หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การคิดในวิทยาศาสตร์ศึกษา

นับหลายศตวรรษที่จุดประสงค์ของการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการคิด ซึ่งโรงเรียนน่าจะได้ใช้เป็นแนวทางนำ ในทางวิทยาศาสตร์ศึกษาการพัฒนาความสามารถในการคิดจึงเป็นหนทางให้นักเรียนในการเรียนรู้ทุกวัย และแนวทางการพัฒนาให้แต่ละคนมีสมรรถนะสูงในการคิดอย่างมีเหตุผลนั้น เป็นเป้าหมายสำคัญของวิทยาศาสตร์ศึกษา


เมื่อถามว่าการคิดหมายถึงอะไรในทางวิทยาศาสตร์ศึกษา นั้น ความหมายเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่ผ่านไป นับเกือบศตวรรษมาแล้วที่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ตั้งมั่น แล้วกลายเป็นจุดเน้นของการคิดทางวิทยาศาสตร์ศึกษา และตอนกลางศตวรรษที่แล้วมา คำว่าการแก้ปัญหา (problem solving) และการสืบเสาะความรู้ (inquiry) ได้รับความนิยมเพื่อใช้อธิบายการคิดทางวิทยาศาสตร์ และเวลาต่อมาได้ลงลึกในรายละเอียดว่าเป็นเช่น การสังเกต การจัดแบ่งประเภท การอนุมาณหรือลงความเห็น การนิยามเชิงปฏิบัติการ และการควบคุมตัวแปร เป็นต้น

โดยสรุปกล่าวได้ว่าหลังปี 1920 จุดเน้นหลักของงานวิจัยที่เกี่ยวกับการคิดทางวิทยาศาสตร์ก็คือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่กว้างและยืดหยุ่นเกินไป ที่ต่อมาการแก้ปัญหาและการสืบเสาะหาความรู้ได้เข้ามาแทนที่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกันมีการนำเทอมอื่นๆ มาใช้ เช่น critical thinking, Productive thinking และ scientific thinking ซึ่งแต่ละเทอมก็เน้นย้ำถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือด้านอื่นด้วย ซึ่งยังมองว่ามีประโยชน์ในกระบวนทัศน์ทางการสอนและวิจัย ส่วนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เดิม ก็มองว่าได้ผลน้อยเข้าใจเนื้อหาได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น (unproductive) หลังปี 1960 การคิดมุ่งไปที่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process skill) เป็นมโนทัศน์ที่สำคัญมีผลกระทบสูงตลอด 30 กว่าปีที่ผ่านมา โดยเน้นทักษะที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแก้ปัญหา เป็นพฤติกรรมจริงๆ ของนักวิทยาศาสตร์ เป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เหมือนกับที่นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติอยู่

โดยจัดให้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกได้สองส่วนหลักคือ ทักษะพื้นฐาน (Basic science process) และทักษะบูรณาการ (Integrated science process) สำหรับทักษะพื้นฐาน คือ การสังเกต การจัดประเภท การสื่อสาร การวัด การใช้ความสัมพันธ์สเปสซ์และเวลา การใช้ตัวเลข การอนุมาณ และการทำนาย ทักษะเหล่านี้ได้ให้พื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ทักษะขั้นสูง หรือบูรณาการ ส่วนทักษะบูรณาการได้แก่ การควบคุมตัวแปร การนิยามเชิงปฏิบัติการ และการทดลอง

หลังสุดแนวคิดเพิ่มเติมที่ให้ทุกคนเป็นคนมีความรู้วิทยาศาสตร์ (Scientifically literate person) โดยที่ความรู้อยู่บนฐานของ ความจริง (facts), มโนทัศน์ (concepts) และกลุ่มหรือระบบมโนทัศน์ (conceptual schemes) ยังคงมีทักษะกระบวนการ (process skills) ที่ทำให้แต่ละคนเรียนรู้และคิดอย่างมีตรรกะ มีเหตุผล

การสอนที่บริหารจัดการ 4

นวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่โดยการจัดกิจกรรมให้สามารถเข้าใจได้ เป็นการสอนคนก่อนการสอน ด้วยกิจกรรม 11 แบบ คือ


กิจกรรม1 เปลี่ยนวิสัยทัศน์เป็นของผู้เรียนรูปแบบใหม่

กิจกรรม2 เสริมคุณธรรม การเป็นผู้นำที่ดี

กิจกรรม3 วิเคราะห์คุณภาพที่ต้องการ

กิจกรรม4 วิเคราะห์กิจกรรมโดยฝึกหัดเขียนแผนมโนทัศน์ จากการปฏิบัติตามกิจกรรม เป็นประสบการปลายภาค

กิจกรรม5 กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การประหยัดไฟฟ้า

กิจกรรม6 การประหยัดโดยสะสมเงินวันละ 1 บาท

กิจกรรม7 โครงการกิจกรรม กล่องอาหารกลางวัน

กิจกรรม8 โครงการสร้างรายได้ระหว่างเรียน สร้างอาชีพให้ชุมชน (วิทยาศาสตร์สร้างรายได้)

กิจกรรม9 อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

กิจกรรม10 กิจกรรมนักวิจัย

กิจกรรม11 จัดแผนกิจกรรมการศึกษาเรียนรู้

ในการบริหารการสอนเน้นที่กระบวนการกลุ่ม นักเรียนทำงานอย่างอิสระเป็นกลุ่มมีผู้นำ ผู้ช่วย เลขา และสมาชิกในกลุ่ม ในทุกคาบเรียนนักเรียนในชั้นเลือกนักเรียน 3 คนเป็นกรรมการของห้องเรียน โดยกรรมการมีคุณสมบัติคือ มีความซื่อสัตว์ มีคุณธรรมความสัจจริง และมีความตั้งใจเสียสละเวลา บทบาทของกรรมการทำงานร่วมกันระหว่างครู กลุ่มผู้นำเป็นศูนย์กลางของงานของนักเรียน และช่วยในการประเมินงานของกลุ่มสมาชิก

นักเรียนช่วยเหลือกันและกันในการออกแบบบทเรียน ระดมพลังสมอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนวิธีการที่เหมาะกับความสามารถ นักเรียนมีส่วนในการสร้างเกณฑ์การประเมิน โดยใช้คู่มือ และความช่วยเหลือจากครูในการประเมินแต่ละบทเรียน

วิธีการเรียนรู้ นักเรียนออกแบบกระดาษทำงานของตัวเอง งานกระดาษที่รวมเอาหัวข้อ จุดประสงค์ของบทเรียน กระบวนการทำงาน และเนื้อหา(แต่ละกลุ่มมีเนื้อหาต่างกัน) หลักจากออกแบบงานในกระดาษ นักเรียนให้บอกส่วนที่ประทับใจของบทเรียน โดยการแสดงความคิดเห็นเชิงบวก และโดยการกำหนดด้วยถึงปํญหาหนึ่งปัญหาใด และคำตอบของปัญหานั้นๆ

นักเรียนสร้างความรู้ขึ้นจากการสังเกต ประสบการณ์ และการสัมภาษณ์จากศูนย์ทรัพยากร และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน นักเรียนรู้ตัวเองและสามารถหาสมรรถนะของตัวเอง ครูก็รู้ถึงความสามารถของนักเรียน และสนับสนุนส่งเสริมให้เข้าสู่ศักยภาพสูงสุด

วิชาที่มีการทดลอง เช่นในวิชาเคมี ก่อนที่จะมีการทดลองใดๆ นักเรียนจะต้องเขียนคู่มือของตนเอง โดยรวมเอาต่อไปนี้

1 มีการเตรียมตัวมาก่อน

2.จุดประสงค์ของการทดลอง

3.อุปกรณ์ที่ต้องการ

4.ธาตุทางเคมีที่ต้องการ

5.รายงานการทดลอง

6.สูตรเคมีสำหรับการทดลอง

นักเรียนในแต่ละกลุ่มต้องเตรียมอุปกรณ์และสารเคมีล่วงหน้า ความรับผิดชอบของครูที่จะแจ้งเตือนนักเรียนถึงสารเคมีมีพิษ และอันตรายใดๆที่เป็นไปได้ และนักเรียนจะต้องให้ความสนใจกับนักเรียนอย่างใกล้ชิดระหว่างการทดลอง มีการสับเปลี่ยนบทบาทระหว่างการทดลอง แต่ละกลุ่มจะต้องกำหนดเวลาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละการทดลอง

กระบวนการอื่นของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการเล่นบทบาทสมมุติ สมาชิกของกลุ่มหมุนเวียนกันทำหน้าที่ ตามสถานะการณ์ตามเรื่องก็คือแทนที่จะแสดงนำเสนอกับกระดาษก็นำเสนอเป็นบทละคร หรือเกมส์

การสอนที่บริหารจัดการ 3

ผู้เรียนสามารถท่จะแก้ปัญหาในส่ิงที่ไม่เข้าใจในชั้นเรียนโดยให้มาเรียนรู้หลังเลิกเรียน สมาชิกของกลุ่มและเพื่อนๆช่วยให้ผู้เรียนหลังเลิกเรียนเข้าใจเรื่องที่ไม่เข้าใจ กระบวนการนี้ทำให้แน่ใจว่านักเรียนทำงานที่ไม่เสร็จให้เสร็จ หลังกระบวนการนี้นักเรียนสามารถที่จะประเมินความผิดพลาดของตัวเอง พร้อมๆกับ การประเมินของกรรมการที่เป็นเพื่อนกัน ที่เป็นผู้ปกครอง และครูของนักเรียน การใช้วิธีการประเมินแบบนี้ จะให้ผลการเรียนรู้ได้ดีที่สุด


แต่ละกลุ่มตัดสินวันครบกำหนดส่งงาน เมื่อนักเรียนไม่สามารถทำงานให้เสร็จในเวลาที่กำหนด กลุ่มนักเรียนนั้นจะต้องปรึกษาคณะกรรมการ เพื่อที่ขยายเวลาในการทำงานของกลุ่ม เป็นการเรียนรู้ที่กระตุ้นตัวเอง ปลดปล่อยความเครียดของนักเรียน และทำให้นักเรียนมีภาระรับผิดชอบมากขึ้น นักเรียนสามารถเลือกหัวข้อ และทำให้นักเรียนสนใจมากขึ้น และนักเรียนสามารถกำหนดเวลาของตัวเองเลือกทำงานให้เสร็จ ครูกลายเป็นเพื่อนที่ดี ซึ่งเป็นผู้ที่มักให้ความช่วยเหลือนักเรียน เมื่อนักเรียนต้องการความช่วยเหลือ

ผู้เรียนสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ของตัวเองจากกระบวนการเรียนรู้นี้ไปยังรายวิชาอื่นๆ ตัวอย่างเช่นนักเรียนสามารถนำเอาวิชาเคมีลงสู่ชุมชน ผ่านทางโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับชุมชน และโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น

ย่ิ่งกว่านั้นผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ของตัวเองในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่นวิชาเคมีกับวิชาอิเลคทรอนิกส์ในการเผยแพร่กระจายสื่อการสอน หรือป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อมจากสารพิษ หรือสร้างรายได้ระหว่างช่วงเวลาเรียนในโรงเรียน โดยผลิตน้ำยาล้างจาน และนักเรียนรู้วิธีการพัฒนาโครงงานอื่นๆ ตัวอย่างเช่นโครงการประหยัด 1 บาทต่อ 1 วัน หรือโครงการประหยัดพลังงานอื่นๆ

โครงการเหล่านี้ก่อให้เกิดการตื่นตัวในการประหยัดเงินและพลังงาน เช่นการประหยัดการใช้โทรศัพท์หรือใช้น้ำอย่างระมัดระวัง ผู้เรียนจะซาบซึ้งกับที่ไปที่มาของพลังงานของพวกเขา นักเรียนจะมีความพยายามเอาแนวทางในการประหยัดแหล่งพลังงานอันมีค่าสำหรับคนรุ่นต่อไป โดยนักเรียนจะสามารถนำเสนอแนวคิดต่อในชั้นเรียน

การบริหารการสอนช่วยให้นักเรียนกล้างที่จะแสดงออก กล้าที่จะแสดงความคิดในการประชุมสัมนา แนวคิดของนักเรียนจะเป็นลักษณะปลายเปิด นักเรียนแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ อย่างไรก็ตามนักเรียนต้องแสดงแนวความคิดด้วยเหตุผล และอย่างมีสัจจริง

คณะกรรมการห้องเรียน เพื่อน ครู รับฟังอย่างต่อเนื่องและตัดสินประมวลคุณภาพแนวคิดของนักเรียน ครูสามารถนำบริหารการสอนสำหรับรายวิชาใดรายวิชาหนึ่ง และอาจพบว่ามีประโยชน์ในหลายสถานะการณ์ ดังเช่น

-การจะเป็นนักพูดที่ดีอย่างไร

-จะต้อนรับคนจากสถานที่อื่นอย่างไร

-ศึกษาชนิดต่างๆของกิจกรรมอย่างไร

-สาธิตแนะนำ เสนองานอย่างไร

สำหรับการเรียนในภาคฤดูร้อนหรือภาคเรียนใดๆ นักเรียนสามารถวางแผนตัดสินใจการทำงานทั้งหมดด้วยตัวเอง จนนักเรียนอาจพูดได้ว่า ฉันสามารถเรียนรู้ได้ไม่ว่ามีครูอยู่ในห้องเรียนหรือไม่ก็ตาม

การสอนที่บริหารจัดการ 2

คราวที่แล้วได้นำเสนอหลักการทั่วไปในการบริหารจัดการการสอน ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงรายละเอียดในแต่ละเรื่อง จากแผนจัดการเรียนรู้ที่มี อยู่ 6 ขั้นตอนมีดังนี้


1ขั้นเตรียม

กิจกรรม1   รู้ตัวเอง (นักเรียนวิเคราะห์ตัวเอง) นักเรียนเขียนชีวประวัติตนเอง ระบุเป้าหมายในชีวิต คำขวัญคำคมที่ชอบ ความสามารถพิเศษ

กิจกรรม2 ครูวิเคราะห์นักเรียนแต่ละคน จาก การเขียนของนักเรียน ความสนใจของนักเรียน การเฝ้าสังเกตของนักเรียน ประสบการณ์ของนักเรียน การสัมภาษณ์นักเรียน ปัญหาในชีวิตประจำวันของนักเรียน

กิจกรรม3 กระบวนการประชาธิปไตย นักเรียนสามารถเป็นผู้นำหรือผู้ตาม ผู้นำต้องมีความกล้าหาญที่จะกระทำ ผู้นำต้องมีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ผู้นำเป็นผู้มีเหตุผล ผู้นำมีความสำนึกสูงในเรื่องของวินัย

กิจกรรม4 การหาผู้นำ นักเรียนสามารถเลือกผู้นำผู้ซึ้งแสดงความรับผิดชอบ มีความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้ที่มีความตั้งใจที่จะเสียสละ ยอมสละ

กิจกรรม5 จากวิสัยทัศน์การเรียนรู้ที่เปิดกว้าง ไปสู่การเรียนรู้ใหม่ๆ นักเรียนไม่เหนียมอายที่จะแสดงแนวคิดของตัวเอง ที่สามารถปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา

2 การวิเคราะห์ปัญหา

กิจกรรม6 จากแผนการเรียนรู้ (lesson plan) I can do it (ฉันทำได้) นักเรียนเรียนรู้โดยการปฏิบัติ โดยรู้ว่ามีอะไรที่ต้องการเรียนรู้ ที่ต้องพิจารณาถือเป็นหน้าที่

3. มีวิธีการหลายอย่างที่จะหาคำตอบ นักเรียนเรียนรู้วิธีการฝึกหัดฝึกฝนตนเองเพื่อจะหาคำตอบ หาวิธีการแก้ปัญหา

4. นักเรียนเลือวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา โดยนักเรียนระบุเนื้อหาวิชาที่ต้องการเรียนรู้

5. ปฏิบัติตามกิจกรรมต่างๆ

กิจกรรม7 นักเรียนสามารถเขียนโครงงานของตนเองโดยสามารถวางแผนการปฏิบัติ ดำเนินการตามแผนของตัวเอง และพูดคุยเกี่ยวกับแผนงานตัวเอง

6. การรายงาน

กิจกรรม8 นักเรียนควรร่วมกับเพื่อนที่มีความสามารถ

-เพื่อนสามารถให้คำแนะนำที่ดี และช่วยเหลือกันและกัน

-เพื่อนที่มีใจเปิดกว้าง มีความกล้าที่จะซื่อสัตย์ต่อกัน ด้วยความช่วยเหลือของเพื่อน โดยการพูดคุยกันด้วยจริงใจ

-เพื่อนจะเป็นผู้ช่วยเหลือต่อเพื่อนๆ เราสามารถบอกเพื่อนได้ ถ้างานของเราไม่เสร็จ และบอกเพื่อนเมื่องานจะเสร็จ และมอบงานให้เพื่อนชื่นชม วิพากษ์วิจารณ์อย่างจริงใจตรงไปตรงมาก่อนส่งให้ครู

กิจกรรม9 การร่วมไม้ร่วมมือ

นักเรียนเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน และวิธีการที่จะประเมินงานของผู้อื่น

กิจกรรม10 การปรับการเรียนรู้เพื่อชีวิตในโลกปัจจุบัน โดยวิธีการนี้ นักเรียนสามารถปรับการเรียนรู้ทุกอย่างโดยตนเอง เพราะว่านักเรียนรู้วิธีการวางแผน จัดการและแบ่งเวลา อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันเป็นเป้าหมายที่ต้องการ

การสอนที่บริหารจัดการ 1

โดยผู้ที่นำเสนอในเรื่องนี้ ให้ชื่อว่า Management Teaching ซึ่งขยายความว่ารวมเอา การจัดการ การวางแผน และ และการบริหารเวลา (management, planning and time management โดยคุณครูชุมศรี พรไพพิบัตร โรงเรียนกะบินวิทยา จ.เพชรบุรี ได้ไปนำเสนอเรื่องนี้ในเวทีนานาชาติ ที่ชื่อว่า ICASE ASIAN SYMPOSIUM 2007 จากเอกสารแจกที่เป็นภาษาอังกฤษ มีไฮไลท์เขียนบอกไว้ที่หน้าปกเอกสารนำเสนอว่า I can learn whether there is or whether there isn t teacher in the classroom ซึ่งหมายความว่า ฉันสามารถเรียนรู้ได้ไม่ว่าจะมีครูอยู่หรือไม่มีครูอยู่ในห้องเรียน ซึ่งน่าจะเป็นการเรียนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

การสอนแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการทำงานและการเรียนรู้ของนักเรียนบนฐานการบริหารจัดการ การวางแผน และการบริหารเวลา โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากการกระทำ โดยบทบาทของนักเรียนจะรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม เป็นการเรียนรู้ที่กระตุ้นปลุกเร้าตนเอง ได้ปลดปล่อยแสดงออกถึงความสนใจของนักเรียน เรียนรู้ที่จะทำงานอย่างอิสระมีคุณธรรม เพื่อให้ได้สื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ โดยมีกรอบที่นักเรียนจะได้รับดำเนินการกล่าวคือ

1) การเตรียมโดยกำหนดแนวคิดของนักเรียน

2) วิเคราะห์ปัญหา

3) ค้นหาคำตอบ

4) เลือกแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา

5) เรียนรู้โดยการกระทำ และลงมือทำงาน

6) การรายงาน

นักเรียนสามารถที่จะใช้การทำงาน 2 วิธีด้วยการฝึกหัด ฝึกฝน การระดมพลังสมองด้วยกัน และวิธีการประเมินการทำงานการเรียนรู้ นักเรียนสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวไปใช้กับรายวิชาอื่นๆ และใช้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่นนักเรียนนำสิ่งที่เรียนรู้วิชาเคมีลงสู่ชุมชน เช่นทำโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยอาศัยวิชาเคมี และวิชาอิเลคทรอนิกส์ในการกระจายสื่อการเรียนการสอน หรือโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสลัมไม่ให้มีสารพิษ หรือโครงงานที่ให้นักเรียนสร้างรายได้จากการทำน้ำยาล้างจาน หรือทำโครงงานประหยัดวันละ 1 บาท โครงการประหยัดพลังงาน ด้วยแนวทางดังกล่าวนี้ นักเรียนสามรถที่จะปรับไปสู่การเรียนรู้ทุกอย่างได้โดยตัวของนักเรียนเอง เพราะนักเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการ การวางแผนและการจัดสรรเวลา อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นเป้าหมายสำคัญ

การเตรียมวางแผนโครงงานอย่างกว้างขวาง ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอตามความต้องการของนักเรียน การจัดให้นักเรียนรู้ถึงการเรียนรู้ตลอดเวลา รวมทั้งที่ไม่ได้คาดหวัง และต้องให้นักเรียนทราบการวางแผนการศึกษา เป็นหน้าที่ต้องรับผิดชอบของนักเรียนแต่ละคน

แผนของบทเรียนที่เป็นการสอนที่มีการจัดการ ใช้ 6 ขั้นตอน 10 กิจกรรม คือ

1.ขั้นเตรียม (กิจกรรม 1-5)

2.ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (กิจกรรม6)

3.ขั้นหาวิธีการแก้ปัญหา (กิจกรรม6)

4.ขั้นเลือกวิธีการแก้ปัญหา (กิจกรรม6)

