาปรุงศัพท์ให้เข้าตา

8. หาเวลาลงมือเขียน

9. ใผ่รู้เพื่อปรับปรุง

นอกจากนี้ยังแนะนำ 8(โป้ยเซียน) คุณค่าเข้าตาสื่อ สำหรับผู้ที่จะส่งไปลงในสื่อประเภทต่างๆ ดังนี้

1. ขายความเป็นที่สุด

2. จุดประกายความหวัง

3.ฝากฝังข้อเกี่ยวพันธ์ (อิงกระแส)

4. ดันแนบแอบคนดัง

5. เพิ่มพลังด้วยตัวเลข

6. เอกลักษณ์เน้นจำกัด

7. อัดเรืองลี้ลับ ปริศนา

8. พาเพลินกับความใหม่ แปลก

นอกจากนี้ยังได้ให้ข้อคิดในการเขียนหรือทำสารคดีวิทยศาสตร์เป็นวิดิโอหรือโทรทัศน์ที่ต้องคำนึงถึง

1. กลุ่มเป้าหมาย

2. เรื่องใกล้ตัว

3. เหตุการณ์ปัจจุบัน

4. มุมมองใหม่

5. เป็นไปได้ในการผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น