หากเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่าภายในรูปหยินและหยางที่เป็นวงกลมและมีรูปปลาสองตัวอยู่ภายในนั้น มีมาช้านานตั้งแต่ลัทธิเต๋ากำเนิดขึ้นมา ตามที่เหลาจื้อได้ชี้ให้เห็นว่าภายในประกอบด้วยปลาหยิน และปลาหยาง ซึ่งปลาทั้งสองตัวนั้นมีดวงตาที่มองเห็นก้ันและกัน
เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่การตีความมาสอดคล้องกับทฤษฎีไร้ระบบในปัจจุบัน ซึ่งตามทฤษฎีไร้ระบบนั้นบ่งบอกให้เราทราบว่าในความสับสนวุ่นวายก็จะมีระเบียบแบบแผนปรากฏให้เราเห็น หรือหลังจากเกิดความไร้ระบบที่ไม่อาจคาดเดาได้นั้นก็จะมีพลังแห่งการสร้างสรรค์ตามมา นั่นก็คือโดยธรรมชาติมีสิ่งที่ตรงกันข้ามเป็นของคู่กันเสมอ มีขาวมีดำ มีดีมีเสีย มีเก่งมีโง่ เราอาจได้ยินคำคมจากพระอาจารย์ เช่นว่าในเสียมีดี ในดีมีเสีย เหมือนกับจะบอกว่าในจักรวาลอันกว้างใหญ่เหลือคนานับนั้น ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์เพียบพร้อม
ดังนั้นในรูปปลาหยินและหยางเปรียบเหมือนกับว่าอยู่ตรงกันข้ามกัน อาจเป็นปลาสีดำกับปลาสีขาว และปลาทั้งสองก็มีดวงตาที่มองเห็นกันและกัน ปลาหยินก็มองเห็นปลาหยาง ปลาหยางก็เห็นปลาหยิน หรืออาจกล่าวได้ว่าในการสร้างสรรค์มีส่วนของการทำลายล้าง ในส่วนของการทำลายล้างก็มีส่วนของการสร้างสรรค์ ในวิกฤติย่อมมีโอกาส และทำนองเดียวกับที่พูดว่าในดีมีเสียและในเสียก็มีดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น