5.ขั้นการลงมือทำ หรือการปฏิบัติ

6.ขั้นรายงาน (กิจกรรม 8-10)

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

constructivist และ construcsionism

คำทั้งสองคำนี้คงมีที่มาจากแนวปรัชญาการสร้างความรู้ และอาจเป็นฐานให้ เปียอาเจต์ ชาวสวิสสร้างทฤษฎีพัฒนาการและทฤษฏีการเรียนรู้ ซึ่งคนจะเรียนรู้อะไรใหม่ก็ต้องใช้ความรู้เดิมเป็นฐานในการทำความเข้าใจเป็นกระบวนการดูดซึ่มที่เรียกว่า assimilation และถ้าหากว่าความรู้ไม่ที่เข้ามาไม่สอดคล้องกับที่มีอยู่เดิมก็ต้องมีการรับความรู้ใหม่นั้นหรือสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมากระบวนการนี้เรียกว่า accommodation และต้องมีการปรับตัวตามความรู้ใหม่ที่รับมาเข้าสู่การสมดุล การนำไปใช้ทางการศึกษาตามแนวเปียอาเจต์ ความรู้จะเกิดจากประสบการณ์และมีส่วนร่วม การให้เกิดการเรียนรู้จึงเป็นการจัดประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุและเหตุการณ์ ที่ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการรู้คิด สร้างความรู้ขึ้นมา การสร้างความรู้ตามแนวของเปียอาเจต์เรียกว่า cognitive constructivist


ขณะเดียวกันการสร้างความรู้ตามแนวของ Vigotsky ชาวรัฐเซีย ที่คิดว่าการเรียนรู้ไม่สามารถแยกออกจากกระบวนการทางสังคม ดังนั้นการเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้แบบร่วมมือ จะช่วยให้เกิดการสร้างความเรียนรู้ได้ดีขึ้น ซึ่งเรียกแนวการสร้างความรู้แบบนี้ว่า social constructivism

Papert ซึ่งได้ทำงานร่วมกับ Piaget และเรียกทฤษฎีการเรียนรู้ของเปียอาเจต์ว่าทฤษฎีความรู้ที่มองถึงการเกิดของความรู้ได้อย่างไร เป็นผู้คิดภาษาโลโก้ และสร้างโปรแกรมไมโครเวิลล์ ที่ให้ผู้เรียนได้สร้างชั้นงาน มีปฏิสัมพันธ์กับโปรแกรม การจัดการเรียนรู้ตามแนวการสร้างความรู้ของ Papert จึงเน้นไปที่ให้ผู้เรียนได้มีส่วนในการสร้างประสบการณ์ด้วยตนเอง โดยการสร้างชิ้นงาน ปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรร สร้างชิ้นงานดังกล่าว ซึ่งผลงานที่ได้แต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู้กับความรู้และทักษะที่มีอยู่เดิม Papert เรียกแนวการเรียนรู้แบบนี้ว่า construcsionism

จะเห็นว่า ตามแนว constructivist และ construcsionism มีความใกล้เคียงกัน การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนใน constructivist จะมีความหลากหลายน้อยกว่าการจัดกาเรียนรู้ตามแนว construcsionism และมีความเป็นไปได้สูงที่จะผสมผสานการใช้ทั้งสองแนวทางเข้าด้วยกัน พร้อมกับการใช้แนวทางพหุปัญญามาพิจารณาเพื่อให้เกิดผลดีขึ้นสอดคล้องตามแนวทางที่จัดให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางนั่นเอง

ผลการศึกษาโมเดลการเรียนรู้แบบ STS

STS ย่อมาจาก Science Technology Social นั่นคือรูปแบบในการเรียนรู้ในรูปโครงงานเพือแก้ปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องด้วย ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการคิดแก้ปัญหา

จากการศึกษาเปรียบเทียบ การสอนที่ใช้รูปแบบ STS กับการสอนโดยใช้หนังสือแบบเรียนตามปกติ ผลการทดสอบบ่งชี้ว่า ที่ทำให้เกิดรอบรู้ในมโนทัศน์ไม่ได้แตกต่างกัน แต่รูปแบบ STS มีความก้าวหน้าว่าใน 4 ด้านคือ การประยุกต์ใช้ การพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ การสร้างสรรค์ และทักษะกระบวนการอย่างมีนัยสำคัญ

ผลการศึกษาได้ให้หลักฐานสนับสนุนที่เป็นรูปธรรม เป็นแบบจำลองที่ให้ผลดีมีคุณค่า ที่สามารถนำไปทดลงใช้ที่ใดๆ ก็ได้ ตามโปรแกรม STS จะให้คุณลักษณะของบุคคลที่รู้วิทยาศาสตร์มากขึ้นอันหมายถึงผู้ที่

-ใช้มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและคุณค่าทางจริยธรรมในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

-กำหนดการตัดสินใจ และการกระทำโดยใช้ การโต้แย้งเชิงเหตุผล บนฐานของหลักฐานอ้างอิง

-เข้าไปมีส่วนร่วมกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับสิ่งที่น่าตื่นเต้น ตื่นตาตื่นใจ พร้อมกับทำความเข้าใจกับคำอธิบายเท่าที่หาได้

-ให้คุณค่ากับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และการแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี

-กำหนดสถานะ ตำแหน่งในการหาค่า วิเคราะห์ สังเคราะห์ แหล่งสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และให้ใช้แหล่งทรัพยากรดังกล่าวในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ และการปฏิบัติ ที่ยังคงเปิดรับหลักฐานใหม่ และความรู้ที่ไม่ชัดแจ้งยังไม่ได้ตกลงแน่นอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

-เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไปในด้านอื่นในความพยายามของมนุษย์

-การเรียนรู้มาจากประสบการตรงที่มีพลานุภาพ มีอิสระ และการมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องที่เข้มแข็ง จนไปถึงระดับที่สามารถใช้มโนทัศน์จำนวนมากในการสร้างมโนทัศน์ใหม่ขึ้นมา

การสอนเพื่อความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์

การสอนวิทยาศาสตร์ในแนวทางที่ช่วยผู้เรียนสะท้อนผลการคิดและการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกธรรมชาติ คือส่วนที่มีความหมายในการสอนเพื่อความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ โดยที่ยุทธวิธีในการสอนขึ้นอยู่กับเพียงความเข้าใจว่านักเรียนเรียนรู้อย่างไร กล่าวคือ


1. การเรียนรู้มีทิศทางมีเป้าหมาย ผู้เรียนที่มีทักษะการเรียนรู้จะเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างกระตือรือร้นในการสร้างความหมาย และเป็นผู้เรียนที่เป็นอิสระ

2. การเรียนรู้เชื่อมโยงส่วนที่เป็นอิสระไม่ได้ขึ้นอยู่กับอะไร

3. การเรียนรู้ทำให้มีการจัดโครงสร้างความรู้

4. การเรียนรู้เป็นยุทธวิธี ผู้เรียนที่มีทักษะจะพัฒนาความชำนาญ ซึ่งให้ผลเท่าๆกับการควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของตัวเอง

5. การเรียนรู้เกิดเป็นด้านๆ (in phase) ไม่เป็นเชิงเส้น และต้องการให้ผู้เรียนคิดเชิ่อมโยงเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วนำเข้ามาร่วมกับอะไรก็ตามที่กำลังจะเรียนรู้ใหม่ และทำให้ความรู้นั่นมั่นคงขึ้น

6.การเรียนรู้ได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาการ กำหนดขึ้นเป็นเหมือนกับความหมายของการเรียนรู้ที่มีเหตุผลเข้าใจได้ การรู้อะไรที่มีคุณค่านั้นครูวิทยาศาสตร์ต้องตัดสินได้ว่าอะไรที่จะให้เรียนรู้

ตามทัศนะการสอนของครู้จะเป็นการนำเสนอความรู้ ส่วนทัศนะที่ให้ผู้เรียนคนพบด้วยตัวเองครู้เป็นเพียงผู้จัดประสบการณ์ ซึ่งในทัศนะการสร้างความรู้จะต้องนำทั้งสองทัศนะดังกล่าวมรวมกัน ซึ่งครู้จำเป็นต้องจัดประสบการณ์ที่จำเป็นให้นักเรียนได้เข้าใจวิทยาศาสตร์ โดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์และปรากฏการณ์ โดยการแทรกแซง การพูดคุยเจรจา เป็นหลัก และถือว่าการสอนเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง

ส่วนที่เป็นหัวใจของประสบการณ์การสอนและการเรียนรู้ที่ดีก็คือความสัมพันธ์เชิงวิกฤติก็คือความสัมพันธ์ที่ครูและนักเรียนแสวงหาคำถามและคำตอบจากความคิดระหว่างกัน เพื่อที่จะตีความความคิดใหม่ ในแนวทางที่จะปรับปรุง หรือแม้แต่จะล้มเลิกความคิด (Rowland,1984 p1)

ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้

คนจะเรียนรู้ได้ไม่เพียงแต่จากการคิด แต่ยังใช้ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ ความกระหายใคร่รู้ ตามแรงปรารถนา ที่ก่อตัวมาอยู่ในตัวคนหนึ่งๆ ที่รวมเข้ามาปะทะสังสรรค์ เกาะเกี่ยวโยงใยกัน เหมือนกับการกระทำที่ต้องใช้ไหวพริบเชิงจิตนาการ ที่แต่ละคนจับยึดถือเอาไว้ และยังรวมไปถึงการจัดโครงสร้างที่มีมาก่อนในอดีตที่จะเลี่อนไหลมาสู่การคิดเรื่องราวต่างๆเป็นมุมมองการพิจารณาของแต่ละคน

คนจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีแรงขับประจำตัวที่ฝังอยู่ หรือที่เป็นแรงผลักจากด้านใน ซึ่งเขาจะใสใจเอาใจใส่ ยอมทุ่มตัวเอง ให้ความสนใจที่จะเรียนรู้ ดูเหมือนว่าแต่ละคนจะเริ่มใช้ทักษะการเรียนรู้ที่สูงขึ้น เพื่อที่ให้การเรียนรู้เกิดการโยงใยเชื่อมโยง เพื่อที่จะใช้ไปในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ ทักษะการเรียนรู้ที่สูงขึ้นนี้ได้แก่การ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมิน เป็นไปในทางที่มีความหมาย ในส่วนนี้มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยง เริ่มแรกกับระบบโรงเรียน อันเนื่องจากกิจกรรมในห้องเรียน ที่ได้จัดสถานะการณ์ สิ่งแวดล้อม เพื่อเคลื่อนจากการเป็นผู้รับรู้ความรู้สึกต่างๆ ไปสู่ความเข้าใจในเชิงนามธรรมจากการนึกคิด

กระบวนการในการเรียนรู้ในทางปฏิบัติ จะเป็นการเลือกตามความตั้งใจเสียมากกว่า เด็กๆ จะเรียนรู้สิ่งที่พวกเขาต้องการอยากจะเรียนรู้ เราจะปล่อยให้เด็กได้ใช้ความสนใจตามธรรมชาติอย่างเต็มที่ในวัยการเรียนรู้ แล้วสร้างขอบเขตที่กว้างขวางเข้าไปสู่ความเป็นเฉพาะทาง ให้ได้มีการแสดงออกที่จะแสดงถ่ายทอดไห้ผู้อื่นได้ คนเรามักจะสนใจ เอาใจใส่กับสนใจกับสิ่งที่จะเรียนรู้ และเราเกือบทั้งหมดเอาใจใส่กับเรื่องที่เลือก ตามความชอบตามความอย่ากรู้ และถือว่าเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง เป็นการเลือกที่จะเรียนรู้ เหมือนกับการวิจัยตนเอง ซึ่งเป็นการฝึกหัดอย่างจริงจัง ยาวนานจากการเลือกอย่างตั้งใจ

เมื่อเขากระหายที่จะเรียนรู้ ที่ยืนยันได้ในช่วงการเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ในตอนต้น ช่วงใดช่วงหนึ่งของแต่ละคนก็จะเข้าไปเชื่อมโยงกับความอยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติอีกครั้งที่ยังคงมีอยู่เมื่อครั้งสมัยเป็นเด็กเล็กเป็นวงรอบหรือวัฏจักร บางทีอาจกล่าวได้ว่าความอยากรู้อยากเห็นที่ฝังอยู่ในแต่ละคนไม่เคยหาย แต่หยุดไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีสิ่งเร้าจากภายนอกมาปลุกกระตุ้นจนไฟภายในขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับการเรียนรู้ที่แท้ของชุมชนก่อตัวสร้างขึ้นเมื่อคนมาอยู่รวมกัน มีความตั้งใจที่สอดประสานกันเป็นแนวเดียวกัน สุดท้ายก้าวสู่การเรียนรู้ที่ลุ่มลึกได้ มีความเป็นอิสระที่ไม่สามารถแยกออกได้จากการเรียนรู้ ครูคนหนึ่งๆ ไม่สามารถทำให้นักเรียนมาเรียนรู้แบบทุ่มตัว แต่ครูก็สามารถที่จะสร้างแรงบันดานใจได้ เพื่อกระตุ้นความกระหายใคร่รู้ทำงานร่วมกับ ความต้องการ ที่ทำให้ความใฝ่ฝันที่มีอยู่เป็นจริงให้มากที่สุด

การเรียนรู้เพื่อรู้

คำว่า รู้ (to know) จะหมายถึงเข้าใจหรือเห็นได้โดยตรง หรือเห็นเข้าไปหรือเข้าถึง หรือซึมซับด้วยตัวเอง หรือเข้าไปร่วมกับมัน เข้าไปมีส่วนร่วมหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย ดังนั้นการรู้จึงเป็นการปฏิสัมพันธ์ การมีสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงสร้างขึ้นระหว่างผู้รู้ และได้รู้ (knower and known) ดังนั้นทั้งสองรวมเป็นหนึ่งเดียว


การรู้เรื่องใหม่เกี่ยวข้องกับที่รู้มาก่อน และการเรียนรู้อะไรได้ดี เป็นประตูที่จะก้าวไปสู่การเรียนรู้มากขึ้น ความแน่นอนของการเรียนรู้ หรือการรู้มากกว่าที่ทำได้มาก่อน นั่นก็คือจุดปลายของกระบวนการเรียนรู้ การรู้จึงเป็นจุดปลายหรือจุดจบของการเรียนรู้ แต่จุดจบดังกล่าวจัดเป็นเพียงจุดเชื่อมหรือสพานที่ทอดไปสู่การเรียนรู้มากขึ้น

การเรียนรู้ไม่สามารถเกิดขึ้นบนฐานที่ไม่มีอะไรเลย เราจะรู้ได้อย่างไรถ้า เราไม่รู้อย่างหนึ่งอย่างใดมาก่อน ซึ่งการรู้อะไรมาก่อนเป็นเมล็ดพันธ์ของการเรียนรู้ภายใน ความเป็นไปได้ของเรื่องที่ได้รู้แล้วนั้น ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นไปตามที่คิดเมื่อกล่าวถึงความจริง (facts) ที่เป็นการเรียนรู้เชิงบรรยาย เช่นไม่มีทางเลยที่เราจะรู้เสมอเกี่ยวกับพัทยาที่เป็น เมืองใหญ่ในจังหวัดชลบุรี เราจำเป็นต้องจำรู้จังหวัดชลบุรี และเมืองใหญ่ ได้ก่อน เมื่อรู้ (coming to know) จึงเป็นกระบวนการที่พิศวงศ์ลึกลับทีเดียว เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการรู้แล้วมาก่อนเสมอ กระบวนการจริงๆ เมื่อรู้ มักจะไม่ใช่งานที่จะอยู่เฉยๆ แต่ต้องทำงานหนักและมีความยากลำบากอยู่บ้าง

อะไรเป็นสาเหตุให้การเรียนรู้เกิดขึ้นก็คือความต้องการเพื่อรู้ ขณะที่เป็นเด็กๆ เราทั้งหมดถูกผลักดันจากความความไม่พอใจกับเรื่องที่เป็นอยู่ จึงจำเป็นให้ต้องสืบค้น ค้นคว้าทุกอย่างโดยรอบ เพื่อสนองความต้องการที่อยากรู้ จากความไม่พอใจหรือขัดแย้ง กับความต้องการที่ต้องการรู้ จึงทำให้ต้องค้นคว้าในเวลานั้นอย่างกระตือรือร้น เป็นความปรารถนาภายในเพื่อรู้ที่จำกัดวงแคบเข้าเพื่อเรียนรู้ภายใต้ขอบเขตของวัฒนธรรมของแต่ละคนที่เกี่ยวข้อง

การเรียนรู้อย่างมีความหมาย

การเรียนรู้อย่างมีความหมายไม่ใช่การเรียนรู้แบบใดๆก็ได้ และการเรียนรู้แบบนี้สัมพันธ์กับสารสนเทศหรือมโนทัศน์ของผู้เรียนที่มีอยู่แล้ว โดยที่เป็นกระบวนการทางการคิดทางจิตที่คิดให้สารสนเทศใหม่ที่ได้รับนำไปสู่การเชื่อมโยงกับความรู้ที่เคยได้เรียนรู้มาแล้ว สารสนเทศที่ทำให้ง่ายเข้าใจต่อการเรียนรู้ มากกว่าที่ไม่ทำให้เข้าใจอะไรเลย การเรียนรู้อย่างมีความหมายจึงเกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจออกมาจากสารสนเทศ โดยมีการจัดลำดับไว้ในการคิดของผู้เรียนจนกระทั่งไปสอดรับกับลำดับ ที่เป็นระบบระเบียบ โดยใช้สารสนเทศที่มีอยู่เดิมหรือความรู้เดิมในการดูดซึมสารสนเทศใหม่ (assimilate) เกิดการเรียนรู้ใหม่


สิ่งที่สำคัญมาอันเป็นงานของครูก็คือทำให้สารสนเทศนั้นมีความหมายต่อผู้เรียน โดยการนำเสนอให้ชัดเจนเป็นระบบ โดยการจัดความสัมพันธ์กับสารสนเทศที่มีอยู่ในความคิดของนักเรียน และโดยการทำให้แน่ใจว่านักเรียนเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอให้อย่างแท้จริง อันได้แก่มโนทัศน์ที่ครูสอน และนักเรียนสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในสถานะการณ์ใหม่

สารสนเทศที่มีความหมายจะเก็บบันทึกไว้ในส่วนของความจำระยะยาว ในรูปของเครือข่ายการเชื่อมโยงความจริงต่างๆ หรือเป็นมโนทัศน์ที่เรียกว่า schemata สารสนเทศที่สอดรับกันกับ sheme ที่มีอยู่นี้จะง่ายต่อการทำความเข้าใจเรียนรู้และคงอยู่ได้มากกว่าสารสนเทศที่ไม่สอดรับกับ scheme ดังกล่าว scheme ที่พัฒนาอย่างดีแล้วจะจัดระบบเป็นลำดับชั้น (hierarchies) คล้ายกับมีหัวข้อรายการที่เชื่อมยึดโยงใยอยู่ใน schemata (Ausubel,1963)

ส่วนที่สำคัญมีความลึกซื้งของทฤษฎี schema ในการเรียนรู้อย่างมีความหมายคือการเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างกระตือรือร้นของผู้เรียน อันเป็นเจ้าบ้านของความรู้และประสบการณ์ที่มีมาก่อน ที่จะนำมาสู่สิ่งที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจที่จะต้องเข้าไปร่วมไม้ร่วมมือ เข้าไปมีความสัมพันธ์กับสารสนเทศใหม่ที่เข้ามา

David Ausubel (1960,1963) ได้พัฒนาวิธีการที่เรียกว่า Advance Organizer เพื่อนำทางให้แนวทางแก่ผู้เรียนในรูปของสื่อการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ และช่วยให้ผู้เรียนจดจำสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อช่วยนักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมสัมพันธ์กับสารทนเทศใหม่ที่นำเสนอต่อผู้เรียน Advance Organizer เป็นเหมือนประโยคพื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะให้เรียนรู้ และจัดเตรียมโครงสร้างสำหรับสารสนเทศใหม่ ให้สัมพันธ์กับสารสนเทศที่ผู้เรียนมีอยู่ นักเรียนจำนวนมากได้ก่อตัวจัดตั้งให้ Advance Organizer เป็นตัวการเพิ่มความเข้าใจให้กับการเรียนรู้ ในแต่ละเนื้อหาของสื่อที่จัดให้ นอกจากนี้ advance organizer ดูเหมือนว่าจะมีประโยชน์มากที่สุดกับการสอนเนื้อหาที่จัดโครงสร้างไว้อย่างดีที่อาจจะไม่ปรากฏต่อนักเรียนในทันทีฅ

การสอนที่ดีเป็นความสามารถของครูที่จะหยั่งลึก เข้าถึงความเข้าใจของผู้เรียน มโนทัศน์พื้นฐานของทฤษฎี Ausubel ก็คือการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยสรุปเพื่อให้มีการเรียนรู้อย่างมีความหมายผู้เรียนแต่ละคนจะต้องนำเอาความรู้ใหม่ไปสัมพันธ์กับมโนทัศน์และข้อความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว ที่ต่างไปจากการเรียนรู้เชิงรับที่จัดสารสนเทศที่จะเรียนรู้ให้ผู้เรียนโดยตรง

