ในกระบวนการจัดการความรู้เมื่อได้ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้แล้วจะต้องมีการประมวลผลและบันทึกความรู้ไว้ความรู้ที่สะสมมากขึ้นก็จะกลายเป็นคลังความรู้ขององค์กร ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะใช้เทคโนโลยีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลความรู้ เป็นฐานข้อมูลที่สามารถสือค้นได้ง่าย รวมไปถึงการสื่อสาร การสร้าง ค้นหา แลกเปลี่ยน การปรับปรุงข้อมูลความรู้
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เข้าถึงความรู้ได้ง่ายสะดวกทั้งที่เก็บบันทึกไว้และ ติดต่อผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งเทคโนโลยีที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้ได้สะดวกขึ้น ต้องยอมรับว่าการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความรู้ได้มากกว่าย่อมมีโอกาสในการเรียนรู้ได้มากกว่า
องค์กรควรจะได้กำหนดข้อมูลความรู้ที่สำคัญและจำเป็นที่จะเก็บไว้เป็นองค์ความรู้ โดยพิจารณาถึงวิธีการในการเก็บรักษา การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามความต้องการ การสะสมของความรู้ขององค์กรจะต้องพิจารณาระบบและโครงสร้างการจัดเก็บความรู้ เพื่อให้ได้ระบบที่สืบค้นได้ง่าย ส่งมอบได้อย่างรวดเร็วทันเวลาเหมาะสมกับความต้องการ จัดให้มีการจำแนกหมวดหมู่ตามวัตถุประสงค์ของงาน
การมีคลังความรู้แล้วไม่นำไปใช้ประโยชน์ก้เปล่าประโยชน์ ดังนั้นการหาวิธีการที่ให้พนักงาน บุคลากรได้เข้าถึงความรู้ โดยให้ทราบถึงช่องทาง วิธีการค้นหาให้พบ และนำออกมาใช้ได้ ความรู้อาจอยู่ในรูปแบบต่างๆที่บันทึกไว้ในรูปของสื่อต่างๆ เช่นสมุดเก็บรายชื่อต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันบางอย่างในรูปของตาราง บันทึกทักษะของผู้เชี่ยวชาญและการติดต่อ บันทึกรายละเอียดของเครือข่ายการทำงานตามลำดับชั้น การประชุมฝึกอบรม เป็นต้น
การที่บุคลากรพนักงานเรียนรู้ได้ดี นั่นก็หมายถึงองค์กรเรียนรู้ได้ดีก็ต่อเมื่อความรู้มีการกระจาย ถ่ายทอดความรู้ไปอย่างรวดเร็ว มีการนำความรู้เฉพาะเรื่อง เฉพาะกิจ เฉพาะกาลนำไปใช้ในการแก้ปัญหา หากเกิดปัญหาในลักษณะเดิม หรือนำไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาอื่น ในสถานะการณ์อื่น ในสถานที่ที่แตกต่างกันหรือที่มีความคล้ายคลึงกัน หรือเทียบเคียงกันได้ โดยต้องคำนึงอยู่เสมอว่าการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งในที่หนึ่งจะนำไปใช้ในอีกที่หนึ่งทันทีโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น