ในความพยายามที่จะสร้างและหล่อเลี้ยงชุมชนที่ยั่งยืนนั้น เราสามารถที่จะเรียนรู้จากบทเรียนอันทรงคุณค่าจากระบบนิเวศ ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนที่ยั่งยืนของพืช สัตว์ และ โลกของจุลชีพ เพื่อที่จะเข้าใจระบบนิเวศ เราจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงหลักการของนิเวศวิทยา การที่จะเข้าใจหลักการทางนิเวศวิทยา เราจำต้องมีวิธีการใหม่ในการมองโลก นั่นคือเราต้องคิดในเทอมของความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง และบริบท สำหรับวิธีคิดใหม่ในทางวิทยาศาสตร์นั้น ที่รู้จักกันดีก็คือการคิดเชิงระบบนั่นเอง
สอดคล้องกับแนวคิดของ ปริจ๊อบ คาปลาที่เขียนบทความชื่อ the language of nature ที่บ่งชี้ว่า เราทุกคนจำต้องเข้าสู่การเป็นผู้รู้เข้าใจทางนิเวศวิทยา ที่เรียกว่า eco-literate แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากการที่มองภาพรวมจากหลายสาขาวิชาที่ได้ศึกษากันในศตวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการสำรวจสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ และระบบสังคม และทราบกันดีว่าระบบต่างๆ ดังกล่าวเหล่านี้ต่างบูรณาการเข้าด้วยกันทั้งหมด ที่คุณสมบัติของมันไม่สามารถที่จะลดรูปหรือแยกส่วนในการศึกษาออกจากกัน เป็นความรู้จึงจะทำให้อยู่ร่วมกันได้โดยไม่ทำให้โอกาสของของคนรุ่นต่อไปลดน้อยลงหรือด้อยค่าลงไป นั่นก็คือสิ่งแวดทางสังคม ทางกายภาพ วัฒนธรรม ก็จะเป็นไปตามความคาดหวัง ความพอใจ และความต้องการของเรา ที่ไม่ทำให้ความหลากหลายของโลกธรรมชาติลดน้อยถอยลงไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น