มะพร้าวพืชป้องกันรักษาสารพัดโรค

จากที่เราเคยเข้าใจว่ามะพร้าวเป็นพืชที่มีไขมันอิ่มตัว และคิดว่ามีคอเรสเทอร์รอลสูง เมื่อรับประทานมะพร้าว คอเรสเทอร์รอลในมะพร้าวจะแพร่ไปในกระแสโลหิต และเป็นสาเหตุทำให้เส้นเลือดอุดตันทำให้หัวใจขาดโรคและทำให้หัวใจวาย จึงทำให้หลายคนลดการรับประทานอาหารที่มีมะพร้าวเป็นองค์ประกอบ จะด้วยเหตุผลอื่นใดที่ทำให้เราเข้าใจเช่นนั้น ในเวลาเดียวกันนั้นเราก็คิดว่าน้ำมันพืชอื่น ไม่ว่าน้ำมันปาล์ม น้ำถั่วเหลือง และอื่นๆ มีคุณสมบัติที่ดีกว่า จึงได้รับการส่งเสริมให้รับประทานมากกว่าน้ำมันมะพร้าว แต่เมื่อมาทบทวนกลับพบว่าประเทศที่ใช้อาหารมะพร้าวเป็นส่วนผสมกลับเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจน้อยกว่าประเทศที่ใช้น้ำมันพืชอื่นมาก ไม่เพียงเท่านั้นยังพบว่าน้ำมันมะพร้าว จากกระบวนอัดเย็นที่เรียกว่าน้ำมันมะพร้าวพรหมจันทร์ หรือน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ มีคุณสมบัติที่เป็นยาอายุวัฒนะ และเป็นตัวป้องกันรักษาโรคได้สารพัดโรคทีเดียว


จากการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้พบว่า น้ำมันมะพร้าวที่มีกรดไขมันอิ่มตัวก็ตามแต่มีคอเรสเทอร์รอลน้อยกว่าน้ำมันพืชอื่นๆ และที่สำคัญก็คือเป็นไขมันที่ร่างกายสามารถเผาผลาญเป็นพลังงานได้ทันที่ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งสำหรับคนที่รับประทานอาหารมะพร้าวจะไม่อ้วน และจากการทดลองให้รับประทานน้ำมันมะพร้าวก็พบว่าคอเรสเตอร์รอลไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นตามที่เคยคิดกัน การพบคุณสมบัติสำคัญอันได้แก่เป็นตัวฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รา ยีสต์ และโปรตัวซัว และไว้รัสบางชนิดรวมทั้งพวกที่มีเกาะเปาะไขมันหุ้ม น้ำมันมะพร้าวสามารถละลายได้และกรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวสามารถทำลายเชื้อโรคนั้นได้ จะเห็นได้ว่าสามารถทำหน้าที่ได้ดีกว่ายาปฏิชีวันนะโดยทั่วไป

ในน้ำมันมะพราวจากการอัดเย็นยังมีวิตามินอี ที่สามารถป้องกันการเกิดอ๋อกซิแดนซ์ และต้านการเกิดอนุมูลอิสระได้ ทำให้ลดการเสื่อมสภาพส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ได้ดี นั่นก็คือช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง ใช้น้ำมันมะพร้าวนวดช่วยรักษากระดูก ไขข้อให้ทำงานดีขึ้น ทำให้ผิวเนียนอ่อนนุ่ม ลบรอยย่อน ลดการตกกระและฟ้า ผิวหยาบกร้านเนื่องจากแดด นำมากำจัดเชื้อโรคที่ทำให้เกิดรังแคเป็นต้น นอกจากนี้สำหรับเนื้อมะพร้าวยังเป็นอาหารทีมีไฟเบอร์สูง น้ำมะพร้าวมีสารอาหารโดยเฉพาะเอนไซม์บางชนิดที่มีประโยชน์ ทั้งยังสามารถนำไปทำวุ้นมะพร้าวได้อีกด้วย

ในการทำน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ไว้ใช้เองในกระบวนการอัดเย็นก็คือ เมื่อคั้นกะทินำมาใส่ภาชนะ แล้วทิ้งให้เย็น จะเห็นได้ชัดว่าแบ่งออกเป็นสามส่วนแยกกันส่วนบนเป็นครีม ส่วนกลางเป็นส่วนของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ และส่วนล่างเป็นน้ำและเศษกากที่หลงเหลืออยู่่ ให้เอาส่วนบนออกหรือดูดเอาเฉพาะส่วนกลาง

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความเชื่อเมื่อก้างติดคอ

คนที่ก้างปลาติดคอจะรู้สึกถึงความทนทุกข์ทรมานได้ดีว่า  ก่อให้เกิดความรำคาญและเจ็บปวดเพียงใด บางรายเจ็บปวดอยู่หลายวันกว่าจะหายไป บางรายก็ต้องให้คุณหมอให้ยาสลายก้าง หรือใช้เครื่องมือดึงออกมา   แต่มีความเชื่อกันอย่างหนึ่งว่าถ้าจะให้ก้างติดคอหลุดออกไปนั้นให้ไปขอน้ำจากผู้ที่คลอดแล้วเอาเท้าออกมาก่อน มาดื่มกินแล้วอาการก้างติดคอจะหายได้ทันที คือหลุดออกจากคอได้อย่างน่าอัศจรรย์  มีเทคนิคว่าเวลาไปขอน้ำดื่มต้องไม่มองก่อนว่าก้างติดคอ แต่คนที่จะให้น้ำดื่มจะรู้เอง ในบางท้องที่หรือแม้แต่ในฝั่งประเทศลาวก็มีความเชื่อเช่นนี้ บางที่บอกว่าต้องใช้เท้าคนที่คลอดเอาเท้าออกก่อนนั้นแหละมาลูบหรือเกาที่คอรับรองหลุดแน่ๆ

ปัจจุบันการคลอดที่ให้เท้าออกก่อนนั้นคงเป็นไปได้ยากเพราะหากหมอเห็นว่าอันตรายก็มักจะทำคลอดโดยการผ่าตัด ความเชื่อเช่นว่านี้ก็อาจหายไป

โมเดลการสมานฉันท์

จากแนวคิดของคาปลา ที่ให้รู้ นิเวศวิทยา (eco-literacy) แทนที่จะเป็นการ รู้วิทยาศาสตร์ (Science literacy) อย่างเดียว เพราะการรู้วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดสมรรถนะในทางวิชาการ ความรู้ ความสามรถ แต่ขาดความสัมพันธ์เชื่อมโยง ทำให้โลกของเราเต็มไปด้วยคนที่เห็นแก่ตัว เห็นแก่พวกพวก ทำให้ละเลยความถูกต้อง จนทำให้โลกเกิดความวุ่นวายไม่รู้จบสิ้น ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน  คาปลาได้แสดงทัศนะว่า สังคมโลกของเราจะอยู่รอดปลอดภัยอยู่ได้ก็เมื่อ เราได้เข้าใจหลักการทางนิเวศวิทยา นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไมคาปลาจึงได้แนะให้มีการรู้นิเวศวิทยา  โดยที่การรู้นิเวศวิทยาตามแนวคิดนี้จะประกอบด้วย หลักการทางนิเวศวิทยา และ แนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะต้องนำหลักการดังกล่าวไปใช้ในการปฏิรูปด้านต่างๆ  แม้แต่ในเรื่องของการสมานฉันท์ จะมาดูว่าทำไมการรู้นิเวศวิทยาจะนำมาซึ่งการสมานฉันท์

โดยทั่วไปแล้วหลักการทางนิเวศวิทยานั้นมุ่งชี้ให้เห็นของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตว่า สิ่งมีชีวิตหนึ่งต้องพึ่งพาอีกสิ่งมีชีวิต ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดที่จะอยู่รอดปลอดภัยโดยไม่พึ่งพาสิ่งมีชีวิตอื่น  ระบบชีวิตจึงเป็นเครือข่ายของความสัมพันธ์  ทุกชีวิตมีความสำคัญที่จะให้ชีวิตอื่นดำรงอยู่ การตัดวงจรทำร้ายสิ่งมีชีวิตด้วยกัน เป็นเหมือนการทำลายความสัมพันธ์ ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย  เช่นเดียวกับมนุษย์ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน  ไม่มีใครที่อยู่ได้โดยไม่พึ่งผู้อื่นไม่ว่าจะยากดีมีจน เป็นเศรษฐีร่ำรวยมหาศาลแค่ไหน เมื่อพิจารณา ก็ต้องอาศัยผู้อื่นทั้งนั้นจึงทำให้ร่ำรวย ลองจิตนาการหากว่าไม่มีคนจนเลย มีแต่คนรวยจะอยู่ได้หรือไม่  หรือแม้จะไม่แตกต่างกันมากนักในฐานะ แต่ใช่ว่าทุกคนจะทำอะไรได้ด้วยตนเองทุกเรื่อง เพราะบางเรื่องเราต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่ดี ความร่ำรวยของคนๆ หนึ่งอาจไปทำลายล้างคนอีกกลุ่มหนึ่งโดยไม่รู้ตัวหากสืบสาวราวเรื่องดูก็จะเห็นในเรื่องนี้   การที่เราจะมีความสุขอยู่ได้ขณะที่คนรอบข้างมีความทุกข์นั้น ไม่น่าจะเป็นความสุขที่แท้   การคิดเชิงระบบนั้นเป็นการคิดแบบองค์รวม ที่มีความสัมพันธ์ให้รอบด้าน ทำให้เราได้เห็นถึงความ เป็นอยู่ของผู้คนที่มีความแตกต่าง ทำให้มองเห็นว่าใครที่ได้เปรียบเสียเปรียบ เราก็คงไม่อยากให้คนที่เรารักและสัมพันธ์ด้วยเสียเปรียบ ดังนั้นการมองในทัศนะที่ให้ทุกคนรู้นิเวศวิทยา โดยนำหลักการทางนิเวศวิทยาและความคิดเชิงระบบไปใช้ น่าจะเป็นโมเดลที่จะนำความสมานฉันท์มาสู่สังคมของเราได้

สรรพคุณของรางจืด

รางจืดเป็นพืชไม้เลื้อย เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการถอนพิษแก้แพ้ต่างๆ ได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการแพ้ยาฆ่าแมลง แพ้อากาศ แพ้ผงชูรส ก็รับประทานรางจืดก็ทำให้บรรเทาและหายไปได้ แม้กระทั่งพิษสัตว์กัดต่อย เช่นเมื่อเอาเหล็กในออกไปแล้วใช้ใบรางจืดขยี้ทาก็จะทำให้หายปวดได้เร็วชงัดทีเดียว

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อินเซ็บชั่นทางจิต

ในบล็อกที่แล้วมาผู้เขียนได้เล่าเรื่องย่อๆ ของภาพยนต์เรื่อง Inception  ที่กล่าวถึงการสร้างฝัน ฝันร่วมกัน เหมือนกับการจิตนาการ  การนอนหลับอยู่แต่ความฝันจากจิตใต้สำนึกของตัวเอง ก่อให้เกิดพฤติกรรมใหม่ๆ หากใครสักคนสามารถควบคุมความฝันของอีกคนหนึ่งได้ก็เหมือนกับสามารถที่จะสกดหรือจูงจิตได้  ภาพยนต์เรื่องดังกล่าวดูจะเป็นเพียงมายา แต่ก็อดคิดไม่ได้ถึงสภาพสังคมไทยที่หลงยึดติดอยู่ในมายา การปลูกฝัน จูงจิตให้จิตนาการไปต่างๆ นานา โดยเฉพาะเรื่องการละลึกชาติว่าเคยเป็นโน่นเป็นนี่มาก่อน 

ทำให้หวลนึกถึงเมื่อครั้งประมาณ 30 ปีมาแล้วที่เมื่อครั้งเป็นวิทยาลัยครู คุณผัน วิสูตรนักสกดจิต ได้มาสกดจิตหมู่นักศึกษาในห้องประชุม  โดยพยายามสกดจิตโดดจูจิตนักศึกษาขณะนั้นให้คล้อยตามไปที่ละนิดแล้วให้หลับ หลับลึก แล้วจูงต่อไปว่า ให้นึกย้อนกลับไปในอดีต เรืีอยๆ ไปยนถึงวัย ทารก และวัยที่อยู่ในท้องแม่ แล้วเลยไกลไปอีกเมื่อครังอดีตที่ยังไม่มาเกิด หรือชาติที่แล้วว่าไปประสบ พบเจออะไรมาบ้าง  แล้วจูงกลับมาปัจจุบัน แล้วเลยไปในอนาคตว่า จะเป็นอะไร มีอาชีพอะไร   แล้วก่อนที่จะปลุกให้ตื่นจากการถูกสะกดจิต บางคนก็ร้องห่มร้องให้ เพราะไปเจอสภาพที่น่าสงสารของญาติมิตร พ่อแม่ 

เมื่อนักศึกษาตื่นขึ้นมาจากการถูกสกดจิต แล้วผู้เขียนได้ไปสัมภาษณ์เชิงลึกนักศึกษาคนหนึ่งว่า เมื่อถูกชักจูงไปในอนาคตนั้นเธอจะได้เป็นอะไร ได้รับคำตอบสำหรับนักศึกษาคนนั้นว่า จะกลับมาเป็นอาจารย์ที่สถาบันแห่งนี้อีก  แต่ผมรอยู่จนใกล้จะเกษียณแล้วก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะกลับมาเป็นอาจารย์  จึงคิดได้ว่า การสะกดจิต จูงใจในลักษณะนี้ ทำให้คนที่ถูกสะกดจิตนั้นหลงไปกับความฝัน หรือมายาคติ สร้างความคลุมเคลือให้กับความเป็นจริงและความฝัน และจิตใต้สำนึก

อินเซ็บชั่น ความฝันที่ไล่ล่า

วันนี้ได้มีโอกาสดูภาพยนต์เรื่องอินเซ็บชั่น (inception)  นำแสดงโดยลีโอนาโด  ดิคาปริโอ
เป็นภาพยนต์ที่ แม้แต่ความฝัน ก็ยังมีคนอื่นที่จะขอเข้าไปอยู่ในความฝัน ในลักษณะของการฝันร่วมกัน ที่จิตใต้สำนึกของแต่ละคนก็จะแสดงออกมาในความฝันให้เห็น มีการออกแบบความฝัน สามารถที่จะวางแผนเข้าไปเปลี่ยนความคิด ความรู้สึกในความฝัน   อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วในหนังเรื่องนี้ การอินเซ็บชั่นที่ปลูกฝังความฝันให้กับใครแล้ว หากเกิดหลงไปว่าอะไรที่เป็นจริง และอะไรที่เป็นความฝัน หากแยกไม่ออกก็จะเป็นอันตราย ดังผู้แสดงนำฝ่ายหญิงหรือนางเอก นั้นคิดว่าในชีวิตจริงนั้นเป็นความฝัน ก็เลยคิดว่าเป็นการฝันฆ่าตัวตาย จะเป็นไรไปในเมื่อเป็นความฝัน แต่แท้ที่จริงแล้วนั้นคือความเป็นจริงหรือ reality

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ลูกนกกาเหว่าได้รับการเลี้ยงดูที่ไหน

มดทหารเดินแถวจริงหรือ

มะพร้าวพืชป้องกันโรคและบำบัดโรค

จากที่เราเคยเข้าใจว่ามะพร้าวเป็นพืชที่มีไขมันอิ่มตัว และคิดว่ามีคอเรสเทอร์รอลสูง เมื่อรับประทานมะพร้าว คอเรสเทอร์รอลในมะพร้าวจะแพร่ไปในกระแสโลหิต และเป็นสาเหตุทำให้เส้นเลือดอุดตันทำให้หัวใจขาดโรคและทำให้หัวใจวาย จึงทำให้หลายคนลดการรับประทานอาหารที่มีมะพร้าวเป็นองค์ประกอบ จะด้วยเหตุผลอื่นใดที่ทำให้เราเข้าใจเช่นนั้น ในเวลาเดียวกันนั้นเราก็คิดว่าน้ำมันพืชอื่น ไม่ว่าน้ำมันปาล์ม น้ำถั่วเหลือง และอื่นๆ มีคุณสมบัติที่ดีกว่า จึงได้รับการส่งเสริมให้รับประทานมากกว่าน้ำมันมะพร้าว แต่เมื่อมาทบทวนกลับพบว่าประเทศที่ใช้อาหารมะพร้าวเป็นส่วนผสมกลับเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจน้อยกว่าประเทศที่ใช้น้ำมันพืชอื่นมาก ไม่เพียงเท่านั้นยังพบว่าน้ำมันมะพร้าว จากกระบวนอัดเย็นที่เรียกว่าน้ำมันมะพร้าวพรหมจันทร์ หรือน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ มีคุณสมบัติที่เป็นยาอายุวัฒนะ และเป็นตัวป้องกันรักษาโรคได้สารพัดโรคทีเดียว


จากการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้พบว่า น้ำมันมะพร้าวที่มีกรดไขมันอิ่มตัวก็ตามแต่มีคอเรสเทอร์รอลน้อยกว่าน้ำมันพืชอื่นๆ และที่สำคัญก็คือเป็นไขมันที่ร่างกายสามารถเผาผลาญเป็นพลังงานได้ทันที่ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งสำหรับคนที่รับประทานอาหารมะพร้าวจะไม่อ้วน และจากการทดลองให้รับประทานน้ำมันมะพร้าวก็พบว่าคอเรสเตอร์รอลไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นตามที่เคยคิดกัน การพบคุณสมบัติสำคัญอันได้แก่เป็นตัวฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รา ยีสต์ และโปรตัวซัว และไว้รัสบางชนิดรวมทั้งพวกที่มีเกาะเปาะไขมันหุ้ม น้ำมันมะพร้าวสามารถละลายได้และกรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวสามารถทำลายเชื้อโรคนั้นได้ จะเห็นได้ว่าสามารถทำหน้าที่ได้ดีกว่ายาปฏิชีวันนะโดยทั่วไป

ในน้ำมันมะพราวจากการอัดเย็นยังมีวิตามินอี ที่สามารถป้องกันการเกิดอ๋อกซิแดนซ์ และต้านการเกิดอนุมูลอิสระได้ ทำให้ลดการเสื่อมสภาพส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ได้ดี นั่นก็คือช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง ใช้น้ำมันมะพร้าวนวดช่วยรักษากระดูก ไขข้อให้ทำงานดีขึ้น ทำให้ผิวเนียนอ่อนนุ่ม ลบรอยย่อน ลดการตกกระและฟ้า ผิวหยาบกร้านเนื่องจากแดด นำมากำจัดเชื้อโรคที่ทำให้เกิดรังแคเป็นต้น นอกจากนี้สำหรับเนื้อมะพร้าวยังเป็นอาหารทีมีไฟเบอร์สูง น้ำมะพร้าวมีสารอาหารโดยเฉพาะเอนไซม์บางชนิดที่มีประโยชน์ ทั้งยังสามารถนำไปทำวุ้นมะพร้าวได้อีกด้วย

ในการทำน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ไว้ใช้เองในกระบวนการอัดเย็นก็คือ เมื่อคั้นกะทินำมาใส่ภาชนะ แล้วทิ้งให้เย็น จะเห็นได้ชัดว่าแบ่งออกเป็นสามส่วนแยกกันส่วนบนเป็นครีม ส่วนกลางเป็นส่วนของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ และส่วนล่างเป็นน้ำและเศษกากที่หลงเหลืออยู่่ ให้เอาส่วนบนออกหรือดูดเอาเฉพาะส่วนกลาง

รูปแบบการเรียนรู้แบบเจนเนอเรทีพ

ตามชื่อมาจากคำว่า Generative learning model คำว่า generative เป็นคำคุณศัพท์ ส่วน generator เป็นคำนามที่แปลว่าเครื่องกำเนิด (ไฟฟ้า) generative จึงเป็นที่สภาพที่กำเนิดหรือที่กำเนิด ดังนั้น Generative learning model จึงเป็นรูปแบบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ รูปแบบกำเนิดการเรียนรู้ เพื่อที่จะเปลี่ยนทัศนะแนวคิดของผู้เรียน ที่เน้นให้ว่านักเรียนจะกระตือรือร้น สร้างหรือก่อกำเนิดความหมายจากประสาทสัมผัสอินทรีย์ (sensory input) ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบนี้นั้น เน้นตามวัตถุประสงค์สามประการ

ต้องทำให้ทัศนะของนักเรียนให้ชัดว่าเป็นอย่างไรก่อน

ปรับเปลี่ยนทัศนะนักเรียนไปทางทัศนะทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

แล้วทำให้ทัศนะทางวิทยาศาสตร์เข้มแข็งมั่นคงขึ้นภายใต้ความรู้พื้นฐานที่นักเรียนมี

สำหรับกระบวนการในการสอนรูปแบบที่กำเนิดการเรียนรู้ กล่าวคือ

ในขั้นแรกเริ่มต้องมั่นใจให้ได้ถึงทัศนะที่มีอยู่ของนักเรียน ในขั้น focus ตามด้วยขั้น challenge หรือท้าทาย และขั้นการประยุกต์ (application) ที่มุ่งไปที่นำเอาทัศนะของนักเรียน เข้าไปอยู่ในแนวเดียวกับทัศนะทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่ยอมรับกัน

generative learning หรือการเรียนรู้ที่กำเนิดขึ้น เป็นทฤษฎีหนึ่งที่เน้นการบูรณาการสื่อใหม่ต่างๆอย่างแข็งขันกับแบบแผนความคิด (schemata) ที่มีอยู่ หรือการเข้าใจแนวคิดที่ผู้เรียนจะต้องบูรณาการอย่างกระตือรือร้นกับข้อมูลสารสนเทศใหม่ เข้ากับความเข้าใจหรือแบบแผนการคิดที่มีอยู่ เป็นข้อตกลงเบื้องต้นหลัก ของรูปแบบการเรียนรู้ที่เรียกว่า “generative learning ” (Wittrock, 1978,1976) ที่กล่าวอีกอย่างว่า การเรียนรู้ทั้งหมดเป็นการค้นพบ (all learning is discovery)

