ในบล็อกที่แล้วมาได้กล่าวถึงสารกัมมันตรังสีว่าเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ไม่ได้บอกว่าพลังงานที่มันปลดปล่อยออกมาในรูปของรังสีจำนวนมากนั้นมาจากไหนร ซึ่งมาจากทฤษฎีที่ไอน์สไตย์เป็นผู้ค้นพบที่พลังงานมาจากการเปลียนมวลของนิวเคลียสของอะตอมของธาตุกัมมันตรังสีเป็นพลังงานโดยตรง ตามสมการ พลังงาน เท่ากับ มวลคูนด้วยความเร็วแสงยกกำลังสอง (ของแต่ละอะตอม) จะเห็นว่ามวลนิดเดียวสามารถปลดปล่อยพลังงานออกมาได้มหาศาลมากที่ว่ามวลนิดเดียวแค่ไมโครกรัมก็มีอะตอมจำนวนมหาศาลนับไม่ถ้วนแล้ว จึงเป็นที่มาว่าทำไมพลังงานจากธาตุกัมมันตรังสีที่ปลดปล่อยออกมาเหมือนกับไม่มีวันหมด ดังที่ได้กล่าวถึงครึ่งชีวิต(halflife)ของสารกัมมันตรังสีที่ที่หมายถึงเวลาที่ทำให้ธาคุกัมมันตรังสีหายไปครึ่งหนึ่ง ที่หายไปนั้นได้เปลี่ยนไปเป็นพลังงานนั่นเอง
จากหลักการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี การแผ่รังสีของสารกัมมันตรังสีในธรรมชาติจะมีแต่ลดน้อยลงเพราะมันสลายตัวกลายเป็นพลังงานอยู่ตลอดเวลา โอกาสที่จะเกิดสารกัมมันตรังสีเองตามธรรมชาติมีน้อย แต่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยไม่ตั้งใจที่จะให้มีแต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังที่ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเพื่อการศึกษาวิจัย และเพื่อการใช้พลังงานไฟฟ้า หรือเป็นพลังงานขับเคลื่อนในเรือขนาดใหญ่ เช่นเรือบรรทุกเครื่องบินทางทหาร เรือดำน้ำ และเรือพานิชย์บางลำ ซึ่งพลังงานที่ได้มาจากการเปลี่ยนมวลของธาตุบางชนิดเช่นยูเรเนียม ซึ่งเรียกกันว่าแท่งเชื้อเพลิง ซึ่งการจะเป็นแท่งเชื้อเพลิงได้ดีก็ต้องให้มีความบริสุทธิ์มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
สำหรับการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในประเทศไทย เช่นการยืดอายุผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยการอาบรังสี หรือเอารังสีที่ได้จากพลังงานนิวเคลียร์มาเป็นตัวฆ่าเชื้อโรคที่จะทำให้เน่าเสียเป็นการยืดอายุของพืชผลทางเกษตรได้ การใช้ประยุกต์ในทางการแพทย์เช่นในการกำหนดตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง โดยให้คนป่วยกินสารรังสีเข้าไป แล้วใช้เครื่องตรวจวัดได้ว่าอยู่ตำแหน่งใด ที่นำไปประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรมเช่นการนำสารกัมมันตรังสีไปทำเป็นเซลล์เชื้อเพลงหรือแบตเตอร์รีที่อายุยืนยาว ดังที่เคยนำไปใช้ในยานอวกาศเป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น