หน้าเว็บ

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ต้นอินทนินและตะแบกในมหาวิทยาลัย

ในมหาวิทยาลัยของเรามีทั้งต้นอินทนิน และต้นตะแบก ซึ่งก็สงสัยมานานว่าแตกต่างกันอย่างไรที่จะตัดสินได้ทันทีว่าต้นไหนเป็นอินทนินหรือตะแบก คิดว่าน่าจะเป็นลักษณะลำต้นที่บ่งบอกให้ทราบได้เกือบจะทันที จากที่มีผู้รู้นำไปดูต้นตะแบกไปสัมผัสลูบคลำก็ยิ่งทำให้เห็นความแตกต่างที่ เด่นชัดของเปลือกลำต้นระหว่างต้นตะแบกและอินทนิน ถ้าเป็นผิวหรือเปลือกลำต้นตะแบกจะเรียบ มีส่วนที่ลอกเป็นรอยตื้นๆ คล้ายกับเปลือกลำต้นฝรั่ง ลำต้นเรียบดูสะอาดสะอ้านอย่างเห็นได้ชัดไม่ค่อยมีรามาจับเหมือนกับลำต้นอิน ทนิน




บริเวณที่พบต้นตะแบกในมหาวิทยาลัยของเราีสองสามแห่งคือ ที่สนามติดกับตึกวิทยาการจัดการทางทิศใต้ติดกับถนนหน้าอาคารเคียงคีรีมีอยู่ ต้นหนึ่งโตพอสมควร และมีอยู้่หลายต้นบบริเวณที่นั่งพักม้าหินหน้าคณะครุศาสตร์ที่ 3 แยก และแต่ละต้นก็โตมาก ต้นสูงแตกกิ่งก้านขยายไปคลุมพื้นที่กว้างที่เดียว แล้วคงอายุไม่น้อยกว่า 30 ปีขึ้นไปเป็นร่มเงาให้กับคนที่มาหลบร้อน อีกต้นหนึ่งอยู่ที่หลักอาคาร10ใกล้างเดินไปอาคาร11 และหอสมุดเก่า


ที่พูดถึงต้นตะแบกมากก็เพราะทำให้สับสนมาหลายครั้ง เพราะมีอยู่ต้นหนึ่งที่อยู่หน้าอาคารคหกรรมที่เขียนบอกว่าเป็นต้นตะแบก แต่ลำต้นไม่ใช่ตะแบกจึงคิดว่าน่าจะเป็นต้นอินทนินชนิดหนึ่ง เพราะต้นอินทนินที่พบในมหาวิทยาลัยก็มีอยู่สองแบบคืออินทนินน้ำ และอินทนินบก อินทนินน้ำดังที่เราเห็นดอกที่ปลายกิ่งและปลายช่อแหลมแบบทรงเจดีย์เหนือ เรือนยอด ระหว่างดอกในช่อก็ไม่ได้ติดกันแน่นหนา เหมือนกับอินทนินบกที่ดอกมักจะรวมกันเป็นกลุ่มไม่ค่อยแยกจากกันอย่างเด่นชัด ช่อดอกมักสั้นกว่า เป็นอีกประการหนึ่งที่อาจทำให้เข้าใจผิดว่า อินทนินน้ำเป็นตะแบก ส่วนอินทนินบกเป็นต้นอินทนินก็เป็นได้

อินทนินน้ำตามชื่อก็บอกว่าทนน้ำได้ดีชอบความชื้นสูง ปัญหาโรคแมลงมีน้อย ออกดอกเกือบตลอดปี ช่วงออกมากเดือนมีนาคม-มิถุนายนเช่นเดียวกับอินทนินบก สำหรับดอกตะแบกจะมีขนาดเล็กว่าเมื่อเทียบกับดอกอินทนิน และเช่นเดียวกับอินทนินน้ำที่ช่อดอกตะแบกออกตามปลายกิ่งชูเหนือเรือนยอด ดอกในช่อเรียกกันห่างๆ ช่อดอกโปร่งกว่าดอกอินทนิน

อ้างอิง

จดหมายข่าวราชบัณฑิตสถาน ปีที่1 ฉบับที่ 12 ธันวาคม 2532 โดยดร.ธวัชชัย สันติสุข ราชบัณฑิตประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพสาขาพฤษศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น