การพัฒนาเชิงมโนทัศน์

สิ่งที่จะให้เรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะแนวคิดในเนื้อหาวิชาและการประยุกต์กับโลกแห่งความเป็นจริง การเรียนรู้เกิดขึ้นโดยการตีความ สร้างตัวแทนความรู้จากการอ่านอะไรก็ตาม ได้ฟังได้ยินมา และสังเกตมา การบูรณาการกับการเปลี่ยนความคิดที่มีอยู่เดิมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ บทบาทของครูที่สำคัญก็จะต้องสะท้อนแนวคิดของนักเรียนและตีความให้ ทางเลือกที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน นำนักเรียนไปสู่ความไม่พึงพอใจกับความคิดเดิมที่มีอยู่ เพื่อเทียบกับแนวคิดใหม่ผ่านการประยุกต์ใช้ มีหลักฐานอ้างอิง และการถกเถียงโต้แย้ง ในเรื่อง

มโนทัศน์แต่ละมโนทัศน์ที่ได้รู้เป็นการเสริมแรงในตัวเอง

ความรู้ของเนื้อหาวิชา

ตื่นรู้ถึงความยากลำบากของนักเรียน และซื่อไร้เดียงสาของมโนทัศน์ที่มี

สื่อการเรียนรู้ที่แนะนำเริ่มจากชุดของคำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของนักเรียนกล่าวคือ

โดยใช้ยุทธศาสตร์การสอนเพื่อพัฒนาความคิดที่ลึกซี้งให้นักเรียน

เน้นให้ชัดเจนถึงคุณของความเข้าใจมโนทัศน์และการตีความของนักเรียน

นักเรียนทั้งหมดสามารถที่จะเข้าใจได้ ถ้ามีอุปสรรควิกฤติอยู่ในมโนทัศน์ของนักเรียนที่หาได้ว่าเป็นอย่างไรตรงไหน และใช้หลักฐานอ้างอิงที่เหมาะสม หรือการอภิปรายถกเถียงที่ทำให้ข้ามพ้นอุปสรรค์ดังกล่าวไปได้

ความก้าวหน้าไม่เคยหยุดอยู่กับที่ เพราะว่าในทัศนะนี้นำครูไปให้ใช้ความพยายามต่อไปในการทบทวนการสอน แสวงหาความเข้าใจที่แจ่มแจ้งลึกเข้าไปในความคิดของนักเรียน ซึ่งจะให้ความมั่นใจที่มีนักเรียนมากพอที่จะเปลี่ยนใจ เปลี่ยนความคิดในเรื่องหลักสำคัญได้ถูกต้อง

การสอนวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปในลักษณะที่ส่วนใหญ่ของนักเรียนที่สอนได้เข้าใจมากกว่าการจำ มีทางที่เป็นไปได้ แต่ต้องอาศัยจำนวนหัวข้อเนื้อหาความรู้ที่ที่สำคัญ ของนักเรียนที่มีมโนทัศน์ซื่อใสไร้เดียงสาอยู่ และยุทธวิธีการสอนสำหรับการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์

ครูจำเป็นต้องรับเอาเป้าหมายในการช่วยนักเรียนส่วนใหญ่ทั้งหมดให้เข้าใจวิทยาศาสตร์

ครูจำต้องจัดให้เข้าไปจัดการหัวข้อเนื้อหาความรู้ที่ตอนนี้ ไม่ได้พร้อมจัดให้แก่ผู้เรียน

ตรวจสอบภายในกันทำไม

โดยทั่วไปการตรวจสอบภายใน (Internal auditing) หมายถึงการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านต่างๆภายในองค์กรอย่างอิสระด้วยการสอบทานการทำงานเพื่อเป็นเครื่องเมื่อของฝ่ายบริหาร ระบบการควบคุมภายในจึงมีความสำคัญและมีสวนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการดำเนินกิจการขององค์กร ......

จุดมุ่งหมายหลักๆ ของการตรวจสอบภายใน ประการแรกก็เพื่อเป็นการป้องกัน และติดตามค้นหาสาเหตุของความเสียหายหรือสูญเสียต่างๆ ขององค์กร ในขั้นต่อไปก็เพื่อทำการวัด ทดสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเครื่องมือการตรวจสอบภายในโดยเฉพาะว่ามีจุดปฏิบัติงานใดที่ซ้ำซ้อน ที่ไม่ประสานสัมพันธ์กัน และสุดท้ายเป็นการตรวจสอบให้เป็นไปในทางที่เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการขององค์กรทั้งระบบ .....

ขอบข่ายของการตรวจสอบภายในจึงมีตั้งแต่การสอบทานประเมินความเหมาะสมของหลักการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการปํญชี การเงิน และการปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบดูว่านโยบาย แผนงานและระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่กำหนดไว้มีการปฏิบัติจริงหรือไม่ ตรวจสอบดูว่ามีการบันทึก และควบคุมการเก็บรักษาทรัพสินไว้ในลักษณะที่เหมาะสม และสามารถป้องกันความเสียหายอย่างเพียงพอ ตรวจสอบระบบประมวลผลข้อมูลภายในองค์กรว่าถูกต้องน่าเชื่อถือหรือไม่ ประเมินผลการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ว่าเป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่มอบหมายให้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงไร และเสนอแนะ ข้อแก้ไขปรับปรุง การปฏิบัติงานด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ....

อ้างอิง การตรวจสอบภายใน เจริญ เจษฏาวัลย์

สมรรถนะ

สมรรถนะ (competency) หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ และความสามารถ ตลอดจนทัศนคติที่จำเป็นในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และคุณลักษณะอื่น ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานหลายคนอื่นๆ ผลงานวัดได้โดยใช้ KPI (Key performment Indicator) พฤติกรรมของผู้มีผลปฏิบัติงานยอดเยี่ยมในงานหนึ่งๆ ประกอบด้วยสมรรถนะดังนี้

1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ หมายถึงความมุ่งมั่นการปฏิบัติบัติงานให้ดีตลอดจนการสร้างสรรค์พัฒตาผลงาน
2. การบริการที่ดี หมายถึงความตั้งใจและพยายามบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
3. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ หมายถึง ขวนขวาย สนใจใฝ่รู้ พัฒนาศักยภาพความรู้ความสามารถของตน เพื่อมาปรับปรุงเข้ากับงาน
4. จริยธรรม หมายถึง การครองตนและประพฤติปฏิบัติถูกต้องเหมาะสมตามหลักกฏหมาย และคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนหลักแนวทางในวิชาชีพของตน
5. ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ หมายถึงความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น
6. ความสามารถในเชิงวิเคราะห์ หมายถึงความสามารถด้านการคิด แยกแยะภายใต้ สถานการณ์เพื่อประกอบกับองค์ความรู้
7. ความสามารถในเชิงจัดการ หมายถึงความสามารถในการจัดการโดยมีความตั้งใจทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
8. ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลและกลุ่มบุคคล หมายถึงความสามารถในในการรับรู้และเข้าใจถึงความต้องการของบุคคลที่สำคัญต่อ ผลสำเร็จของงานหมายถึง ลักษณะเฉพาะบุคคล
9. คุณลักษณะเฉพาะบุคคลที่สำคัญต่อผลสำเร็จของงาน หมายถึงลักษณะเฉพาะบุคคล 10. ความสามารถเพื่อสนองตอบปัจจัยความเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง หมายถึงความสามารถในการจัดสรร ตอบสนอง และให้การสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อองค์กร และบุคคล อ้างอิง เอกสารบรรยาย จากการเข้าร่วมประชุม

ไม่มีอะไรจริงในควอนตัม

ในกลศาสตร์ควอนตัมมีสมการที่อธิบาย พฤติกรรมของวัตถุที่เล็กมากยิ่งกว่าสิ่งที่เรามองไม่เห็น กล่าวคือมีขนาดเล็กในระดับอะตอมหรือเล็กกว่า ทฤษฎีควอนตัมหนึ่งเดียวเท่านั้นที่ให้คำอธิบายของโลกของสิ่งที่เล็กมากๆ ถ้าปราศจากสมการเหล่านี้แล้ว นักฟิสิกส์คงไม่สามารถออกแบบ หรือทำงานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์(ไม่สามารถที่จะทำระเบิดนิวเคลียร์หรือระเบิด อะตอม) ไม่สามารถที่จะสร้างทำแสงเลเซอร์ขึ้นมา หรืออธิบายว่าทำไมรังสีจากดวงอาทิตย์จึงร้อน และถ้าปราศจากกลศาสตร์ควอนตัม วิชาเคมีคงยังจมอยู่ในยุคมืด และคงจะไม่มีวิทยาศาสตร์ของชีวโมเลกุลเกิดขึ้น และยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับ DNA และไม่มีพันธุวิศวกรรม


ทฤษฎีควอนตัมบ่งชี้ให้เห็นความสำเร็จสูงที่สุดของวิทยาศาสตร์เท่าที่เคย มีมา มีนัยสำคัญที่กว้างไกล ในการนำไปใช้ได้โตยตรงในทางปฏิบัติ มากกว่าทฤษฎีสัมพันธภาพ การพยากรณ์ที่ประหลาดในโลกของกลศาสตร์ควอนตัม แปลกมาจนแม้แต่ไอน์สไตย์ ก็ยังพบว่ายากต่อการทำความเข้าใจ และปฏิเสธที่จะยอมรับการนำทฤษฎีควอนตัมที่พัฒนาขึ้นโดยชเรอดิงเงอร์และผู้ ร่วมงานของเขามาใช้ ไอน์ไตย์และนักวิทยาศาสตร์อื่นอีกมากมีความรู้สึกว่าจะเป็นการดีกว่าที่ เชื่อว่า สมการในกลศาสตร์ควอนตัม นั้นเป็นอะไรบางอย่างที่ของการเป็นกลวิธีทางคณิตศาสตร์ เพียงปรากฏให้เห็นว่าเป็นเรื่องมีเหตุผลดี ที่นำให้เห็นว่ามีเหตุผลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมระดับอะตอมและกึ่ง อะตอม แต่ได้ปกปิดความจริงที่ลึกลงไปที่สอดกล้องกันมากกว่า ความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน

สำหรับอะไรที่กลศาสตร์ควอนตัมบอกให้ทราบก็คือ ไม่มีอะไรที่เป็นจริง และนั่นเราไม่อาจกล่าวอะไรได้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ถ้าเราไม่เข้าไปเฝ้ามองมัน แมวของชเรอดิงเงอร์ได้นำเสนอขึ้นมาเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างโลกของ ควอนตัมและโลกในชีวิตประจำวันได้ชัดเจน

ในโลกของกลศาสตร์ควอนตัมกฏทางฟิสิกส์ที่เราคุ้นเคยในชีวิตประจำวันไม่ สามารถใช้ได้อีกต่อไป แต่แทนเหตุการณ์ต่างๆทีควบคุมด้วยความน่าจะเป็น (probabilities) ตัวอย่างเช่นอะตอมกัมมันตรังสีอาจจะสลายตัวปลดปล่อยอิเลคตรอนตัวหนึ่ง หรือกล่าวได้ว่า อาจจะไม่มีการสลายตัวให้อิเลคตรอนเลยก็ได้ เป็นไปได้ที่จะจัดการทดลองให้เห็น ในทางที่มีโอกาส 50-50 เปอร์เซนต์แน่นอนที่สุด ที่อะตอมหนึ่งหนึ่งในชิ้นของสารกัมมันตรังสีจะสลายตัวในเวลาหนึ่ง และตัวตรวจจับบันทึกการสลายตัว ถ้าการสลายตัวเกิดขึ้น

ชเรอดิงเงอร์ ไม่พอใจเท่ากับที่ไอน์สไตย์ ในการนำทฤษฎีควอนตัมไปใช้ ความพยายามี่จะแสดงการนำไปใช้ทีผิดแผกออกไป โดยการจินตนาการเป็นการทดลองในความคิด โดยการจัดการทดลองในห้องปิดหรือกล่องที่นำแมวที่มีชีวิตมาไว้ภายใน และชุดภาชนะที่ใส่ยาพิษไว้ โดยจัดไว้ในลักษณะที่ ถ้าสารกัมมันตรังสีสลายตัวเกิดขึ้นละก็ ภาชนะที่ใส่ยาพิษก็จะแตก แล้วยาพิษนั้นจะมาทำให้แมวตาย ตามโลกในชีวิตประจำวันเรากล่าวได้ว่ามีโอกาสที่แมวจะตาย 50-50 เปอร์เซนต์ที่แมวจะถูกทำให้ตาย โดยไม่ต้องมองเข้าไปดูภายในกล่อง เรากล่าวได้ค่อนข้างแน่ใจว่า แมวภายในกล่องนั้นไม่ตายก็รอด แต่ตอนนี้เราอยู่กับโลกควอนตัมที่ประหลาด ตามทฤษฎีควอนตัมแล้วไม่มีโอกาสทั้งที่แมวจะอยู่หรือตายที่เปิดรับสาร กัมมันตรังสี และดังนั้นแมวจะมีความจริงใดๆอยู่เมื่อไปสังเกตมัน การสลายตัวของอะตอมจึงไม่มี ทั้งที่เกิดขึ้น และไม่เกิดขึ้น จึงไม่มีทั้งแมวที่ตายและแมวที่มีชีวิต จนกระทั่งเราได้มองเข้าไปในกล่องเพื่อดูว่าอะไรเกิดขึ้น นักทฤษฎีที่ยอมรับกลศาสตร์ควอนตัมรุ่นแรก กล่าวว่าแมวยังคงอยู่ในบางสถานะที่หาค่าไม่ได้ ไม่มีทั้งการตายและการมีชีวิตอยู่ จนกว่าผู้สังเกตมองเข้าไปในกล่อง ดูว่ามีความเป็นไปอะไรในกล่อง นั่นก็คือไม่มีอะไรเป็นจริง นอกจากเราเข้าไปสังเกตหรือสิ่งดังกล่าวได้รับการสังเกต

ผลของปฏิกิริยาเคมี

ถ้าเราเผาสารชนิดหนึ่งแล้วผลที่ได้จากการเผาทั้งหมดคือ เถ้าถ่าน แกส และเข่มา เมื่อเก็บสิ่งได้จากการเผาทั้งหมดดังกล่าวไปชั่ง พบว่าน้ำหนักจะมากกว่าน้ำหนักของสารก่อนการเผาเล็กน้อย เพราะการเผาทำให้เกิดปฏิกิริยาการรวมตัวของสารนั้นกับธาตุออกซิเจนที่อยู่ในอากาศ ซึ่งเป็นตัวที่เป็นสาเหตุให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น

ธาตุทางเคมีที่คงตัว

มีธาตุทางเคมีที่คงตัวเพียง 81 ธาตุ ธาตุสุดท้ายที่ค้นพบคือ rhenium ซึ่งพบในปี 1925 จากนั้นค้นพบธาตุเพิ่มเติมอีก 15 ธาตุ แต่ทั้งหมดเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสีที่ไม่คงตัว

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาแบบ STS

ก่อนอื่น STS ย่อมาจาก Science Technology and Social เป็นการเรียนการสอนที่บูรณาการทั้งวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และมิติทางสังคมเข้าด้วยกัน ดังนั้นการสอนวิทยาศาสตร์แบบ STS จึงต้องการความชำนาญในยุทธวิธีการสอนที่กว้างขวางกว่า เช่นการคิดแบบปลายเปิด (divergent thinking) การทำงานเป็นกลุ่มย่อยขนาดเล็ก นักเรียนเป็นศูยน์กลาง การอภิปรายในชั้นเรียน การแก้ปัญหา การจำลองแบบและการจำลองสถานะการณ์ การตัดสินใจ การวิพากษ์วิจารณ์การเห็นแย้ง การโต้เถียงกันด้วยเหตุผล และรวมทั้งการสื่อ และการใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน (Iikenhead, solomon, 1989,1993)

ในแง่มุมของการศึกษาแบบ STS จะมีหลากหลายแนวทาง แนวทางในประเด็นที่นำไปสู่เทคโนโลยี แต่ไม่ลึกเข้าไปในคำถามทางสังคม ในแนวทางด้านอาชีพจะยกประเด็นคำถามเหล่านี้ขึ้นมา แนวทางที่ข้ามศาสตร์เน้นย้ำให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ แต่อาจจะเป็นไปได้ที่ทำให้ความเก่งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงเมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาทางสังคม

การศึกษาแบบ STS อยู่ในระดับที่ตื้นไม่ลึกซึ้งอะไร ถ้าปราศจากมิติทางประวัติศาสตร์ แต่ในเรื่องนี้ก็อาจเป็นไปได้กลายเป็นวิชาการมากเกินไป

ในแนวทางปรัชญาสามารถที่จะให้แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ แต่ก็เฉพาะที่ระดับพื้นฐานมาก เมื่อ STS เป็นเหมือนแนวทางการสอนและการเรียนรู้ในบริบทประสบการณ์ของมนุษย์

สำหรับในแง่มุมของหลักสูตร โดยหน้าที่บ่งถึงว่าอะไรที่เป็นเป้าหมายสำหรับการสอนวิทยาศาสตร์แบบ STS ที่ซึ่งให้มีความรูรอบมโนทัศน์ที่ลุ่มลึกขึ้น มีความสามารถที่จะใช้ทักษะกระบวนการ ปรับปรุงทักษะการคิดสร้างสรร ทัศนคติทางวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยาศาสตร์ ให้นำมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการมาใช้ในชีวิตประจำวัน และในการตอบสนองต่อการตัดสินใจส่วนบุคคล แนวทาง STS จึงหมายถึงแนวทางที่จะหาค่าหาคำตอบและโดยประสบการณ์ตรง ที่แนวคิดพื้นฐานและทักษะสามารถที่จะสังเกตได้ในสั้งเกต

STS ยังหมายถึงการมุ่งเน้นไปที่ปัญหาของโลกที่เป็นจริงที่มีองค์ประกอบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากแนวคิดทัศนะของนักเรียน แทนที่จะเริ่มจากมโนทัศน์และกระบวนการ ในลักษณะที่

นอกเหนือจากห้องเรียนไปยังชุมชนในท้องถิ่น

เหตุการปัจจุบัน

มีศักยภาพที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และรับผิดชอบในการทำเช่นนั้น

เน้นย้ำต่อความรับผิดชอบในการตัดสินใจในโลกแห่งความเป็นจริงของนักเรียน

ด้วยแนวทาง STS จะให้ทิศทางที่จะให้ทุกคนเป็นผู้รู้วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี

ปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษา

ตามแนวปรัชญามาตรฐาน คิดให้ความรู้นั้นยังต้องการที่จะอ้างเหตุผลสนับสนุน ทำนองเดียวกับความเชื่อและด้วยความจริง การได้มาซึ่งความรู้ในทางปรัชญาจำกัดโดยองค์ประกอบทั้งภายในและภายนอกตัวผู้รู้ คงจะต้องเป็นมากกว่าความเชื่อจริงในใจของใครบางคน ผู้ซึ่งไม่ได้อ้างเหตุผลสนับสนุนตามข้อเสนอ นอกจากว่าจะได้ทราบว่าทำไมจึงเป็นความจริง


ดังนั้นในขณะที่นักจิตวิทยามีแนวโน้มที่จะไม่แบ่งแยกชัดเจนระหว่างความเชื่อกับความรู้ ความแตกต่างจะเด่นชัดในเชิงปรัชญาของความรู้ ที่อาจมองว่าค่อนข้างเข้มงวดกว่า

การเรียนรู้ความจริงโดยการท่องจำดูเหมือนว่าจะสนิทแนบกับการได้มาซึ่งความเชื่อจริงโดยปราศจากการรู้ถึงการอ้างเหตุผลมาสนับสนุนสำหรับความเชื่อจริงนั้น ในทางการศึกษาต้องการความเข้าใจ และความเข้าใจต้องการเหตุผลสำหรับความจริงหรือความเชื่อ นี่ก็คือหลักของความรู้ในทางปรัชญาที่ใกล้เคียงกับหลักความเข้าใจที่มักอยู่ภายใต้เป้าหมายการศึกษา

ทำโฮมเพจซ์ฟรีกับ ไซต์ (site) กับ google

ในภาวะที่มีความไม่มั่นคงในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ถึงจะมีเครื่องแม่ข่ายเองก็เหมือนกับไร้ประโยชน์ จะเข้าไปอัฟโหลดดาวโหลด เพื่อสร้างเว็บไซต์ ใส่ข้อมูลอัฟเดท ก็ทำลำบาก ก็เลยอยากแนะให้มาทำเว็บไซต์กับ google ไม่ต้องมีเครื่องแม่ข่ายเอง แถมยังเร็วอีกต่างหาก เพราะเครื่องแม่ข่ายของ google นั้นรับประกันได้อยู่แล้วถึงความเร็วและเสถียร


ได้ทดลองทำไซต์โดยเข้าไปที่เว็บที่ใช้เป็นเครื่องจักรการค้นของ google แล้วไปที่เมนูไซต์ สิ่งที่ google ต้องการให้ผู้ใช้มีก็คือบัญชีผู้ใช้ของ Gmail เมื่อใส่ชื่อผู้ใช้ gmail และรหัสผ่านก็พร้อมที่จะสร้างโฮมเพจซ์ ได้อย่างง่ายดาย เริ่มจากให้ตั้งชื่อเว็บไซต์เป็นหัวโฮมเพจซ์ แล้วตามด้วยการกำหนด URL แน่นอนว่าส่วนนำจะต้องเป็นเทอมของ google และตามด้วยชื่อที่เรากำหนดเองส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม google ก็เปิดโอกาสให้ใช้ชื่อ URL อื่นได้ โดยไปจดชื่อโดเมนไว้เอง

สำหรับเอดิเตอร์ในการเขียนโฮมเพจซ์ ประกอบด้วยส่วนที่เขียนเมนูด้านข้าง และส่วนแสดงเนื้อหา ที่มีโครงสร้างลำดับ เป็นระเบียบ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเมื่อไม่นาน และมี site map ให้เหมือนกับเว็บไซต์มืออาชีพอีกด้วย มีเทคนิคอะไรจะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไป คงจะมีตัวอย่างการทำเว็บไซต์ในคราวต่อไป

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เรื่องของไอ้เท่งไอ้ทอง

หากใครไปที่สนามหน้าเมืองนคร ก็จะเห็นหุ่นจำลองของไอ้เท่งยืนอยู่แถมช่วยประชาสัมพันธ์ให้คนช่วยรักษากฏจราจรด้วยวาจาสุภาพที่เขียนบอกไว้ สำหรับคนที่ไม่ใช่คอหนังตะลุงก็ไม่ได้คิดอะไร จนมีคนทักท้วงว่าโดยนิสัยของไอ้เท่งนั้นไม่สุภาพอย่างนี้ โดยทั่วไปมักจะด่าพ่อแม่คนอื่น ผิดกับไอ้ทองที่พูดสุภาพกว่าเช่น ครับผม ผมครับ ทราบว่าได้มีการเสนอให้แก้ไขให้ถูกคนตามนิสัย  หรือใช้หุ่นจำลองไอทองมาทำหน้าที่แทน

การศึกษาคือทิศทางที่เป็นไป

การจัดการศึกษาในแต่ละประเทศส่งผลให้เกิดสภาพที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน การเกิดวิกฤติต่างๆในประเทศไทยรวมทั้งวิกฤติทางการศึกษาที่ด้อยคุณภาพในทุกระดับ ดังเราจะพบว่าเด็กอ่านหนังสือไม่ออก ผลสำฤทธิ์ทางการเรียนตกต่่ำในวิชาหลัก วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ การศึกษาที่มุ่งการกวดวิชาเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบันของประเทศไทย ทำให้ผู้เรียนขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริง และทำให้มีส่วนขาดวินัยและคุณธรรมและจริยธรรม ส่งผลให้ผลผลิตจากมหาวิทยาลัยด้อยคุณภาพลงไปด้วย และที่ส่งผลเห็นได้ชัดอย่างหนึ่งก็คือ การเลือกเรียนด้านวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยน้อยลงไปจนขาดแคลนอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งแน่นอนว่าถ้าปัญหานี้ยังดำรงอยู่จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตอย่างแน่นอน หากมองว่าสภาพที่ตั้ง สังคมวัฒนธรรมไม่ได้มีผลมากไปกว่าการแก้ปัญหาทางการศึกษา


หากดูแนวการพัฒนาการศึกษาของแต่ละประเทศอันเป็นทรีทเมนต์ของแต่ละประเทศ ประเทศเกาหลีแก้ปัญหาเรื่องการกวดวิชาและกลยุทธ์ใครเรียนอิเลคทรอนิกส์ไม่ต้องกเกณฑ์ทหาร ประเทศเวียตนามเน้นให้เก่งคณิตศาสตร์แล้วจะส่งผลให้เก่งด้านอื่นๆ การกวดวิชาอาจไม่มีผลเพราะเงินเดือนที่จบการศึกษาสาขาใดก็ไม่แตกต่างกัน สิงคโปร์จำต้องจัดการศึกษาให้ัคนมีคุณภาพจึงจะอยู่รอดได้ มาเลย์เซียก็มุ่งเน้นการศึกษาเป็นพิเศษดังเห็นได้จากคนที่จะมาเป็นครูจะต้องมีคุณภาพและเงินเดือนสูงกว่าการจบจากสาขาอื่น ก็ส่งผลให้คนมาเลย์เซียมีคุณภาพมากกว่า

สำหรับแนวทางปฏิรูปการศึกษาประเทศไทย แม้ว่าจะมีกฏหมายปฏิรูปการศึกษา แต่ไม่ได้เชื่อมโยงไปสู่การปฏิรูปด้านอื่นๆ ที่รวมอยู่ในการปฏิรูปการศึกษา หรือทำอย่างไรที่จะทราบว่าควรปฏิรูปอะไรก่อนหลัง และอะไรที่จะต้องทำพร้อมๆกัน ซึ่งก็ได้แต่ฝันว่าการศึกษาเราจะดีขึ้น อะไรๆที่ตามมาก็จะดีขึ้น แต่พอนึกถึงการกวดวิชา การกระจายให้โรงเรียนมีมาตรฐานเดียวกัน แล้วทำให้นึกว่าจะฝันลมๆ แล้งๆ ไปอีกนานเท่าใดที่จะให้คุณภาพการศึกษาไทยดีขึ้นหรือว่า จะแย่ลงไปและเกิดวิกฤติจนไม่สามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ก็ฝันและหวังอีกเช่นกันว่าขอให้เปลี่ยนเป็นไปในทางที่ดีก็แล้วกัน

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มาเป็นผู้เชี่ยวชาญกันเถอะ

การที่เราจะเป็นผู้เชี่ยวชานด้านใดด้านหนึ่งนั้น เราต้องมีใจรักมีความชอบเกี่ยวกับเรื่องนั้น และเราจะสนใจเรื่องนั้นเสมอ เป็นจุดตั้งต้น จากนั้นต้องอาศัยความตั้งใจความมุ่งมั่นที่จะหาความรู้เพิ่มเติมเฉพาะเรื่องที่สนใจเท่านั้น วิธีการที่ได้ผลก็คือความตั้งใจที่จะให้ความสำคัญที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มทุกวันในเรื่องที่จะให้เกิดความเชี่ยวชาน โดยใช้เวลาวันละ 10 นาทีไปจนถึงหนึ่งชั่วโมงทุกวัน ในการทำความเข้าใจศึกษาเพิ่มเติม เพิ่มประสบการณ์ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ หากสามารถทำได้ทุกวันไปจนครบ 1 ปีแล้วจะเห็นความแตกต่างในเรื่องความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างเด่นชัด


ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นคนฉลาดหลักแหลมปราดเปรื่องไปทั้งหมด แต่ให้มีความสนใจเช่นอ่านเกี่ยวกับเรื่องนั้นทุกวันวันละ 30 นาที หรือทดลองปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนั้นทุกวันเช่นฝึกหมุนลูกบาศก์รูบิกทุกวันก็จะทำให้ชำนาญใช้เวลาน้อยลงในการเล่น เชื่อว่าทุกคนเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้ขอให้มีความตั้งใจในการหาความรู้เพิ่มให้ได้ทุกวันวันละเล็กน้อยก็จะประสบผลสำเร็จได้อย่างไม่น่าเชื่อ

อาณาปนสติ วิถีแห่งความสุข

จากพุทธวจนะของพระพุทธองค์ที่ว่า ความสุขอื่นใดเหนือความสงบไม่มี การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบที่นิยมทำกันมากที่สุดอย่างหนึ่งได้แก่การทำอาณาปานสติที่ใช้การพิจารณาลมหายใจเข้าออกเป็นฐาน โดยแบ่งออกเป็น 3 ฐานอันได้แก่ สมถะกรรมฐาน สมถะวิปัสนา และวิปัสนาล้วนๆ ซึ่งสอดคล้องตามสติปัฏฐาน4 (กายานุปัสนา เวทนานุปัสนา จิตตานุปัสนา และธัมมานุปัสนา) และ ไตรสิกขา (ศิล สมาธิ และปัญญา)


โดยพื้นฐานที่สุดของอาณาปานสติขั้นต้นเราปฏิบัติสมถะกรรมฐาน โดยการใช้ร่างกายของเราเป็นวัตถุพิจารณาในสติปัฏฐาน4 ก็คือ กายานุปัสสนา ตรงกับไตรสิกขาที่จะต้องรักษาศิลและทำสมาธิ ในการปฏิบัติอาณาปาณสติขั้นต่อไปเป็นขั้นกลางในฐานสมถะวิปัสนา ที่มาพิจาณาทั้งกายและจิตคือ เวทนานุปัสนา และ จิตตานุปัสนา เข้าสู่ไตรสิกขาในเรื่องของปัญญา ที่ต้องพิจารณาให้เกิดปัญญา นอกเหนือจากส่วนที่เป็นสมถกรรมฐานสมบูรณ์อันมีศิลและสมาธิ

ในการทำอาณาปาณสติในขั้นปลายมีกรรมฐานที่เป็นวิปัสนาล้วนๆ ซึ่งนอกจากพิจารณาเวทนานุปัสนาและจิตานุปัสนาแล้วจะต้องพิจารณาถึงธรรมานุปัสนาที่อิงอาศัยปัญญาในการบรรลุธรรม โดยสรุป กายานุปัสนาสติปัฏฐานคือการศึกษาในเรื่องของกาย ส่วนการพิจารณาเวทนา จิต ธรรม ก็คือการศึกษาใจ ทุกคนสามารถที่จะได้ดวงตาเห็นธรรม เพียงแต่ต้องตั้งมั่นตรงอยู่ในศิล 5 ในทุกกรณี โดยมีสมถะกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ในส่วนกายานุปัสนา


ประมวลจากข้อเขียนของพระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก

ปัจจัยที่กระทบต่อคุณภาพการศึกษา

เมื่อสองสามปีที่แล้วได้มีการกำหนดว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่กระทบต่อการศึกษา อันได้แก่

ประชากร พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตลาดแรงงาน การกระจายอำนาจ ความรุนแรงและความขัดแย้ง พฤติกรรมเยาวชนและบัณฑิต เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งครอบคลุมเกือบทั้งหมดแล้ว แต่ถ้าให้ชัดเจนเป็นการเน้นย้ำลงไป ก็น่าจะมีเพิ่มเติมในมิติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ จริยธรรมและคุณธรรม

โครงสร้างของประชากรจะต้องนำมาคำนึงถึงในการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้ประชากรที่มีคุณภาพในทุกระดับ พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นและต้องใช้อย่างเหมาะสมที่ไม่ให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม โดยที่เราเองและเยาวชนของเราสามารถที่จะเรียนรู้ที่จะอยู่อาศัยบนโลกใบนี้โดยไม่ทำความเสียหายต่อระบบนิเวศ การจ้างงานในตลาดแรงงานควรมีค่าจ้างที่เหมาะสมมีคุณค่าต่อการดำรงความเป็นมนุษย์ ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองในแง่มุมต่างๆที่มากขึ้น ก็โดยการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นทำให้มีการพึ่งตนเองมากขึ้น

ความรุนแรงและความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงในปัจจุบัน โดยทั่วไปในระบอบประชาธิปไตยความขัดแย้งทางความคิดมีได้ ถือว่าเป็นความหลากหลายทำให้ประชาชนมีโอกาสมีทางเลือกที่จะหาแนวทางที่ดีที่สุด ความเห็นที่แตกต่างยังต้องการหลักเหตุผลความรู้มาประกอบจึงจะเป็นข้อคิดเห็นที่มีประโยชน์ ความขัดแย้งในทางดีคือต่างฝ่ายต่างก็มีข้อดี แต่ไม่น่าจะขัดแยังกันเรื่องคอร์รับชั่น น่าจะเห็นพ้องกันว่าเป็นที่น่ารังเกียด และไม่น่าจะขัดแย้งกันในเรื่องการใช้ความรุนแรง น่าจะเป็นสิ่งที่ควรประนามของทุกฝ่าย

การที่มีตัวอย่างที่ไม่ดีของผู้ใหญ่ในด้านต่างๆ ไม่ว่าการใช้ความรุนแรง ทุจริตทุกรูปแบบ ความไม่ซื่อสัตย์ก็ส่งผลต่อนักเรียนนักศึกษาเยาวชนของชาติ จัดการศึกษาอย่างไรที่จะให้เยาวชนของชาติมีจิตสาธารณะ เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน รักความเป็นธรรม สำหรับการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น เป็นเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม ที่จะต้องมีความพอเพียงความพอประมาณพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด

ส่วนการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เป็นหลักในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนให้มีเหตุผลไม่หลงงมงาย ไม่เชื่ออะไรง่ายๆก่อนที่จะพิจารณาด้วยเหตุผลตามหลักวิชาที่คิดว่าดีที่สุด และโดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในแง่มุมต่างๆ ที่เป็นไปในทางทำให้เรียนรู้ได้เร็ว ช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน อำนวยความสะดวกเป็นต้น

ตัวชี้วัดคุณภาพ

ความมีคุณภาพขององค์กรใดๆ มักจะวัดกันด้วยความสามารถที่จะปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นของสินค้าและบริการขององค์การนั้นๆ กล่าวคือ


-ถ้าผลิตสินค้าจำนวนของเสียที่ลดลง หากผลิตบัณฑิตก็ต้องทำให้นักศึกษาจบมากที่สุด

-จำนวนตำหนิผลผลิตที่ลดลง ได้รับคำตำหนิจากผู้ใช้บัณฑิตลดลง นั่นคือคำร้องเรียนคำต่อว่าที่ลดลง แสดงว่าคุณภาพเพิ่มขึ้น และหากไม่มีคำต่อว่า คำร้องเรียน แสดงว่าลูกค้าผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจ

การนิยามคุณภาพในแง่นี้ หมายถึงการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าหรือผู้ใชับัณฑิต และอีกความหมายหนึ่งก็คือมีคุณภาพเมื่อทำได้ตามที่กำหนดว่าเป็นคุณภาพ หรือทำสิ่งที่กำหนดได้ ตามคำกล่าวที่เราพูดกันว่า เขียนตามที่ทำ ทำตามที่เขียนนั่นเอง

ดังนั้นขั้นตอนสำคัญสำหรับองค์กรคุณภาพที่ทำกันกล่าวคือ

ขั้นตอนที่ 1 จะต้องมุ่งเน้นในเรื่องคุณภาพ ด้วยการสร้างวิสัยทัศน์ และภารกิจที่ชัดเจน รู้ถึงทิศทาง ที่จะก้าวเดินจะให้ไปถึงที่ใด จุดหมายปลายทางอยู่ที่ไหน การไม่หลงทางเท่ากับเป็นการลดการสูญเสีย

ขั้นตอนที่ 2 การระบุถึงความต้องการของลูกค้าให้ได้ พนักงานภายในองค์กรถือเป็นลูกค้าภายใน นักศึกษาผู้มีส่วนได้เสียถือว่าเป็นลูกค้าภายนอก การวิจัยการตลาดแบบสำรวจ การสัมภาษณ์ และอื่นๆ ทำให้รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรมีความพึงพอใจอย่างไรบ้าง

ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบโครงสร้างขององค์กร ให้เกื้อหนุนต่อการดำเนินงาน โดยพนักงานทุกคน ผู้บริหารทุกระดับทำงานเป็นทีมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เน้นให้ความสำคัญ มุ่งมั่นในการบริหารจัดการคุณภาพ

แผนกลยุทธ์มีอะไร

แผนกลยุทธ์คือ... "เอกสารที่กำหนดเป้าหมายและแนวทางในการบรรลุเป้าหมาย ที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ภายนอกและภายในองค์การ" เป็นความหมายที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กำหนดเป็นคนแรก แต่ได้มาจากหน้าแรกของเอกสารประกอบการเรียนการสอนของนักศึกษา มีอยู่ 22 หน้า เอกสารนี้ไม่มีอ้างอิงใดๆ แม้แต่ผู้เขียน แต่น่าจะเป็นเอกสารบรรยายการทำแผนกลยุทธ์เป็นแผนภูมิและคำอธิบาย โดยเริ่มจากวิเคราะห์ SWOT หาโอกาส ภัยคุกคาม จุดอ่อน จุดแข็ง จากการวิเคราะห์สถานะการณ์ภายนอกและภายใน ทำให้วิเคราะห์หาตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ทำให้ทราบจุดแข็งทำอะไรเช่นรุกหรือป้องกันจุดอ่อนทำอะไร เช่นพลิกฝื้น หรือประคองตัวหรือถอย ตอนนี้ก็คงมีการกำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดกลยุทธ์เพื่อเสริมจุดแข็งแก้จุดอ่อน โดยมีผลงานด้านสำคัญ(KSA:Key Result Areas) และตัวชี้วัดผลสำเร็จ (KPI:Key Performance Indicators) ซึ่งเป็นตัวบอกว่าแก้จุดอ่อนเสริมจุดแข็งได้ระดับใด


สำหรับการกำหนดกลยุทธ์จาก BSC (Balance Score Card) หรือการกำหนดจาก SWOT grid ที่กาจุดเหมาะสมจากจุดอ่อนจุดแข็ง โอกาส ภัยคุกคาม นอกจากนี้ยังใช้สถานการณ์ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี นโยบายด้านการจัดการศึกษา และนโยบายด้านอื่นๆ และหน้าสุดท้ายของเอกสารนี้ได้สรุปกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ ดังนี้

การวิเคราะห์สถานการณ์ ทำให้ทราบว่า เราอยู่ที่ไหน

ผลที่ต้องการ จากการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์ ทำให้ทราบว่า

เราจะไปเป็นอะไร

วิธีการ โดยการกำหนดกลยุทธ์ แผนงานโครงการ ทำให้ทราบว่า

จะไปทางไหนอย่างไร

การนำไปปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายย่อย โครงการ ที่บอกว่า ใครต้องทำอะไร

การติดตามประเมิน โดยการทบทวน ก็จะบอกได้ว่า ทีทำมาเป็นอย่างไร

ที่สรุปมาจาก 22 หน้า คงจะต่างกับการทำแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยตรงที่ไม่ได้กล่าวถึงเป้าประสงค์หรือเป้าหมาย เพราะการกำหนดเป้าหมายหรือผลลัพธ์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมองให้ออก แล้วทำให้เกิดผลลัพธ์นั้น

ระบบนิเวศเป็นอย่างไร

ระบบนิเวศ(Ecosystem) หนึ่งๆ โดยรวมแล้วประกอบด้วยพืชและสัตว์ในบริเวณหนึ่งรวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางกายภาพซึ่งสิ่งมีชีวิตสัตว์และพืชอาศัยอยู่ วิทยาศาสตร์พัฒนามามีส่วนในการศึกษาระบบนิเวศเรียกว่า นิเวศวิทยา(ecology)


ในระบบนิเวศ วงจรอะตอม และการเคลื่อนไหลไปของพลังงาน อะตอมประกอบเป็นโลกของระบบนิเวศ ปัจจุบันก็ยังคงเป็นอะตอมกลุ่มเดียวกันที่ประกอบกันเป็นระบบนิเวศดังกล่าวนับพันล้านปีผ่านมาแล้ว และจะเป็นส่วนที่จะประกอบขึ้นเป็นระบบนิเวศในอนาคต การเคลื่อนของอะตอมผ่านส่วนหนึ่งแล้วไปอีกส่วนหนึ่ง แต่ไม่เคยหายจากไป ในระบบนิเวศขนาดเล็กลงเช่นทะเลสาป อะตอมอาจจะยังคงเป็นวงจรที่จำกัดไม่เข้มงวด และยังคงมีการเคลื่อนตัวของสารผ่านเข้าออกเขตแดนกั้นระบบนิเเวศดังกล่าว ระบบนิเวศที่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนสารกับสิ่งแวดล้อมเรียกว่าเป็นระบบนิเวศแบบปิด และที่มีการแลกเปลี่ยนสารเรียกว่าระบบนิเวศแบบเปิด

ที่จริงแล้วพลังงานทั้งหมดในโลกของระบบนิเวศนั้นมาจากดวงอาทิตย์ ซึ่งคงอยู่บนดาวเคราะห์ชั่วระยะหนึ่งและมีส่วนพลังงานที่แผ่รังสีกลับไปในอวกาศในรูปของรังสีอินฟาเรด พลังงานจึงไม่ค้างอยู่บนโลกแต่มีการเคลื่อนผ่านไปจากดวงอาทิตย์ไปยังอวกาศภายนอกอื่น พฤติกรรมนี้เป็นแนวทางที่พลังงานเข้ามามีปฏิกิริยากับระบบนิเวศ

สู้เพื่อเธอออกซานซูจี

สู้เพื่อเธอออกซานซูจี เป็นชื่อภาพยนต์ในชื่อภาษาอังกฤษว่า Beyon Rangoon เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกรุ๊ฟทัวที่ไม่เที่ยวพม่าขณะที่มีการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลเผด็จการพม่าครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งที่นักศึกษาพระภิกษุได้ออกมาเดินขบวน โดยมีกระบวนการที่เป็นแนวร่วมเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ก็ถูกรัฐบาลพม่าปราบปรามโดยใช้อาวุธจริงตายไปหลายพันคนขณะนั้น


ภาพยนต์ดำเนินเรื่องให้หมอหญิงสาวชาวอเมริกันคนหนึ่งที่เพิ่งสูญเสียบุตรชายและสามีจากการถูกฆาตกรรม และเดินทางมาท่องเที่ยวกับกรุ๊ฟทัวร์นี้ด้วย ได้มีโอกาสเข้าร่วมกับผู้ชุมนุมและได้พบกับอองซานซูจี ทหารที่ถูกส่งมาปราบก็ยังไม่กล้ายิงอองซานซูจี ตัวเอกของเรื่องคือหมอที่ได้มีโอกาสไปเดินทางไปอยู่รอบนอกกรุงย่างกุ้ง ที่ต้องให้ความช่วยเหลือผู้นำทางที่ถูกทหารยิง ได้เห็นทหารยิงผู้คนอย่างโหดเหี้ยม และต้องหนีหัวซุกหัวซุนด้วยเพราะหนังสือเดินทางหาย

ฉากที่มีการเข้าร่วมการชุมนุมของนักศึกษาและประชาชนนั้น มีตอนหนึ่งที่เจ้าหน้าที่อาจเป็นตำรวจมาไล่ยิง นั้นมีเพียงสองสามคนแต่ประชาชนจำนวนมาก(น่าจะถูกประชาชนรุมประชาทันฑ์) และตอนที่ทหารอาวุธครบมือประจันหน้ากับมอบที่มีคนมากกว่าหลายเท่า แต่ก็ไม่อาจทัดทานทหารได้เพราะใช้กระสุนจริงผู้ชุมนุมก็ต้องกระเจิงหนีเอาชีวิตรอด ทั้งหมอสาวและผู้นำทางที่ได้รับบาดเจ็บปางใต้นั้นกว่าจะช่วยชีวิตไว้ได้ก็ต้องคอยหลบหลีกทหารและด่านตรวจ สุดท้ายก็หนีเข้าประเทศไทยทางชายแดนที่ติดกับพม่า เห็นตอนนี้แล้ว ทำให้รู้สึกว่าประเทศไทยเป็นดินแดนเสรีเป็นที่พักพิงของผู้หลี้ภัย เป็นดินแดนที่ปลอดภัยนั่นเอง ผู้นสนใจหาดูภาพยนต์นี้ได้ที่ สำนักงานฝ่ายบริการข้อมูลสารสนเทศ ศูนย์วิทยาศาสตร์ห้อง13104 เป็นดีวีดี หมายเลข 2414 ให้บริการโดยกองทุนคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การสอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา

ผู้ที่จะสอนวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับผู้เรียน ความรู้ทางด้านจิตวิทยา ลักษณะทางอารมณ์และสังคม ในการสอนต้องรู้ว่าวิทยาศาสตร์ใดสำคัญและเหมาะสมสำหรับเด็กประถมในการเรียนรู้ นอกจากนี้ครูผู้สอนจำเป็นต้องทราบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน รู้ยุทธวิธีให้เด็กนักเรียนเข้าใจและจำเนื้อหาได้ และการจัดการภายในห้องเรียน ดังนั้นนักศึกษาฝึกหัดครูจำเป็นต้องมีประสบการณ์อย่างจริงจังกับเด็กๆ การศึกษาค้นคว้า การพัฒนาการทางความ คิด สังคม กายภาพ และอารมณ์

ความรู้เกี่ยวกับการสอนความรู้เนื้อหา ผู้สอนควรจะได้ทราบถึงการพัฒนามโนทัศน์ของเด็กนักเรียน ว่ามีหลายอย่างที่นักเรียนอาจยังเข้าใจผิด เช่นว่านักเรียนมักจะสับสนเรื่องอาหารของพืชกับอาหารที่สัตว์กิน ซึ่งพบว่ากระบวนการสังเคราะห์แสงมีความซับซ้อนเกินไปสำหรับเด็กประถมศึกษา เด็กประถมจะเข้าใจเพียงหลักการทั่วไปว่าเป็นกระบวนการที่พืชสร้างอาหารขึ้นมาเอง และกระบวนการนี้ต้องการแสงอาทิตย์ แกสคาร์บอนไดออกไซด์ และผลลัพธ์ของการสังเคราะห์แสงมีการสร้างน้ำตาลขึ้นมา

นักเรียนมักเชื่อว่าพืชที่เติบโตขึ้นสูงจะดูแข็งแรงสดใสกว่า (แม้ว่าจะอ่อนแอ)พืชที่สั้นเตี้ยแข็งแรงเป็นพุ่ม นอกจากนี้เด็กนักเรียนจะยังไม่เข้าใจแนวคิดเชิงทฤษฎีหรือมโนทัศน์เกี่ยวกับอะตอม โมเลกุล พลังงานและปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องในกกระบวนการสังเคราะห์แสง ที่เป็นเรื่องนามธรรม ยังเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กประถม อาจเป็นเพราะนักเรียนในระดับนี้ไม่สามารถที่จะเห็น รู้สึก หรือได้ยิน การสอนเรื่องสังเคราะห์แสงควรผ่านไปถึงมัธยมต้นหรือเมื่อเริ่มประถมปลายในชั้นป5 หรือป6

ความรู้เกี่ยวกับยุทธวิธีการสอน นั้นควรจะให้โอกาสและทางเลือกแก่นักเรียนให้มากในการทดลอง นักศึกษาฝึกหัดครูระดับประถมศึกษาจะเป็นต้องมีเวลาในการวิเคราะห์ อภิปรายกันถึงเป้าหมายของวิทยาศาสตร์ศึกษาในระดับประถม ในอันที่จะพัฒนาให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ที่ฝังตัวอยู่ในตัวเด็กเกี่ยวกับโลกโดยรอบ เพื่อขยายขอบเขตทักษะของขั้นตอนวิธีการและทักษะการคิดในการศึกษาหาความรู้ของโลก การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ เพื่อที่จะเพิ่มความเข้าใจของเด็กๆของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเพื่อพัฒนาความเข้าใจของเด็กถึงขีดจำกัดและความเป็นไปได้ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผลของแนวคิดที่จะให้ทุกอย่างอยู่บนคอมพิวเตอร์

เดิมคอมพิวเตอร์ทำงานคำนวณเป็นหลักจึงเรียกว่าคอมพิวเตอร์ ซึ่งมาจากคำ compute แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามชุดคำสั่งที่เก็บไว้ภายในได้โดยอัตโนมัติ และทำงานได้เร็วจึงค่อยๆ ขยายการทำงานออกไปสู่การประมวลผลข้อมูลด้านอื่นๆ ทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำผลการทำงานในรูปของสื่อผสมหรือมัลติมีเดีย คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงเรียกได้ว่าเป็นมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ โดยสามารถที่จะแสดงผลตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวได้อย่างมีคุณภาพ ใกล้เคียงกับสิ่งที่มองเห็นมากที่สุด นอกจากนี้ยังบูรณาการคอมพิวเตอร์เข้ากับการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็วแค่ชั่วพริบตา ดังที่เราเห็นการใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ผ่านทางการสื่อสาร ผสมผสานกันเป็นเทคโนโลยีข่าวสาร (information technology:IT) ในการนี้ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นตัวการสำคัญในการเข้าสู่สังคมข่าวสาร (information society) ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลกวิธีคิดวิธีทำงาน และวิธีการดำรงชีวิต ที่ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตที่เคยเป็นอยู่เดิมอย่างมากมาย ที่การเปลี่ยนแปลงที่ส่วนหนึ่งของโลกส่งผลไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังที่เรารู้จักกันในนามโลกาภิวัฒน์ (globalization)


แนวคิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลกได้มากมายในปัจจุบันไม่ใช่การใช้เครื่องจักรมาแทนแรงงานคนเช่นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่เป็นแนวคิดที่พัฒนาดิจิทัลคอมพิวเตอร์ให้มีความฉลาดหลักแหลม ให้คอมพิวเตอร์ก้าวเข้ามาช่วยมนุษย์ในการคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหา ด้วยที่เป็นที่พิสูจน์ยืนยันชัดเจนแล้วว่ายิ่งพัฒนาให้คอมพิวเตอร์มาช่วยงานมนุษย์มากเท่าใดก็จะยิ่งพัฒนางาน และวิชาการที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้มีการจ้างงานด้านหนึ่งน้อยลงเพราะคอมพิวเตอร์เป็นผู้ทำงานแทน แต่กลับสร้างงานด้านอื่น ที่เป็นการสร้างงานใหม่ๆ ให้กับมนุษย์ได้มากมายในทุกสาขามากกว่าในด้านที่จ้างแรงงานน้อยลง จากแนวคิดดังกล่าวนี้ทำให้มีความพยายที่จะพัฒนางานต่างๆ ให้คอมพิวเตอร์มีส่วนในการช่วยงานให้มีประสิทธิภาพที่มีส่วนทำให้ลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน ถ้าเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจก็จะส่งผลทำให้มีกำไรสูงสุดได้

การพัฒนาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียส่งผลให้มีการปฏิวัติวงการบันทึกเสียงและบันทึกภาพ จากที่พัฒนาให้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างภาพ ภาพเคลือนไหวและเสียง จากการบันทึกเสียงและภาพ ภาพเคลื่อนไหวในระบบแอนะล็อกที่ใช้คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของสื่อข้อมูลในการบันทึกและใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นในการอ่านจากที่บันทึกไว้ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวซึ่งเครื่องมือเหล่านั้นถือว่าล้าสมัยไปหมดแล้ว แทบไม่มีการใช้กันอีกต่อไป ได้แก่ แผ่นเสียง เทปม้วนหรือเทปคาสเซ็ตทั้งที่ใช้บันทึกภาพและเสียง กล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม เป็นต้น คอมพิวเตอร์เป็นตัวการสำคัญเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนหลักการจากระบบแอนะล็อกมาเป็นระบบดิจิทัล ที่เป็นหลักการพื้นฐานที่ใช้ในการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ โดยพัฒนาเครื่องบันทึกและอ่านข้อมูลที่จะเป็นส่วนนำข้อมูลเข้าและส่วนนำข้อมูลผลกากรทำงานออกมาบันทึกไว้ในสื่อข้อมูลแบบดิจิทัล อันได้แก่ฮาร์ดดิสค์และซีดีรอม ต่อมาได้พัฒนาซีดีรอมไปเป็นเครื่องสำหรับดูภาพยนต์และฟังเสียงเพลงและดนตรี ดังที่ในตอนแรกเราเรียกกันว่า เครืองเล่นคอมแพคดิส เพลเยอร์ (compact disk player: CD player) ที่ฟังเพลงและดนตรีได้เพียงอย่างเดียวต่อมาได้พัฒนาให้สามารถเล่นได้ทั้งวิดีโอ และฟังเพลงและดนตรีในเครื่องเดียวกัน จะเรียกว่า video compact disk player: VCD player) และพัฒนาเป็นเครื่อง ดีวีดีเพลเยอย์ (Digital Video Disk : DVD Player) ที่ให้คุณภาพดีกว่าและสามารถเล่นไฟล์ภาพและเสียงฟอร์แมทต่างๆ ได้

อุปการณ์ที่ใช้ในการสร้างภาพเช่นกล้องถ่ายรูป ก็เปลี่ยนไปเป็นกล้องดิจิทัลที่ใช้หน่วยความจำเป็นฟิล์มที่เรียกว่าเมมโมรีสติก (memory stick) ซึ่งสามารถถอดเข้าออกเปลี่ยนได้เมื่อบันทึกภาพไว้เต็ม นอกจากนี้สามารถที่จะลบภาพที่ถ่ายไว้แล้วได้และนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ร้านถ่ายรูปเดิมปรับเปลี่ยนจากที่เคยรับล้างฟิล์มอัดรูป กลายมาเป้นรับพิมพ์ภาพและตกแต่ภาพแทน เช่นเดียวกับการถ่ายวิดีโอก็เปลี่ยนจากฟิล์มเป็นม้วนมาเป็นฮาร์ดดิสค์หรือแผ่นซีดีรอม ทำให้การตัดต่อเคลื่อนย้ายทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม สำหรับอุปกรณ์บันทึกเสียงและบันทึกภาพวิดีโอก็เปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัลที่บันทึกลงในหน่วยความจำได้โดยตรง และสามารถทำงานได้เร็วกว่าเดิมหลายเท่า นอกจากนี้แล้วยังมีอุปกรณ์อีกหลายอย่างที่พัฒนาขึ้นมาแทนอุปกรณ์เก่าที่ใช้ในระบบแอนะล็อก จะได้นำเสนออีกครั้งหนึ้ง

ก้าวสู่นักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์

จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมอบรมเชิง ปฏิบัิตการ เรื่องการเขียนเรื่องเผยแพร่ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีวิทยากรจากชมรมนักเขียนวิทยาศาสตร์ จากความคิดริเริ่มของคุณ ปรีชา อมาตยกุล เริ่มบรรยายจากคุณ จุึมพล เหมะศิรินทร์ ได้แนะนำเคล็ดลับ 3 ขั้นง่ายที่ทราบกันทั่วไป คือ (1) ต้องชอบหรือมีฉันทะ การชอบจะทำให้รุ่งมากกว่า ไปได้ไกลกว่าการทำตามหน้าที่ (2) ต้องอ่านต้องฟัง นำมาคิดขยายผลการอ่านสะสมข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ (3) มีเวลาลงมือเขียน โดยการเขียนไม่มีกฏ ทฤษฎีที่ตายตัว โดยมีข้อคำนึงก่อนการเขียนคือ มีจุดประสงค์การเขียน เผยแพร่ที่ไหน อย่างไร ผู้รับสารเป็นใคร นอกจากนี้ท่านยังได้แนะการเขียนข่าว โดยยึดหลัีก 5W1Hอันได้แก่ Who What Where When Why และ How


สำหรับแนวการเขียนนั้น สำหรับผู้เริ่มต้นให้มีสามส่วนหลักคือ ส่วนนำเป็นการปูพื้นนำเข้าสู่เรื่องสำคัญ ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง อาจมีหัวข้อย่อย มีลูกเล่น และสุัดท้ายส่วนสรุป หรือคำลงท้าย ในแต่ละบทความควรที่จะมี ลำดับเรื่องที่ดี การทำเรื่องยากให้ง่ายอาจทำได้โดยวิธีการเปรียบเทียบ การใช้สำนวนภาษาให้เหมาะกับผู้รับสาร และติดตามพัฒนางานเขียนแก้ไขข้อบกพร่อง

วิทยากรอีกท่านหนึ่งคือคุณ สาโรจน์ เกษมสุขโชติกุล บรรณาธิการนิตยสาร โลกวิทยาศาสตร์ (science world) ได้แนะนำหลักการเขียนเป็น 9 เคล็ด (ไม่ลับ) ที่เป็นคำคล้องจองกัน ก้าวสู่การเป็นนักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้กับงานเขียนทั่วไป ได้คือ

1. รักการอ่าน

2. เชี่ยวชาญหาข้อมูล

3. เข้าใจจูนกลุ่มเป้าหมาย

4. พริ้งพราววางโครงเรื่อง

5. สติเฟื่องตั้งชื่อเด่น

6. รู้เล่นวรรคตอนและภาษา

7. พํฒนาปรุงศัพท์ให้เข้าตา

8. หาเวลาลงมือเขียน

9. ใผ่รู้เพื่อปรับปรุง

นอกจากนี้ยังแนะนำ 8(โป้ยเซียน) คุณค่าเข้าตาสื่อ สำหรับผู้ที่จะส่งไปลงในสื่อประเภทต่างๆ ดังนี้

1. ขายความเป็นที่สุด

2. จุดประกายความหวัง

3.ฝากฝังข้อเกี่ยวพันธ์ (อิงกระแส)

4. ดันแนบแอบคนดัง

5. เพิ่มพลังด้วยตัวเลข

6. เอกลักษณ์เน้นจำกัด

7. อัดเรืองลี้ลับ ปริศนา

8. พาเพลินกับความใหม่ แปลก

นอกจากนี้ยังได้ให้ข้อคิดในการเขียนหรือทำสารคดีวิทยศาสตร์เป็นวิดิโอหรือโทรทัศน์ที่ต้องคำนึงถึง

1. กลุ่มเป้าหมาย

2. เรื่องใกล้ตัว

3. เหตุการณ์ปัจจุบัน

4. มุมมองใหม่

5. เป็นไปได้ในการผลิต

สปีชีที่อยู่ในอันตรายต่อการสูญพันธ์

การหาว่าสปีชีใดเข้าสู่อันตรายเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ไม่มีเกณฑ์ที่กำหนดลงไปตายตัวที่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกๆ สปีชี จำนวนของสมาชิกในสปีชีที่ทราบจำนวนว่ายังมีชีวิืตอยู่ก็ไม่ใช่เป็นเพียงองค์ ประกอบเดียวที่ใช้ สปีชีหนึ่งๆที่มีสมาชิกนับล้านที่ยังคงมีชีวิตอยู่ แต่อาศัยอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ก็อาจพิจารณาว่าอยู้่ในอันตราย ขณะที่สปีชีอื่นๆมีจำนวนสมาชิกที่มีชีวิตอยู่น้อยกว่า แต่แพร่กระจายไปในขอบเขตพื้นที่กว้างกว่า ที่อาจไม่ได้รับการพิจารณาว่าถูกบีบคั้นกดดันให้อยู่ในอันตรายมากนัก จากข้อมูลการสืบพันธ์ ความถี่ของการสืบเผ่าพันธ์ จำนวนเฉลี่ยของลูกที่คลอด อัตราการรอดชีวิต และอื่นๆ ที่นำเข้ามาสู่การพิจารณาในการหาว่าสปีชีอื่นใดที่จะอยู่ในอันตราย ในบางประเทศพิจารณาให้สปีชีที่จัดให้อยู่ในอันตรายนั้น อยู่บนฐานของงานวิจัย และข้อมูลภาคสนามที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ นักชีววิทยา นักพืชศาสตร์ และนักธรรมชาติวิทยา


และเนื่องจากกฏบัตรสปีชีอันตรายที่ได้ตกลงสัญญากันในปี 1973 สปีชีที่จะอยู่ในรายการที่มีความเสียงอันตรายได้ถ้าถูกบีบคั้นหรือกดดัน โดยอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้

1. การทำลายล้างกดดันในปัจจุบัน การตัดตอนเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยหรือจัดระเบียบต่างไปจากเดิม

2. มีการนำไปใช้ในทางการค้า การกีฬา ทางวิทยาศาสตร์ หรือจุดประสงค์ทางการศึกษาในระดับที่เห็นว่าการทรุดโทรมทำล้ายมีผลต่อการมี ชีวิตต่อไป

3. เชื้่อโรคและเป็นเยื่อที่ถูกล่า

4. การไม่มีกลไกกฏระเบียบที่เพียงพอในการป้องกันการลดลงของสมาชิกในสปีชีหรือการลดระดับลงไปของถิ่นที่อยู่อาศัย

5. ปรากฏการณ์ธรรมชาติอื่นหรือองค์ประกอบที่มนุษย์ทำขึ้นอันมีผลต่อการคงอยู่ต่อไป
ถ้าหากว่าสปีชีต่างๆ ในภาวะที่มีแรงบีบคั้นที่จะเกิดอันตราย ผู้ที่จะมาชี้นำและหาว่าถิ่นที่อาศัยนั้นๆวิกฤติ นั่นคือบริเวณที่อยู่อาศัยของสปีชีนั้นได้มีลักษณะหลักทางกายภาพและชีวิภาพ ที่จำเป็นสำหรับการอนุรักษ์สปีชีดังกล่าว แหล่งที่อยู่อาศัยที่วิกฤติสามารถที่จะกำหนดรวมเอาพื้นที่ที่ไม่ได้เป็น แหล่งที่อยู่อาศัยก็ได้ผนวกรวมอยู่้ด้วย ซึ่งถ้าเห็นว่ามีความจำเป็นต่อการป้องกันสปีชีนั้นๆ ไม่ให้สูญพันธ์ได้

การจัดการความโกรธกับเด็กๆ

การรู้สึกโกรธไม่ใช่เลวหรือดี แต่เป็นเรื่องปกติที่จะมีปฏิกริยาตอบโต้ความรู้สึกที่ไม่ดี ไม่ว่าสิ่งไม่ถูกต้องไม่ดีนั้นเป็นจริงหรืออยู่ในจินตนาการ เป็นสิ่งที่เราจัดการกับความโกรธของเรา เรากระทำอย่างไรเมื่อเราโกรธนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างเช่นเมื่อเราอยู่ในภาวะที่โกรธด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ ต่อมาภายหลังเราอาจจะรู้สึกเลวร้ายและเศร้าสร้อยคร่ำครวญ อย่างไรก็ตามเมื่อเราสามารถที่จะพูดคุยอภิปรายกับใครบางคนที่เข้าใจสถานะการณ์ เราอาจรู้สึกดีขึ้น การพูดกับคนที่เป็นสาเหตุให้เกิดความรู้สึกเจ็บใจ ทำร้ายทำลายความรู้สึกในครั้งแรกนั้นอาจสร้างรอยร้าวระหว่างเรากับบุคคลนั้นมากยิ่งขึ้น


เป็นการยากสำหรับเด็กที่จะทราบความแตกต่างระหว่าอารมณ์โกรธและอะไรที่ทำลงไปด้วยความโกรธ สำหรับเด็กแล้วมันเป็นอันเดียวกัน แม้กระนั้นก็ตามเด็กๆ ยังจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างดังกล่าว ถ้าเรากำลังจะแยกกันระหว่างอารมณ์โกรธและการกระทำจากการโกรธให้เด็กได้เห็นอย่างเด่นชัดจากใจที่โกรธของเด็ก เราในฐานะที่เป็นพ่อแม่จะต้องสื่อสารให้เห็นถึงความแตกต่าง เราสามารถที่จะสอนให้เด็กให้พวกเขาสามารถรู้สึกโกรธและแสดงความโกรธได้ แต่ไม่ใช่เป็นไปในทางการทำลายล้าง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า โอเคที่จะโกรธแต่ไม่โอเคที่จะกระทำในทางทำลายล้างเมื่อโกรธ

เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องทำความแตกต่างให้เห็นกับเด็กๆ ของเรา พวกเขาไม่ควรจะถูกยั่วให้รู้สึกโกรธเพียงเพื่อให้เกิดพฤติกรรมทำลายล้างด้วยความรุนแรง และในที่สุดแล้วเด็กก็เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างความรู้สึกโกรธและการกระทำที่เป็นความโกรธที่เป็นอันตราย ถ้าเด็กๆ ของเราแสดงความโกรธในทางทำลายล้างแล้ว จงแสดงปฏิกิริยาในทางที่จะช่วยเหลือให้บรรเทาลง โดยการพูดแสดงความเห็นใจ ก็โอเค ที่เธอก็ควรจะโกรธอยู่หรอก แต่ฉันไม่ต้องการให้พวกเธอไปตบตีทำร้ายใคร หรือพูดว่า ฉันไม่ต้องการให้เธอไปทำลายข้าวของ หรืออะไรก็ตามรวมทั้งตัวเธอด้วย

เด็กๆมักจะมีปัญหาในการสื่อสารในการแสดงอารมณ์ตอบโต้ เพราะว่าพวกเด็กๆ นั้นยังขาดภาษาที่จำเป็นในการแปลสิ่งที่พวกเข้ารูสึกออกมาเป็นคำพูด พ่อแม่ควรจะช่วยเด็กแสดงความรู้สึกด้วยภาษาพูดถึงอะไรที่พวกเขารู้สึกและโกรธ เรารู้เข้าใจเด็กๆ ของเรามากที่สุด จงมองหาตัวบอกใบ้เล็กๆ น้อยๆที่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความโกรธ มีสัญญาณบ่งชี้ทั่วไปสองประการคืออาการงอน น้อยใจ (pouting หรือ sulking) และอีกอย่างคือท่าทีที่มักจะได้ยินคือ ฉันไม่แค่อะไรทั้งสิ้น แต่ว่าเด็กแต่ละคนจะมีสัญญาณบ่งบอกเป็นของตัวเอง ที่น่าสังเกตก็คือการให้ยอมรับว่าเด็กยอมรับว่ารู้สึกโกรธเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กที่จะทำได้ จะต้องให้เวลาอยู้บ้างในการฝึกสำหรับเด็กให้รู้สึกสบายขึ้นเมื่อได้แสดงความโกรธโดยการพูดและท่าทาง พ่อแม่ผู้ปกครองอาจจะต้องใช้ชุดของคำถามที่เกี่ยวข้องกับว่าทำไมพวกเขาถึงได้โกรธ

เรามักจะเจอสถานะการณ์ที่เด็กทะเลาะกัน ทุบตี ชกต่อย หยิกง่วน ดึงดันกัน จากการเล่นด้วยกัน แย่งของเล่นกันเป็นต้น และต้องมีฝ่ายหนึ่งไปกระทำอีกฝ่ายหนึ่งก่อน พ่อแม่ผู้ปกครองที่เห็นอาการดังกล่าวจะต้องแยกคู่กรณีออกจากกันนั่งลงคุยกับพวกเขา ต้องบอกทันทีว่าไม่ว่าใครไม่สามารถที่จะให้ทำเช่นนั้นได้ พูดแสดงความเห็นใจที่ต้องโกรธเป็นเรื่องธรรมและโอเค แต่ไม่โอเคที่จะใช้ความรุนแรงใช้กำลังทำร้ายกัน แม้ว่าจะเป็นฝ่ายผิดก็ตาม ก็เป็นสิ่งไม่ดีอยู่ดีที่จะไปตบตีชกต่อยเขา แม้ว่าพูดแล้วเขาไม่ฟัง แต่แนะให้เด็กได้พูดแสดงความรู้สึกที่ผู้อื่นมากระทำมาแย่งของรักก่อน เด็กอาจแย้งว่าเขาไม่ฟังไม่ว่าจะพูดอย่างไร พ่อแม่จะต้องรีบพูดอธิบายว่า เราจะรู้ได้อย่างไรถ้าเราไม่พยายามพูดก่อน และถ้าพูดแล้วเขายังไม่ยอมหรือยังแย่งละเมิดอยู่ก็ให้มาบอกพ่อแม่ให้ช่วย เป็นดีที่สุด

อีกแนวทางหนึ่งที่พ่อแม่นำมาใช้เพื่อส่งเสริมให้เด็กๆมีปฏิกิริยาต่อความโกรธอย่างเหมาะสมคือ การเตือนเด็กๆ ในเวลาที่เด็กๆทำให้พ่อแม่โกรธ โดยเตือนเด็กว่ากำลังพุดกับเขาด้วยความรู้สึกโกรธแต่ก็ไม่ได้ทุบตีหรือใช้กำลังใดๆ การจะสอนเด็กได้เช่นนี้ได้อย่างเหมาะสมนั้น ก็ต้องมองมาที่ตัวเราอันเป็นพ่อแม่ ประเมินถึงว่าเราได้เราได้จัดการกับความโกรธอย่างไรให้เด็กได้เห็น โดยพฤติกรรมของเราก็จะเป็นแบบอย่างสำหรับการกระทำของเด็กต่อไป เพราะเด็กๆ มักเลียนแบบมาจากผู้ใหญ่ จงถามตัวเราเองว่าอะไรบ้างที่เด็กๆ อาจเรียนรู้จากเราเกี่ยวกับการจัดการกับความโกรธเมื่อเราอยู่ในสถานะการณ์ที่ยุ่งยากเลวร้าย

วิทยาศาสตร์ศึกษาปัจจุบันอนาคต4

วิทยาศาสตร์ศึกษาสำหรับทั้งคนรุ่นหน้าและสำหรับผู้ที่จะมีอาชีพทางวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานจำเป็นต้องมีทั้งวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์อย่างเดียวคงไม่เพียงพอ จะเป็นต้องบูรณาการร่วมกับมนุษยศาสตร์ เพื่อให้ได้ภูมิปัญญาที่แท้จริง ในเรื่องนี้เป็นจริงสำหรับมหาวิทยาลัยตอนเริ่มแรกเมื่อเกือบพันปีมาแล้ว และกำลังเป็นจริงในภาวะปัจจุบันด้วย ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ามีความเหมาะสมมากกว่าในอนาคต .....

สำหรับวิทยาศาสตร์ศึกษาสำหรับสาธารณะในรุ่นปัจจุบันเป็นเรื่องสำคัญเช่น เดียวกับเรื่องหลักที่กล่าวมาแล้ว ผู้วางนโยบาย ผู้นำไปใช้ และสาธารณะและใกล้เคียงสามารถทำได้ดีกว่าถ้าสามารถได้ผลประโยชน์จากโอกาส ใหม่ๆ เครื่องเมื่อและวิธีการ วิทยาศาสตร์ศึกษาสามารถที่จะมีบทบาทในการสร้างและการนำไปใช้นโยบายสาธารณะ สิ่งแรกก็คือสิ่งแวดล้อมเชิงวิทยาศาสตร์สามารถที่จะก่อให้เกิดภาระรับผิดชอบ บนฐานที่เห็นพ้องตรงกันอย่างมีเหตุผล ไม่ได้อยู่บนฐานการตัดสินใจของผู้มีอำนาจ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์สามารถทำให้แน่ใจได้ถึงนโยบายในจินตนาการและวิสัย ทัศน์ ที่ไม่ใช่เป็นเพียงการฝันกลางวัน แต่ละบุคคลจะต้องมีความกล้่าในการเสาะแสวงหาทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เพียงแต่การผจญภัยที่ไร้เหตุผล ลักษณะเหล่านี้เป็นจริงไม่ใช่เฉพาะแต่ในวิทยาศาสตร์ศึกษาเท่านั้น ยังรวมถึงการกำหนดนโยบายขึ้นมา ตามวิทยาศาสตร์แล้ว นโยบายต้องการให้มีการประเมินและการปรับปรุง แต่ละคนจะต้องยอมรับถึงความผิดพลาดและไม่หัวแข็งดื้นรั้นยึดมั่นเกินไป วิทยาศาสตร์ศึกษาสามารถช่วยในการลดความเชื่อเหนือเหตุผลหรือไสยาศาสตร์ ซึ่งแผ่กระจายอยู่ในสังคมที่กำลังพัฒนา ......

ในกรณีที่สาธารณะมีการโต้เถียงกัน มีความขัดแย้งกัน วิทยาศาสตร์ศึกษาสามารถที่จะช่วยในการเจรจาโดยยึดฐานหลักฐานที่ทุกฝ่ายเชื่อ ถือ ความมีเหตุผลและความยุติธรรม ความโปร่งใสและการตกลงที่เข้าที่เข้าทางอย่างสงบ ดังนั้นจึงสามารถทำให้สำเร็จลงได้ การให้อำนาจแก่ชุมชนผ่านทางการวิทยาศาสตร์ศึกษาสามารถที่จะรับใช้ได้อย่าง ยั่งยืน วิทยาศาสตร์ศึกษาสำหรับสาธารณะ ดังนั้นจะต้องไม่ละเลยอีกต่อไป ซึ่งจำเป็นต้องใช้แนวทางและวิธีการที่แตกต่าง ......

สำหรับอาชีพใหม่ที่เกิดจากวิทยาศาสตร์เป็นฐานที่เรียกความสนใจในความ พยายามที่พิจารณาถึงอนาคต นักวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องพัฒนาขึ้นอย่าง รวดเร็ว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใหม่ๆ แรงงานในหลายภาคส่วนจำเป็นต้องใช้เนื้อหาและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการ ปรับปรุงคุณภาพในการทำงาน การผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปปัจจุบันยังเหมาะสมไม่พอที่จะตอบสนอง ต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลง ........ สภาพของตัวแทนความรู้ที่มีในสาขาอาชีพเฉพาะทาง การสื่อสารวิทยาศาสตร์ (science communication) นักเขียนเชิงวิทยาศาสตร์ ในวารสารต่างๆ มีความต้องการมากขึ้น ที่ปรึกษาด้านเนื้อหาวิทยาศาสตร์ในสถานประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญด้านซอพท์แวร์สำหรับสื่อที่หลากหลายรูปแบบต่างๆเป็นอาชีพใหม่ใน สังคมความรู้ ปัญญาประดิษฐ์ วิทยาศาสตร์การคิด มัลติมีเดีย ภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ หุ่นยนต์ และอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ วิทยาศาสตร์ศึกษาด้วยเหตุนี้จึงขยายไปสู่เขตที่เป็นศาสตร์ร่วมหลายสาขามาก ขึ้น .......

โดยสรุปวิทยาศาสตร์ศึกษาสำหรับอนาคตที่นำเสนอมาเป็นการท้าทายสกำหรับทุก คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการศึกษา ขอบข่ายที่กว้างขวางและหลากหลาย และโอกาสมากมาย ภูมิปัญญา ทักษะ การรู้สึกรับรู้ของสังคมก็เป็นความจำเป็น แต่ต้องไม่ควรจะอยู่ไกลเกินเอื้อม ....



.... จากบันทึเมื่อเข้าร่วมประชุมนานาชาติ เรื่อง Science Education for the future On Science Education in the Asia Pacific 28 November 2007 นำเสนอโดยนายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา

คติธรรมนำชีวิต20

ตอนที่ 70 ความรักเป็นไฉน ใครเข้าใจหมดปัญหา
หมายความว่า คนส่วนมากยังไม่ทราบว่า ความรักเป็นอย่างไร เมื่อไม่ทราบจึงคว้าเอาสิ่งที่มิใช่ความรัก เข้ามาไว้กับตัว โดยเข้าใจว่าเป็นความรัก ทำนองกับคว้าเอางูพิษมาไว้โดยคิดว่าเป็นปลา ความรัก คือความต้องการให้เขาเป็นสุข โดยท่ไม่คิดว่าตนจะได้อะไรจากเขา เมื่อเขาผู้นั้นมีความสุขตนก็สบายใจ ลักษณะอย่างนี้หมดปัญหา แต่ถ้ายังคิดว่าตนจะได้อะไรตอบแทน อย่างนี้ไม่เป็นความรัก หากเป็นการลงทุนทำให้เกิดปัญหา

ตอนที่ 71 สัตว์ทุกชีวิตต้องการความสุข แล้วเราก่อทุกข์แก่เขาทำไม
หมายความว่า จงได้มีจิตสำนึกว่า ทุกๆ ชีวิตต้องการความสุข เราก็ชีวิตหนึ่งที่ต้องการความสุข เมื่อคิดได้อย่างนี้ จะไม่สร้างทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตใดๆ ทั้งสิ้น

ตอนที่ 72 รักผู้อื่นเป็นมนขลัง เพิ่มพลังแก่สังคม
หมายความว่า ความรักที่แท้จริงที่ทางพุทธเรียกว่า เมตตา หรือบางศาสนาเรียกว่า ความรักสากล หรือความรักของพระเจ้า (universal love) ความรักอย่างนี้มีอำนาจมาก ที่ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ลักษณะที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ใครๆ ก็ต้องการ แล้วทำไมเราไม่ใฝ่หากัน จงจัดทำให้มันมีขึ้น

โดยสุรวิทย์ คงทอง

คติธรรมนำชีวิต19

ตอนที่ 55 ความสุขไม่ต้องวิ่งหา เพียงแต่แก้ปัญหาได้ แล้วจะพบ

หมายความว่า ความสุขมีอยู่แล้วในที่เกิดปัญหานั้น เพียงแต่หาวิธีการแก้ปัญหาให้ลดลงหรือหมดไป แล้วความสุขมันปรากฏขึ้นเอง เช่นเดียวกับความสะอาด มันมีอยู่แล้วในที่สกปรก เพียงแต่ทำสกปรกให้หมดไป ความสะอาดจะปรากฏขึ้นเอง แต่คนที่ไม่เข้าใจเรื่องความสุข ไปเที่ยวหาในที่ต่างๆ ทำนองกับคนที่ไม่เข้าใจความสะอาด จึงไปเที่ยวหาความสะอาด ในที่สุดก็ไม่พบ ตายเปล่า

ตอนที่ 56 เมื่อใดที่ได้เกิดปัญหา ผู้ที่ต้องการปัญญาจะพอใจ
หมายความว่า ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา ทำให้เราได้คิดแก้ปัญหานั้นเมื่อได้คิดแก้ปัญหาที่หนึ่ง ปัญญาก็เกิดขึ้นทีหนึ่ง เมื่อได้แก้ปัญหาบ่อยๆ ปัญญาก็เกิดขึ้นบ่อยๆ ในที่สุดก็กลายเป็นผู้มีปัญญามาก เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ตรงกับมงคลชีวิตประการที่ 7 ว่า พาหุสัจจะ เอตัมมัง คลมุตตมัง แปลว่า การเป็นผู้มีความรู้มาก เป็นมงคลอย่างยิ่ง ดังนั้น ไม่ควรกลัวปัญหา ควรยินดีต่อปัญหาทุกๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น

ตอนที่ 57 หัดมองในส่วนดี ชีวีจะพัฒนา
หมายความว่า ให้รู้จักดูสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ดูแล้วให้เลือกเอาในส่วนที่ดีๆ มาใช้ในชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด แม้ที่พูดกันว่าไม่ดี ถ้าได้รู้จักดูรู้จักเลือก ก็จะพบในส่วนที่ดี นำเอามาใช้กับชีวิตได้ ตัวอย่าง ได้เห็นส่วนที่ดีก็ให้เราได้เอาเป็นตัวอย่าง เพื่อได้ทำในส่วนที่ดีอย่างนั้นบ้าง ถ้าได้เห็นส่วนที่ไม่ดี ก็ให้เราได้สังวรไว้ว่า อย่างนั้นไม่ดี อย่าได้กระทำ อย่างนี้เป็นต้น ดูได้อย่างนี้ ชีวิตจะเจริญขึ้น พัฒนาขึ้น ทำนองกับที่ท่านอาจารย์พุทธทาสพูดว่า หาพบเพชรได้ แม้แต่ที่หัวคางคก

วิทยาศาสตร์ศึกษาอนาคตปัจจุบัน3

สิ่งเหนี่ยวรั้งอุปสรรคกั้นขวางจากการเปลี่ยนแปลงระบบความรู้ก็คือ การแบ่งแยกกันทางความรู้ (knowledge divide) ที่แยกคนยิ่งออกห่างกันมากทุกที เทคโนโลยีที่ราคาแพงได้สร้างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศต่างๆ และระหว่างกลุ่มของคน ประเทศที่ผลิตความรู้อันเป็นผู้ค้นพบและสร้างนวัตกรรม มีสิทธิที่จะจดทะเบียนสิทธิบัตร มีเอกสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวและกำหนดราคาสิ้นค้าที่ใช้เทคโนโลยีอันเป็นเจ้า ของ ประเทศที่นำเข้าความรู้ซึ่งมีความจะเป็นต้องใช้เทคโนโลยี จะต้องใช้ทรัพยากรอันมีจำกัดในการซื้อ ดังนั้นจึงทำให้ยิ่งจนลงไปอีก การบริหารจัดการทางปัญญาที่เหมาะสม เป็นกระบวนการที่ในทางหนึ่งกระตุ้นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม แต่ในอีกทางหนึ่งนั้นมีความจำกัดที่จะเข้าใช้ การค้าเสรีภายใต้กลไกตลาดที่ละทิ้งไม่สนใจต่อส่วนของความเป็นมนุษย์ผสมโรง ต่อสถานะการณ์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ประเทศกำลังพัฒนาที่จะพยายามพัฒนาการแข่งขันทางการ วิจัยด้วยตัวเอง งานหน้าที่นี้ไปตกแก่มืออาชีพ


ขณะเดียวกันที่เกิดอันตราย โทษภัยใหม่เกิดขึ้น ซึ่งมืออาชีพที่มีความรู้เป็นฐานจะต้องรับรู้และเข้าไปจัดการดูแล ความไม่เท่าเทียม ความไม่ยุติธรรม การใช้ประโยชน์และความขัดแย้งจะต้องได้รับการกล่าวถึง แนวทางการวิจัยบางอย่างเช่น GMO เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน (embryonic stem cells) และ การตายของสมอง อาจก่อให้เกิดความกดดันเหนี่ยวรั้งกับคุณค่าของมนุษย์และความเป็นมนุษย์ ในระบบเก่าของคุณธรรม จริยธรรมอาจไม่สามารถเข้ามาจัดการเรื่องเหล่านี้ และคูณธรรมจริยธรรมใหม่จำเป็นที่ต้องก้าวเข้ามาจัดการในเรื่องนี้

แม้กระนั้นก็ตาม ผลประโยชน์อันสูงยิ่งก็มาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ยังมีช่วงโหว่รูรั่ว ในระบบทุนนิยม การค้าทางธุรกิจและการแข่งขันนั้นไม่ใช่คำตอบทั้งหมดที่จะแก้ปัญหาทั้งมวล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ นำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาเป็นส่วนในการแก้ปัญหาสภาพสังคมเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้น ภายใต้ปรัชญานี้มี 5 องค์ประกอบคือ ความพอประมาณอันเป็นทางสายกลาง ความมีเหตุผลที่อยู่บนฐานความรู้และหลักฐานอ้างอิง มีภูมิคุ้มกันเพื่อฝ่าฟันอุปสรรคขัดขวางที่เหนี่ยวรั้ง ต่อการเปลี่ยนแปลงอันได้แก่มาตรการยุทธวิธีต่างๆ ซึ่งก็ยังจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้และภูมิปัญญาเป็นฐานรวมทั้งจริยธรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์ที่มากำกับ

เราสามารถจะเห็นได้ว่าในสังคมความรู้ ที่ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานมีอิทธิพลอย่างสูง ในระบบทุนนิยม ธุรกิจการค้าและการแข่งขันนั้นเหมือนได้ให้เชื้อพลังขับให้มากยิ่งขึ้น ความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit) และการปฏิบัติที่ใช้หลักฐานเป็นหลักสำหรับทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และมีชีวิตที่ก่อให้เกิดผลงานผลผลิตด้วยความมั่งคั่งและความสะดวกสะบาย ความไม่เสมอภาค ความไม่ยุติธรรม การมีอำนาจเหนือครอบงำ การใช้ประโยชน์และความขัดแย้งเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดูเหมือนว่าโลกของเราต้องการสังคมความรู้ใหม่ ที่ซึ่งความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษย์มวลชนมีความโดดเด่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือเศรษฐกิจพอเพียงด้วยความพอประมาณทางสายกลางและศิลป์ของการเข้าใจผู้อื่น ที่ทำให้ได้ทางเลือกอื่นๆ ความรู้ที่มีอยู่ในคน (tacit knowledge) รวมทั้งองค์รวมและความรู้เชิงมนุษย์ศาสตร์ตามความเหมาะสมและความถูกต้องให้ เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง ดังนั้นแต่ละคนสามารถที่จะคาดหวังโลกที่มีความเสมอภาค การเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างเท่าเทียม มีความเป็นธรรมในสังคม การแบ่งปัน ความสงบสุขและการผสมกลมกลืนสอดคล้องกัน

วิทยาศาสตร์ศึกษาปัจจุบันอนาคต2

วิทยาศาสตร์ศึกษาสำหรับรุ่นต่อไปยังมีเป้าไปที่การสร้างความสามารถพื้นฐาน และทักษะชีวิต การสังเกตอย่างละเอียดและพิถึพิถัน และการให้เหตุผล ทั้งแบบนิรนัยและแบบอุปนัย การเทียบเคึยง (analogy) และการลงความเห็นข้อมูล (extrapolation) ควรที่จะได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากการฝึกฝนทางวิทยาศาสตร์ การทำนายมีความเป็นไปได้จากการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ การสร้างกำหนดสมมุติฐานและการทดสอบสมมุติฐานมาจากการทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ สุดท้ายแล้วทักษะสำหรับการค้นพบ การสร้างสรรค์และนวัตกรรมสามารถที่จะเก็บเกี่ยวได้ก่อให้เกิดขึ้นได้

นอกจากวิทยาศาสตร์สำหรับคนรุ่นต่อไปแล้ว ยังสามารถที่จะให้โครงสร้างพื้นฐานสำหรับอาชีพและการว่าจ้างในอนาคต วิทยาศาสตร์พื้นฐานเช่นฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและศาสตร์พื้นฐานอื่นๆ ฟิสิกส์สามารถใช้ในอาชีพสำหรับเครื่องกล ชีววิทยาสามารถใช้ในเกษตร และอื่นๆ ต่อๆ ไปอีกมาก วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี และ วิศวกรรมมีส่วนในการสร้างแรงงานที่มีทักษะ ผู้เชี่ยวชาญในอุปกรณ์เครื่องมือ สามารถนำไปสู่งานอาชีพที่สามารถสร้างผลประโยชน์ขึ้น ดังนั้นวิทยาศาสตร์ศึกษาใด้ให้โครงสร้างพื้นฐานสำหรับแรงงานที่มีทักษะ ถ้าข้อเสนอดังกล่าวนี้เป็นจริงแล้ว การพิสูจน์ถึงความสำเร็จของการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับอนาคตจะ ต้องพัฒนามากขึ้นไปอีก ยุทธวิธีและนวัตกรรมที่จะให้ได้เป้าหมายที่คาดหวังมีมากมายที่จะไม่กล่าวใน รายละเอียดในที่นี้

เมื่อพิจารณาถึงเป้าหมายต่อไปสำหรับวิทยาศาสตร์ศึกษา นั้นก็คืออาชีพที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐาน กล่าวคือ ครูวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักเทคโนโลยีปฏิบัติการ (laboratory technologists) แพทย์ มืออาชีพทางสุขภาพ และวิศวกร การเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามความรู้ที่ขยายตัวแบบระเบิดออก ความรู้ผลักดันให้เทคโนโลยีใหม่ๆ มีคาราสูง มีทั้งโอกาศใหม่ๆ และอันตรายใหม่

การรวมเอาพลังความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังของการจัดการ และพลังของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คล้่ายกับการรวมพลังงานของจรวจที่ทำให้มนุษย์เอาชนะอุปสรรค์จากแรงโน้มถ่วง การปรับปรุงเชิงวิศวกรรม (reengineering) ของการศึกษาแบบมืออาชีพนั้น จะต้องรวมเอาความสามารถทางดิจิทัล และความสามารถในทางวิทยาศาสตร์ การเีรียนรู้แบบตืนตัว (interactive learning) การเรียนรู้โดยการกระทำ การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้จากประสบการณ์ และการเรียนรู้แบบการวิจัยเป็นฐานเป็นตัวอย่างของวิธีการที่ใช้

หน้าที่อย่างหนึ่งของมืออาชีพในการเคลื่อนส่งผ่านโครงข่ายความรู้ระดับ โลก (global knowledge pool) ซึ่งปัจจุบันมีการเชื่อมต่อกัน สำหรับการพัฒนาและการแก้ปัญหาที่ใช้ความรู้เป็นฐานในท้องถิ่น ขั้นตอนในการส่งผ่านถ่ายโอนรวมไปถึงการเข้าถึงความรู้ ความถูกต้อง การตีค่า การให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและการกระจายความรู้ ด้วแทนความรู้ (knowledge brokering) เป็นมโนทัศน์ใหม่สำหรับการถ่ายทอดความรู้ที่ซับซ้อน

ตามการค้นพบจากวิทยาศาสตร์ของการคิด (cognitive science) กระบวนการของการถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งวิทยาศาสตร์สังคมในแหล่งทรัพยากรจะต้องผ่านหน้าที่ต่างๆ ของสมอง การแสดงออกสะท้อนออกมาจากภายใน การให้คุณค่า และการทำให้ได้ค่าสูงสุดจะต้องเกิดขึ้นก่อนที่จะนำไปใช้และการสื่อสารต่อไป

เป็นที่น่าเสียดาวว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เป็นอยู่ในหลายที่ได้มุ่งเน้นไปที่ความสามารถทางภาษาและคอมพิวเตอร์ในการถ่ายทอดความรู้ บ้างอาจจะรวมเอาการประเมินอย่างวิกฤติและวิธีการวิจัยสำหรับความรู้ที่ถูกต้อง และหยุดอยู่ที่นั่่นโดยมีน้อยมากที่จะเป็นการสะท้อนให้เห็นจากภายใน สัญญาณสำหรับการสะท้อนความคิดจากภายในกล่าวได้มาเป็นใจที่มีความหิวกระหายความรู้และใจที่ฉงนสงสัยอยู่เสมอ เราสังเกตได้จากนักเรียนนักศึกษาบ้าง พวกเขายังมีความจำเป็นต้องมีระเบียบปฏิบัติเพื่อเข้าถึงภูมิปัญญา ซึ่งทำให้เป็นไปได้ในการปรับตัวและการวิจัย อันนำไปสู่ความรู้ใหม่ นวัตกรรม และการสร้างสรรค์

วิทยาศาสตร์ศึกษาปัจจุบันอนาคต1

เนื่องจากมีหลักฐานหลายอย่างจากการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ศึกษา เช่นการพัฒนาทางปัญญาและบุคคลิกภาพ วิทยาศาสตร์เชิงการคิด การเรียนการสอนและบทบาทของการศึกษาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์ศึกษาในตอนนี้กำลงก้าวเข้าสู่การปรับเปลี่ยนจากการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่นการเติบโตขึ้นของความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด การเรียกร้องให้มีสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน การนำพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ เช่นเดียวกันที่เรียกร้องให้มีความเท่าเทียมเสมอภาค


โลกในโลกาภิวัฒน์ เช่นกลไกการตลาด การทำให้เข้าสู่ทางการค้าของวิทยาศาสตร์ การแข่งขันกันในระดับชาติขึ้นอยู่้กับนวัตกรรม นั้นก็ขึ้นอยู่กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอีกที องค์ประกอบอื่นๆ ยืนอยู่บนฐานของวิทยาศาสตร์ศึกษา ที่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงประชากร การย้ายถิ่นและการตั้งถิ่นฐาน การพัฒนาการเมืองและสังคมเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ได้ให้ทั้งโอกาสและอุปสรรคขวางหนาม สุดท้ายแล้วความขัดแย้ง การก่อการร้าย และสงครามที่ผสมโรงเป็นปัญหาสั่งสม ระเบียบสังคมและระเบียบโลกใหม่จะต้องพิจารณา ในความพยายามใดๆ ที่จะพยากรณ์อนาคต การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จำเป็นต้องมีการศึกษาที่ใช้ได้จริงในทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

สำหรับวิทยาศาสตร์ศึกษาในอนาคตกล่าวคือวิทยาศาสตร์ศึกษาสำหรับคนรุ่นต่อไป วิทยาศาสตร์ศึกษาสำหรับอาชีพที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐาน วิทยาศาสตร์ศึกษาสำหรับสาธารณะในรุ่นปัจจุบัน และวิทยาศาสตร์ศึกษาสำหรับอาชีพใหม่ๆที่ใช้วิทยาศาสตร์เป็นฐาน คำถามที่ว่าจุดประสงค์เป้าหมายสุดท้ายของวิทยาศาสตร์ศึกษาและคณิตศาสตร์ศึกษา คืออะไรสำหรับประเด็นที่กล่าวมา

วิทยาศาสตร์ศึกษาสำหรับคนรุ่นต่อไปสามารถที่จะให้วัตถุประสงค์ว่าเป็นการ สร้างบุคคลิก พฤติกรรม ชุดของการคิด รวมทั้งการให้ได้มาซึ่งการคิดอย่างมีวิจารณยาณ ระเอียดอ่อนและกว้างขวางเปิดกว้าง สภาพที่สะนองย้อนตอบ การมีระเบียบวินัย และความซืีอสัตย์ สามารถที่จะคาดหวังได้จากโปรแกรมที่ประสบผลสำเร็จ ด้วยปรารถนาอย่างเต็มเปี่ยมที่มีภูมิปัญญาให้ยืนบนขาตัวเองและมีภูมิคุ้มกันเพื่อต้านกับความหลอกลวงคลุมเคลือ

ชุดการคิดเชิงวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ภายใต้ภูมิปัญญา สุดท้ายแล้วตระหนักถึงข้อคิดจากคำภาษาบาลีที่ว่า ตะคะตา หรือมันเป็นเช่นนั้นเอง หรือในอีกทางหนึ่ง การตระหนักว่าธรรมชาติมีกฏเกณฑ์ภายใต้ความไร้ระเบียบมีระเบียบอยู่ วิทยาศาสตร์มีเป้าหมายไปที่ความจริงและการค้นหาความจริง แต่ละคนจะต้องตระหนักถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นเป็นจริงภายใต้ขีดจำกัด ยูเรก้า (EUREKA) หรือการดีใจจากการค้นพบ และการท่อมตัวจากการรู้ถึงข้อจำกัดของแต่ละคนบางทีอาจจะเป็นเรื่องหลักของ วิทยาศาสตร์ต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นชาติ

มีอยู่บ่อยครั้งที่เราเอ่ยถึงคำว่าชาติ ประเทศชาติ เพื่อชาติ เราพูดติดปากเหมือนกับว่ารู้ความหมายดีโดยอัตโนมัติ ซึ่งเมือถามกันดูจะได้คำตอบวาชาติก็คือประเทศ ประเทศก็คือพื้นที่ และทุกอย่างที่รวมอยู่ในพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งพอสรุปได้คือ


1. ประชากร ความรู้ความสามารถของประชากร หน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ ที่ประสบผลสำเร็จ รวมถึงบุคลลที่ประสบผลสำเร็จ

2. ทรัพยากรของชาติ ทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และที่สร้างสรรค์ขึ้น ภูมิประเทศ อากาศที่เอื้ออำนวย

3. วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี ที่มีความดีงาม เช่น ปู ย่า ตายาย ดูแลหลาน ช่องว่างระหว่างวัยน้อย คนแก่ไม่ว้าเหว่

ที่กล่าวมาแล้วเป็นความหมายที่หมายถึงชาติต่างๆ ทั่วโลกซึ่งแตกต่างกันไป แต่ชาติในทางธรรมตามพุทธศาสนานั้นจะเป็นที่รวมของการเกิดรูป นามหรือจิต ที่ถูกปรุงแต่งแล้วแต่วิบากกรรม ให้หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คุณค่าขององค์กร

เราคงเข้าใจกับที่กล่าวกันว่า การทำให้มีคุณค่าเพิ่ม แสดงว่ามีคุณค่าอยู่จึงเพิ่มคุณค่าได้ ปกติแล้วแต่ละองค์กรก็มีคุณค่าอะไรบางอย่างอยู่ที่เป็นประโยชน์ ถ้าเปรียบองค์กรเหมือนกับชีวิตแล้วสิ่งที่หนุนช่วยองค์กรอยู่ก็คือหลักการ ที่สลักเจียรนัยกันขึ้นมา หลักการเหล่านั้นเป็นตัวนำทางให้กับองค์กรก็คือคุณค่าขององค์กร เหนือสิ่งอื่นใดแล้วคุณค่าหลักขององค์กรไม่ใช่อะไรที่มากไปกว่าหลักการที่ ประชาคมในองค์กรมีอยู่แนบแน่นฝังประทับอยู่ภายในใจ และคุณค่าหลักเหล่านั้นสำคัญยิ่งยวดต่อความสำเร็จ เพราะว่าคุณค่าเหล่านั้นทำหน้าที่เหมือนกับตัวยึดเหนี่ยว ในยามวิกฤตก็ยงมีที่พักพิง ไม่ว่าจะโดนมรสุมหนักหน่วงเพียงไร ก็ยังมีทิศทางให้ไป ไม่ให้พัดพาไปยังทิศที่ไม่ต้องการจะไป ยิ่งมีคุณค่าที่เข้มแข็งเหมือนกับมีบางอย่างที่ยึดเหนี่ยวเราไว้อย่างมั่นคง ไม่ว่าสภาวะแวดล้อมจะเลวร้ายปานใด


นอกจากนี้แล้วคุณค่าหลักนั้นจะหยั่งรากลึกยึดเหนี่ยวความเชื่อไว้ ที่อธิบายได้ถึงจิตวิญญาณของเรา ก็จะกลายเป็นเหมือนเพื่อนที่อยู่เคียงคู่อย่างซื่อสัตย์ตราบตลอดอายุขัยขององค์กรที่สามารถมั่นใจได้ เพียงเหมือนกับสถานะการณ์โดยรอบ แนวทางที่เราอยู่อาศัยมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอนั้น เราได้มาซึ่งทักษะ วินัย และนิสัย การปฏิบัติต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปตามสถานะการณ์ ในอีกทางหนึ่งนั้นคุณค่าไม่เคยเปลี่ยน สามารถที่จะพึ่งพิงนำทางให้เรา กล่าวอีกอย่างได้ว่า วิธีการมีมากมาย คุณค่ามีไม่มาก วิธีการนั้นเปลี่ยนไปเสมอ คุณค่าไม่เคยเป็นเช่นนั้น

ทันทีที่เราตรวจสอบคุณค่าของเราและอธิบายได้ แล้วเราก็สามารถจะนำทางถือหางเสือขององค์กรโดยคุณค่านั้น ถ้ามีบางอย่างเป็นคุณค่าหลักหรือคุณค่าแกนจริงแล้วมันจะยังคงเป็นส่วนหนึ่ง ของขีวิต และอาจจะคงอยู่ไปจนจุดสุดท้ายของชีวิตขององค์กร กล่าวคือ

การให้คุณค่ากับท่าทีทัศนคติ เพราะว่ามีส่วนให้แนวทางเราที่เป็นไปได้

ใหัคุึณค่ากับลำดับความสำคัญเพราะว่ามีส่วนให้เรามุ่งเน้นในการทำงานใดๆ

ให้คุณค่ากับสุขภาพเพราว่ามีส่วนให้เราแข็งแรง

ให้คุณค่ากับครอบครัวประชาคมเพราะว่ามีส่วนทำให้มีความเสถียรภาพ

ให้คุณค่ากับการคิดเพราะว่ามีส่วนให้เรามีความก้าวหน้า

ให้คุณค่ากับพันธะสัญญาเพราะว่ามีส่วนให้เราเกาะติดกัดไม่ปล่อย

ให้คุณค่ากับความศรัธาเพราะว่ามีส่วนให้เกิดความสงบ

ให้คุณค่ากับความสัมพันธ์เพราะว่ามีส่วนเติมเต็มให้เราสมบูรณ์

ให้คุณค่ากับการมีใจคอกว้างขวางเพราะว่ามีส่วนให้เกิดนัยสำคัญ

ให้คุณค่ากับคุณค่าเพราะว่าจะให้ทิศทางแก่เรา

ให้คุณค่ากับการเติบโตเพราะว่าจะทำให้เรามีความสามารถมีพลัง

จากการนำทางของคุณค่าทั้ง 12 ดังกล่าวเหล่านั้น หวังว่าจะสามารถเติมเต็มจุดประสงค์ โดยมีศูนย์กลางหลักที่

-ความเป็นพี่น้องครอบครัวเดียวกันที่จะมีชีวิตอยู่อย่างน่าเชื่อถือน่าชื่นชม ดังนั้นคุณค่าขององค์กรเป็นที่ยอมรับกันในพี่น้องผองเพื่อน

-งานของเราต่อองค์กรมีอิทธิพลต่อประชาคมมากเท่าที่เป็นไปได้ในช่วงเวลาน้อยที่สุด

-โดยตัวเราเองอยู่และตายด้วยความพึงพอใจว่าได้รับใช้ผู้อื่นและประชาคมอันเป็นพี่น้องผองเพื่อน


อ้างอิง:ได้แนวจาก Today matters โดย John C. Maxwell

ระบบอินเวิร์ทเตอร์ประหยัดไฟฟ้าได้อย่างไร

การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากก็คือ อัตราการใช้พลังงานไฟฟ้า ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่บ่งถึงการมีประสิทธิภาพ คือให้พลังงานน้อยกว่าแต่ให้ผลเท่าเดิมหรือมากกว่าหรือกล่าวได้ว่าจ่ายเงินน้อยกว่าแล้วยังได้งานเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม เครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ที่ใช้มอเตอร์เป็นกำลังงานหลายชนิดเช่นเครื่องปรับอากาศ เครื่องสูบน้ำเป็นต้น จะมีระบบใหม่ที่ทำให้ประหยัดไฟฟ้ามากกว่าเดิมขึ้นไปอีกมากกว่า 30 เปอร์เซนต์ โดยระบุว่าใช้ระบบอินเวิรสเตอร์ (inverter) สำหรับหลักการทำงานของระบบใหม่ที่กำลังเข้ามาแทนที่ระบบเก่า

จะยกตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นเครื่องปรับอากาศที่ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนมาสู่ระบบนี้ เพื่อให้เห็นการทำงานที่แตกต่าง ก็จะอธิบายระบบเครื่องปรับอากาศเก่าพอสังเขปกล่าวคือ เมื่อตั้งอุณภูมิที่ต้องการไว้ เช่นที่ 25 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิห้อง 30 องศานั้น เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะทำงานให้ความเย็นแก่ห้องจนอุณหภูมิเท่าหรือต่่ำกว่า 25 เล็กน้อย ตัวตรวจเช็คที่เครื่องปรับอากาศจะตัดการทำงานตัดไฟฟ้าเข้าคอมเพรสเซอร์ อุณหภูมิห้องก็ค่อยๆ สูงขึ้นไปอีกจนมากกว่า 25 องศาเซลเซียสเล็กน้อย คอมเพรสเซอร์ก็จะเริ่มทำงานให้ความเย็นอีก โดยส่วนควบคุมการทำงานคือสวิตช์อัตโนมัติต่อไฟฟ้าให้แก่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนวาถ้าคอมเพรสเซอร์ทำงานอยู่ตลอดเวลาจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากกว่า หลักการทำงานคล้ายๆ กับตู้เย็นที่เมื่อเย็นจัดคอมเพรสเซอร์ตู้เย็นก็หยุดทำงานเช่นกัน

ส่วนในเครื่องปรับอากาศที่ให้อินเวิรทเตอร์นั้น เมื่อเครื่องทำงานให้ความเย็นเท่ากับหรือน้อยกว่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้แล้ว การทำงานในระบบนี้จะไม่ตัดไฟแต่จะยังให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานต่อไป แต่ลดระดับการทำงานลง เหมือนกับการเปลี่ยนเกียร์รถยนต์ให้เกียร์สูงขึ้นแต่ใช้พลังงานน้อยลง ซึ่งทำให้รักษาความเย็นได้สม่ำเสมอกว่า และสิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่า เพราะในระบบเก่าการตัดกระแสไฟฟ้าที่ให้มอเตอร์ทันที จากนั้นให้เริ่มทำงานใหม่นั้นต้องใช้พลังงานมากในตอนเริ่มต้นใหม่ ทำให้ความเย็นอาจไม่สม่ำเสมอและมีเสียงดังมากกว่า และสิ้นเปลืองมากกว่า ในเครื่องที่ใช้ระบบอินเวิร์ทเตอร์ตามชื่อก็บอกว่ากลับการทำงานมาใช้มอเตอร์แบบกระแสตรงที่ทำให้ปรับควบคุมความเร็วมอเตอร์หรือที่ความถี่ต่ำได้ดีกว่า ยิ่งการนำแม่เหล็กแบบนีโอไดเมี่ยมมาใช้ในมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องปรับอากาศดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด การใช้ระบบอินเวิร์ทเตอร์แม้ราคาแพงขึ้นเล็กน้อยแต่ให้ผลคุ้มค่ากว่าในการะประหยัดไฟฟ้าแน่นอน